ใช้แล้วนะคะ PBL


PBL ไม่วุ่นวายแต่ต้องละลายพฤติกรรม

ครั้งนี้เป็นการตัดสินใจจัดกิจกรรมการเรียนรู้ PBL เป็นครั้งแรกค่ะ หลังจากที่ได้เข้าร่วมสัมมนา ที่ม.วลัยลักษณ์ และไปดูงานอีกครั้งพร้อมๆ กับปรมาจารย์ด้านการสอนทุกท่านในคณะฯ

ก่อนเข้าปัญหาจริง ได้นำปัญหาที่ได้รับจากการสัมมนาครั้งแรก ให้นักศึกษาฝึกตามขั้นตอน เพื่อให้เข้าใจกระบวนการของ PBL จากการจัดกิจกรรม ร่วมกับการสัเกตุพฤติกรรมของนักศึกษา ค้นพบความจริงหลายอย่าง ที่คงจะเห็น หรือสังเกตุได้ยากจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนปกติ

โดยสามารถสังเกตุพฤติกรรม หรือลักษณะนิสัยของนักศึกษาได้ชัดเจน เช่น นักศึกษาคนไหนมีทักษะการเป็นผู้นำ ผู้ตาม มีทักษะการวิเคราะห์อย่างไร ความกล้าแสดงออก กล้าแสดงความคิดเห็น เป็นคนที่ชอบชี้นำ หรือรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นหรือไม่

เชื่อมั๊ยคะว่า บางกลุ่มเลขากลุ่มเป็นหัวหน้าค่ะ ส่วนหัวหน้ากลุ่ม กลับไม่พูดอะไรเลย

บางกลุ่มเลขา เป็นทั้งหัวหน้า และเป็นทั้งเลขา บางคนแค่อาจารย์ยืนอยู่ใกล้ๆ ก็พูดไม่ออก ไม่รู้จะพูดอย่างไร จนถึงขั้นพูดไม่ออกเลยก็มี

ทำให้รู้ว่านักศึกษาคุ้นเคยกับการได้รับความรู้ค่ะ เพราะเมื่อให้วิเคราะห์เค้าไม่สามารถหาเหตุผล หรือกำหนดหัวข้อที่จะศึกษาค้นคว้าได้ครอบคลุม ทั้งๆ ที่ ปัญหาที่เค้าร่วมกันวิเคราะห์นั้นครอบคลุมหัวข้อให้ศึกษาเกือบทั้งหมด และที่สำคัญเค้ายังไม่มีความมั่นใจในการคิด การตัดสินใจ กลัวว่าสิ่งที่ตนคิดนั้นจะผิด โดยวัดได้จากการถามคำถามที่ว่า

ถูกมั๊ยคะอาจารย์?

อาจารย์ถ้ามันผิดละคะจะทำยังไง?

อาจารย์หนูกลัวผิดค่ะ...

แต่ถึงแม้ว่าครั้งแรกที่ใช้จะมีปัญหาบ้าง แต่จากการสังเกตผู้เรียน ก็ชื่นใจค่ะ เพราะเค้าสนุกสนาน และนั่งวิเคราะห์ปัญหาโดยไม่กังวลกับเวลาในชั้นเรียน เหมือนการสอนปกติ ค่ะ

ซึ่งทำให้เชื่อว่า หากเราใช้กิจกรรมลักษณะนี้บ่อยๆ พฤติกรรม ความเชื่อ ความเคยชินของผู้เรียนจะค่อยๆ ถูกละลาย และมีทัศนคติที่ดีในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง

 

หมายเลขบันทึก: 312424เขียนเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2009 15:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 10:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

ทีแรกผมเข้าใจไปอีกอย่างนะครับ สำหรับ PBL ผมเข้าใจว่ากำลังพูดถึง BPL (Bordband Power Line) อีม พออ่านแล้ว

ก็ได้ความรู้อีกอย่างครับผม

มารอดูอยู่เหมือนกันว่าตาลจะว่าไงบ้าง...ยังไงก้อเขียนมาบอกอีกนะ ไม่ค่อยว่างนั่งคุยกันเลย

ผมมีสอนนศ.ปี 4 วิชานึง มีนักศึกษา 19 คน จะเริ่มลองใช้เหมือนกัน ..

อ้อ อย่าลืมขอทุนวิจัยของคณะสักเรื่องนะ เอาเรื่องนี้แหละ

เข้ามาให้กำลังใจผู้สอนนะคะ 

อ้อ..ไม่แน่ใจว่าจะลืมตัวเหมือนกันหรือเปล่า

ให้คำแนะนำมากไปหน่อย  ลุ้นมากเกินไปจนออกนอกหน้า....อิอิ..

เอาดอกไม้มาฝากจ้า.....

ใช่ค่ะ ลืมตัวมาก... ลุ้นมากเหมือนกันค่ะ

แต่คงเพราะเป็นครั้งแรกของผู้สอนที่เปลี่ยนสถานะมาเป็น Far

และเป็นครั้งแรกของผู้เรียนที่เปลี่ยนผู้ค้นคว้า คิด ด้วยตนเอง

คิดว่าครั้งต่อๆ ไป คงจะดีขึ้นทั้ง Far และผู้เรียนค่ะ

สู้ๆ นะคะ ^ ^

มาทักทายจร้า................

ยังไม่ได้เริ่มใช้สักปัญหานึงเลย...

ตอนนี้ก็เพิ่งวิเคราะห์ สearning style ของผู้เรียน

อ.ตาล วันนี้รองฯจารุณี ชมมาว่าอาจารย์ใหม่ของคณะเรามีความตั้งใจ ทำตามมาตรฐาน มคอ. และท่าทางจะมีความพร้อมในการพัฒนากันทุกคนเลย...

สวัสดีค่ะอาจารย์ลัลน์ลลิต และสวัสดีท่านอื่นๆที่สถาบันราชภัฎด้วยค่ะ

Greetings จาก มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

อ่าน Blog ของอาจารย์แล้วดีใจมาก อาจารย์ไปทำงานต่อได้อย่างดีมากๆเลยค่ะเพราะที่อาจารย์สังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนว่าเป็นอย่างไรขณะที่เรียน PBL ช่วยให้เราได้คิดต่อไปว่าแล้วเราจะทำอย่างไรกันต่อไปในฐานะที่เป็นอาจารย์ผู้สอน ใหนๆก็เลือกเส้นทางเดินสายนี้แล้ว เอาไว้ค่อยนำสิ่งที่ค้นพบมาแลกเปลี่ยนกันค่ะ

เคยได้ไปศึกษาเรียนรู้วิธีการสอนแบบ PBL มาจากวลัยลักษณ์ มาแล้วเช่นกัน แต่มีปัญหาตรงที่ว่า นักศึกาแต่ละห้องมีมาก สอนแต่ละวิชาก็หลายห้อง อาจารย์ที่ปรึกษากลุ่มก็เลือนลาง ตัวเองอยากจะนำมาทดลองใช้จริงๆ ไม่ทราบว่าอาจารย์คนอื่นๆที่ใช้ไล้วจะให้ข้อเสนอแนะอย่างไรบ้าง จาก อ. สพล.ยล. ( บ้านใกล้เรือนเคียง)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท