ภาคีเครือข่ายสูงอายุนำรัดร่วมใจ พาใฝ่ฝันไปสู่ตำบลสุขภาวะ


ภาคีเครือข่ายชุมชนร่วมคิด ร่วมทำ นำไปสู้ตำบลสุขภาวะ

วันที่  28  ต.ค52 ทางทีมอาจารย์คณะพยาบาลมหาวิทยาลัยเชียงใหม่  ได้มาร่วมเก็บข้อมูลที่ตำบลน้ำรัด เพื่อประกอบการเข้าสู่ตำบลสุขภาวะ  ได้รับทราบว่ามีโครงการจากจังหวัดภาคเหนือ  ที่ได้ของบสนับสนุนในเรื่องสุขภาวะชุมชน (ทางชมรมผู้สูงอายุน้ำรัดได้จัดทำโครงการดังกล่าว  ) ในภาคเหนือมีโครงการจำนวน  140 โครงการ และทางสสสร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คัดเลือกจำนวน 20 โครงการ เพื่อศึกษาเก็บข้อมูลในการทำวิจัยตำบลสุขภาวะ  

ทีมอาจารย์ที่มาครั้งนี้ประกอบด้วย

1. ผศ.ดร. จุฑามาศ    โชติรส  หัวหน้าทีม

2.  ผศ.เดชา   ทำดี

3. คุณกมลชนก กาวิล

4. คุณอุมาภัณฑ์  พุทธปวน

5. คุณณัฐกาญจน์   สุรภักดี

6. คุณธัญลักษณ์  ตาสุข

 

ก่อนทีมผู้วิจัยได้ชี้แจงทางชมรมผู้สูงอายุได้เล่นดนตรีไทย  ฟ้อนแพร่ศรีเมือง ทางทีมผู้วิจัยได้เข้าร่วมฟ้อนรำด้วย  บรรยาศชื่นมื่นมากๆ

เริ่มแรกทางทีมผู้วิจัยได้ชี้แจงถึงจุดประสงค์ในการเก็บข้อมูล  และชี้แจงกระบวนการเก็บข้อมูลวันนี้

 จากนั้นได้แบ่งเป็น 2 กลุ่ม  ให้คละกันทั้งจำนวนผู้ให้ข้อมูลของแต่ลหมู่บ้าน และกลุ่มผู้นำ ,ภาคีเครือข่าย  โดยทางทีมผู้จัย ได้สอบถามแต่ละหมู่บ้านว่าใครเป็นบุคคลต้นแบบ  เป็นต้นแบบด้านใหนบ้าง เช่น  หมอพื้นบ้าน กลุ่มอาชีพ  อื่นๆ  โดยทางทีมได้เขียนลงในกระดาษชาร์ต ให้เห็นร่วมกัน

   จากนั้นทางทีมผู้วิจัย ได้มานั่งสรุปให้ฟังว่า ผู้ที่เป็นบุคคลต้นแบบจะถ่ายรูปไว้ และส่งข้อมูลคืนมาที่อบต  เพื่อตรวจสอบข้อมูลอีกครั้งก่อนที่ทางทีมจะได้นำเสนอต่อไป 

และจุดเน้นนั่นก็คือ  ตำบลสุขภาวะถ้าชุมชนอยากเข้าร่วมวิจัยทางทีมผู้วิจัยจะให้ชุมชนละ 5 ท่าน ไปร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับอีก19 ทีม  ชุมชนท่านจะเข้าร่วมโครงการหรือไม่ คงแล้วแต่ ชุมชนของท่าน   หลังจากนั้นทางปลัดอบต  คุณแสงจันทร์ ปานแก้ว ได้มอบของที่ระลึกเป็นนำยาเอนกประสงค์ที่ทางชุมชนบางท่านได้ทำ (ท่านนายกอบต ติดภาระกิจไปอบรมที่พัทย,กลุ่มสูงอายุ ได้มอบของที่ระลึกให้เช่นกัน และได้บายศรีสู่ขวัญแบบง่ายให้

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้  ทำให้ทราบว่ากลุ่มแกนนำในชุมชนมีศักยภาพ ได้ร่วมเสนอสิ่งที่เป็นจุดเด่น  จุดด้อย มีความกล้าที่จะนำเสนอ กล้า ชวนคิดชวนคุย  ต้องปรบมือให้เครือข่ายทุกเครือข่ายที่ได้มีโอกาสในครั้งนี้

      

ร่วมดนตรีไทย รำแพร่ศรีเมือง

ร่วมนำเสนอบุคคลต้นแบบ   ข้อดี ข้อด้อยของชุมชน

              

บายศรีสู่ขวัญแบบง่ายๆ       ป.แสงจันทร์     และอ.วิสุทธิ์  รักพงษ์ มอบของให้ทางทีม

 

                

 สูงอายุมีของดี ๆๆๆ ที่ทำขึ้นเองนั่นก็คือน้ำยาเอนกประสงค์  สุขทั้งผู้ให้เชียวล่ะ

 

คำสำคัญ (Tags): #สุขภาวะ#สูงอายุ
หมายเลขบันทึก: 312166เขียนเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2009 16:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ตามมาชื่นชมผลงานค่ะ

ขอบคุณค่ะที่มาเยี่ยมชม เมื่อวันเสาร์คุณท้องฟ้าเสร็จภาระกิจกับน้องคุณญา เกือบ 6โมงเย็น แต่ก็ยินดีที่ได้บริการเครือข่ายgotonow

สวัสดีครับคุณท้องฟ้า สร้างบรรยากาศให้ชาวบ้านพูดแล้วเรียนรู้ร่วมกัน

ให้เขาเกิดความภาคภูมิใจในความคิดของเขา คืองานของเราครับ

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ ทำให้ทราบว่ากลุ่มแกนนำในชุมชนมีศักยภาพ ได้ร่วมเสนอสิ่งที่เป็นจุดเด่น จุดด้อย มีความกล้าที่จะนำเสนอ กล้า ชวนคิดชวนคุย ต้องปรบมือให้เครือข่ายทุกเครือข่ายที่ได้มีโอกาสในครั้งนี้

อ.วอญ่า คุณท้องฟ้าก็ได้มีโอกาสเรียนรู้การทำงานจากเครือข่ายกัลยาณมิตรชาวgotoknowมากมาย อ้อพึ่งทรายว่าคุณวอญ่าก็เป็นเครือข่ายใกล้ชิด ดร.วิรัตน์ คำศรีจันทร์ ที่ม.มหิดล ท่านได้มาเป็นวิทยากรให้แก่นสส.แพร่ (นีกสื่อสารสุขภาพ แพร่)2 ครั้ง ในประเด้นแนวคิดการสื่อสารกับการสร้างพลังชุมชน ,การจัดและร่วมเวทีชุมชน ,การทำmind mapping วันนี้เดี๋ยวเขียนBest Practice ประเด็นนักสื่อสารสุขภาพ : สูงอายุ ปลายเดือนพ.ย ไปร่วมแลกเปลี่ยนกับนสส. กาญจนบุรี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท