สิทธิทหารผ่านศึกในการรับบริการสาธารณสุขภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ในปัจจุบัน


สิทธิของทหารผ่านศึก,ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

     บทสรุปสำหรับผู้บริหาร (Exclusive Summary)

     ปัจจุบันมีทหารผ่านศึก ครอบครัว หรือทายาท ที่องค์การทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์ได้ขึ้นทะเบียนไว้ รวมจำนวนทั้งสิ้น 548,389 คน และในจังหวัดพัทลุงทหารผ่านศึกและครอบครัวที่ขึ้นทะเบียนตามโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าแล้วโดยแยกตามประเภทสิทธิย่อย ดังนี้ ทหารผ่านศึกทุกระดับชั้น (ชั้น 1-4) ที่มีบัตรทหารผ่านศึกรวมถึงผู้ได้รับพระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิจำนวน 2,852 คน บุคคลในครอบครัวทหารผ่านศึกรวมถึงผู้ได้รับพระราชทานเหรียญสมรภูมิ จำนวน 1,235 คน และบุคคลในครอบครัวของผู้ได้รับพระราชทานเหรียญงานสงครามในทวีปยุโรป จำนวน 2 คน รวมทั้งสิ้น 4,089 คน

     การขอรับบริการและการให้บริการสาธารณสุขแก่ผู้มีสิทธิทหารผ่านศึกในปัจจุบัน มีกฎหมายที่สำคัญบัญญัติไว้ 2 ฉบับ คือ พระราชบัญญัติองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก พ.ศ. 2510 และพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ซึ่งกฎหมายในแต่ละฉบับก็ได้อนุญาตให้มีอนุบัญญัติ และได้มีออกมาต่างกรรมต่างวาระในหลาย ๆ ครั้งที่ผ่านมา ทั้งนี้เพื่อให้สวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลแก่ผู้ที่มีคุณูปการต่อประเทศชาติเป็นสำคัญ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นในการใช้บริการ คือ ความซ้ำซ้อนของสิทธิ สิทธิประโยชน์ที่แตกต่างกัน รวมไปถึงแหล่งเงินที่สถานบริการสาธารณสุขจะขอเบิกเป็นค่าชดเชยในการให้บริการตามสิทธิ อันนำมาสู่ระดับคุณภาพของสถานบริการในสายตาของผู้มีสิทธิ และความเชื่อถือ ศรัทธา หรือแม้กระทั่งความรู้สึกว่าไม่ให้เกียรติในฐานะผู้กล้าหาญและเสียสละทั้ง ๆ ที่เขาควรจะมีสิทธิตามกฎหมายโดยไม่มีการรอนสิทธิใด ๆ

     ฉะนั้นแนวทางปฏิบัติที่เป็นทางออกที่เหมาะสมที่สุด คือสถานบริการสาธารณสุขต้องให้บริการโดยถือว่าผู้มีสิทธิทหารผ่านศึกนั้นสามารถได้รับบริการที่ใดก็ได้โดยไม่ต้องจ่ายเงินก่อน ในเบื้องต้นตามชุดสิทธิประโยชน์เหมือนสิทธิประโยชน์โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมเฉพาะสิทธิ ส่วนการพิจารณาเพื่อขอรับค่าชดเชยค่าบริการทั้งกรณีสิทธิที่มีความซ้ำซ้อน หรือการใช้บริการข้ามเขตเครือข่ายนั้น สถานบริการต้องมีตารางสรุปสิทธิประโยชน์ (ท้ายเอกสารนี้) เพื่อชี้แจงให้ผู้มีสิทธิเข้าใจ และนำไปสู่การขอความร่วมมือจากผู้มีสิทธิต่อไป ทั้งนี้ในการบริหารจัดการระดับชาติก็ควรที่จะได้มีการทบทวนสิทธิและชุดสิทธิประโยชน์ของคนไทยเสียใหม่ในประเด็นที่จะขอเสนอดังต่อไปนี้ 1.) ชุดสิทธิประโยชน์พื้นฐานที่เหมือนกันในทุกสิทธิ  2.) ชุดสิทธิประโยชน์เฉพาะสิทธิ (ที่แตกต่างออกไป) พร้อมทั้งระบุเหตุผลที่ให้เพิ่มจากสิทธิประโยชน์พื้นฐานในแต่ละสิทธิ  3.) การจัดลำดับของสิทธิในการเลือกใช้อย่างชัดเจน หากมีความจำเป็นที่จะยังต้องให้สิทธิที่ซ้ำซ้อนอยู่ต่อไป และ 4. ความชัดเจนของแหล่งเงินที่สถานบริการสาธารณสุขจะได้รับชดเชย เมื่อได้ให้บริการแก่ผู้สิทธิไปแล้ว และเพิ่มความสามารถในการเข้าถึงบริการของผู้ที่สิทธิ โดยไม่ต้องทดรองจ่ายเงินก่อนเมื่อไปใช้บริการ

     ผมได้เขียนบทความรายงานผลการทบทวนสิทธิทหารผ่านศึกไว้ เพื่อเป็นแนวทางในการให้บริการ และลดความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็มได้ที่ (20 หน้า) http://gotoknow.org/file/chinekhob/VeteranReviewDoc.zip

หมายเลขบันทึก: 3128เขียนเมื่อ 28 สิงหาคม 2005 12:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

การยืนขอรับสิทธิต่างๆของทหารผ่านศึก จะต้องทำอย่างไร/ที่ไหน

ขอความอนุเคราะห์ ตอบข้อสงสัยที่ [email protected]

ขอบพระคุณอย่างสูงครับ

พี่คะคือหนูอยากเป็นทหารมากๆ หนูไปสอบทุกครั้งที่มีเปิดรับสมัครแต่ไม่เคยติดเลยสักครั้งค่ะ แต่หนูมีเรื่องอยากปรึกษาพี่ค่ะ พี่หนูเคยเป็นทหาร ยศ สิบโท เป็นทหารผ่านศึกอ่ะค่ะไม่ทราบว่ากรณีนี้จะช่วยให้หนูได้เป็นทหารได้หรือปล่าวคะ หนูเคยถามพ่อแล้วแต่พ่อหนูก็ไม่รู้เหมือนกันว่าจะช่วยได้หรือป่าว เพราะว่าพ่อหนูลาออกจากราชการมาแล้วอ่ะค่ะยังไงพี่ช่วยหนูด้วยนะคะ เพื่อเป็นข้อมูลต่อไป

ขอบพระคุณเป็นอย่างสูง

พี่ชายของข้าพเจ้าเป็นทหารเกณฑ์ปลดประจำการณ์แล้ว และได้บัตรทหารผ่านศึกมา แบบนี้ พ่อ แม่ของข้าพเจ้าจะได้ใช้สิทธิรักษาพยาบาล ทหารผ่านศึกของพี่ชายได้อย่างไรบ้างคะ

ถ้าอยากรู้ว่าเรามีสิทได้รับเบี้ยย้อนหลังมั้ยจะต้องทำอย่างไร

ทำไมไม่มีใครมาตอบนะอยากรู้เหมือนกัน

อยากรู้ว่าบรัตครอบครัวทหารผ่านศึกต้องใช้เวลาทำนานเท่าไหร่ เวลาโทรไปถามก็บอกว่าจะติดต่อกลับมาเอง ไม่ทราบว่าใช้เวลาทำถึงปีไหม และสิทธิ์ต่างๆๆของเมีย ลูกและแม่ของทหารที่เสียชีวิตต้องใช้เวลานานเท่าไหร่ถึงจะได้ตามสิทธิ์ สามีเสียวันที่ 13 กันยา 52ทหารพรานที่ไปคุ้มครองมัสยิดที่เสียชีวิตพร้อมกันกันเพื่อนๆๆ 5 ศพ เงินช่วยเหลือรายเดือน จะได้ปะมาณเดือนไหนค่ะ ช่วยตอบด้วยค่ะเพราะเวลาโทรไปที่ ศูนย์ทหารผ่านศึกปัตตานีเค้าก็บอกว่าจะติดต่อกลับมาเอง เลยอยากทราบการทำเนิดงานค่ะ

ผมเคยเป็นทหารปืนใหญ่ ป.พัน 5 เมื่อปี 2518 ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช และเคยได้ออกไปอยู่ตามฐานรบต่างๆ ในภาคใต้ เพื่อต่อสู้และปราบปราม ผู้ก่อการร้าย คอมมิวนิสต์ในสมัยนั้น เพื่อนๆ ที่ไปด้วยกันได้รับบัตรพิทักษ์เสรีชนกันทุกคน (อยู่ฐานรบครบ 6 เดือน) แต่ผม อยู่ฐานรบได้ประมาณ 4 เดือน ผมจะมีสิทธิได้รับบัตรพิทักษ์เสรีชนหรือไม่ครับ เพราะนายทหารบางคนบอกว่าต้องได้ถีงจะอยู่ไม่ถึง 6 เดือน เพราะมีคำสั่งให้ไปอยู่ฐานรบอยู่แล้ว แต่บางคนบอกว่าผมอยู่ฐานรบไม่ถืง 6 เดือน จะไม่ได้ ผมจะต้องติดต่อสอบถามหน่วยไหนได้บ้างครับ( ตอนนี้ผมอยู่กรุงเทพครับ) e-mail [email protected] โทร.081-8592575

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท