พัฒนาสู่ต้นแบบ


การเรียน การสอนที่ความเข้มแข็ง

  

 ท่านปิยะบุตร ชลวิจารณ์ อดีตรมช.อุตสาหกรรม ท่านยังติดตามถามถึงโครงการฯเสมอ  ท่านยังเป็นทั้งกำลังใจ ให้แนวคิด แนวทางการพัฒนาตลอดจนเชื่อมโยงความเข้าใจ การสานต่อกับภาคธุรกิจ เอกชน รัฐวิสาหกิจ สู่การสนับสนุนโครงการ ฯอย่างต่อเนื่อง

 ชาวโครงการฯกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงค่ะ

   ระยะนี้ชาวโรงเรียนในฝัน ทั้ง 2500 โรงเรียนอยู่ระหว่างการพัฒนาเพื่อความเข้มแข็งของการจัดการเรียนการสอน

             รุ่นที่ 1 จำนวน 921 โรงเรียน เป็นต้นแบบแล้วคงอยู่ระหว่างการพัฒนาต่อยอด ปรับปรุงในส่วนที่ควรปรับปรุง เพื่อการเป็นต้นแบบที่เข้มแข็ง สำหรับในส่วนที่ ตาสว่าง รับผิดชอบจะแวะเยี่ยมชมผลงาน นะคะ

             รุ่นที่ 2 จำนวน 865 โรงเรียน ได้รับการประเมินและเป็นต้นแบบแล้วไม่น้อยกว่า 407 โรงเรียน ( ข้อมูล ณ วันที่ 6 ตุลาคม 2552)  ทุกโรงเรียนก็อยู่ระหว่างการพัฒนา ที่ผ่านเป็นต้นแบบแล้วมีข้อเสนอแนะให้ปรับปรุงบางเรื่องและพัฒนาต่อยอดให้เป็นต้นแบบที่เข้มแข็งโดยเฉพาะ การเรียนการสอน สำหรับโรงเรียนที่ยังไม่ได้เป็นต้นแบบคงต้องพัฒนาการเรียนการสอน ให้เข้มแข็งลองประเมินตนเองก่อนถ้าคิดว่าพร้อมจึงแจ้งขอรับการประเมินนะคะ

              รุ่นที่3 จำนวน 715 โรงเรียน ได้ร่วมประชุมสัมมนาแล้วอยู่ระหว่างการพัฒนาเพื่อสร้างความเข้มแข็งในการจัดการเรียนการ สอนเมื่อมีความพร้อมจึงแจ้งขอรับการประเมิน

          ค่ะทั้งหมดคงต้องขอทำความเข้าใจและทบทวนแนวทางการพัฒนา

1. เพื่อเป็นการปรับปรุงและการพัฒนาต่อยอดให้เป็นต้นแบบโรงเรียนในฝันโรงเรียนดีใกล้บ้าน ที่เข้มแข็ง  พิจารณาทวนทวน Concept หลัก ดังนี้

       1.1 โครงการโรงเรียนในฝัน (lab school project) โครงการโรงเรียนในฝัน  เป็นโครงการที่มุ่งเน้นการพัฒนาทุกระบบโรงเรียน ทั้งการเรียน  การสอน  การบริหารจัดการ สู่คุณภาพนักเรียน เป็นสำคัญ

      1.2    คุณภาพนักเรียน  นักเรียนโรงเรียนในฝันเป็นนักเรียนที่มีความโดดเด่น ด้านการใฝ่รู้ ใฝ่เรียน มีทักษะและความสามารถในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง มีความมั่นใจในตนเอง  รักท้องถิ่น มีความเป็นไทย มีสุขภาพกาย ใจที่ดี พร้อมอยู่ในสังคมประชาธิปไตยอย่างเป็นสุข

    1.3    ลักษณะการใฝ่รู้ใฝ่เรียน แสดงคุณภาพในการแสวงหาความรู้ ให้ความสำคัญต่อเครื่องมือในการแสวงหาข้อมูล ซึ่งการมีข้อมูลมาก จะสามารถแก้ปัญหาได้ดี ทำให้มีความมั่นใจ ดังนั้น เครื่องมือที่สำคัญในการเรียนรู้ เครื่องมือในการหาข้อมูลที่เห็นเป็นรูปธรรม    ในที่นี้ประกอบด้วย ทักษะในการใช้ ภาษาไทย  ภาษาอังกฤษ Computer และ ความสามารถใน การคิด-วิเคราะห์

1.4    การใช้เครื่องมือเพื่อการแสวงหาข้อมูล สร้างความรู้ด้วยกระบวนการคิด -วิเคราะห์ จะปรากฎที่เป็นรูปธรรมด้วยการตอบคำถามที่เป็นเหตุเป็นผลมีข้อมูลประกอบ ตอบคำถาม ที่เชื่อมโยงข้อมูลได้อย่างน่าเชื่อถือ มีผลงานที่สร้างสรรค์ (ไม่ลอกแบบ) มีความต้องการ ที่จะเรียนรู้ต่อไป ( มีคำถามที่ต้องการหาคำตอบเป็นประจำ / มีนิสัยที่จะค้นหาคำตอบอย่างมีเหตุผล)

1.5    กริยาอาการที่ปรากฏชัดในวันประเมินคือ การตอบคำถามอย่างมั่นใจ พร้อมแก้ปัญหาไม่หลีกเลี่ยงที่จะตอบคำถาม เข้าถึงแหล่งข้อมูลอย่างรวดเร็ว

 2.คุณภาพนักเรียนจะเป็นดังเช่นในข้อ  1.2 - 1.5 ได้ จำเป็นต้องสอดคล้องกับกระบวนการจัดการเรียนรู้  สอดคล้องกับทุกระบบที่โรงเรียนจัดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการจัดการเรียน การสอนของครูทุกกลุ่มสาระ การสนับสนุนโดยตรงจากการบริหารจัดการได้แก่  การอำนวยความสะดวก ด้านสื่ออุปกรณ์  แหล่งเรียนรู้ การจัดบรรยากาศการเรียนรู้ กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ ที่สนับสนุนการพัฒนาทักษะชีวิต จัดระบบการดูแลนักเรียน การให้ความสำคัญต่อการดูแลและพัฒนาสุขภาพอนามัยให้มีความพร้อมที่จะเรียนรู้  เรียนรู้อย่างมีความสุข                                                    

 3.ท่านจะเห็นว่าที่กล่าวในข้อ 2  นับว่าเป็นงานที่โรงเรียนทำเป็นประจำ เป็นความตระหนักในบทบาทหน้าที่ของทุกท่านอยู่แล้ว โครงการโรงเรียนในฝันไม่มีเจตนาที่จะชักชวนให้ท่านดำเนินการ  นอกเหนือบทบาทหน้าที่ ดังนั้นถ้าท่านได้ทบทวน ท่านจะทราบว่า ท่านจะปรับปรุงในส่วนใด  เพื่อพัฒนานักเรียน ดังนั้นขอเสนอข้อมูล  ดังนี้ 

      3.1 จัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับคุณภาพตาม Concept หลัก มีลักษณะที่เด่นชัดดังนี้       

1) กิจกรรมที่เน้นการศึกษาค้นคว้า สืบค้นข้อมูล

รูปธรรมที่ปรากฎคือ การใช้คำถาม การกำหนดกิจกรรมให้มีการสืบค้น ในแผนการสอน มีบัตรงานที่เน้นให้ค้นหาข้อมูลจากหนังสือหลายเล่ม จากแหล่งข้อมูลหลายแหล่งเช่น จาก web site จากe-book จากโปรแกรมสำเร็จ จากแหล่งเรียนรู้อื่น ทั้งแหล่งข้อมูลที่ครูนำเสนอและแหล่งข้อมูล นักเรียนแสวงหาเอง ทั้งในหรือนอกโรงเรียน และหรือจากการทดลอง การลองทำดู และปรับปรุง จนได้ผลงานที่น่าพอใจเป็นต้น  

   นอกจากนี้กิจกรรมการเรียน การสอนให้ความสำคัญต่อคำถาม เป็นคำถามที่ต้องการคำตอบที่มีเหตุผลประกอบ คำถามที่ต้องการคำตอบหรือคำ    อธิบายยาวๆ

2) กิจกรรมที่เน้นนำข้อมูลที่ได้จากการค้นหา        ได้จากการสืบค้น  จากการทดลอง  มาเชื่อมโยงเป็นคำตอบ เป็นผลงาน  3 ) การเรียนการสอน  ให้ความสนใจและความสำคัญต่อความรู้พื้นฐานและความถูกต้องของศาสตร์ในแต่ละสาระซึ่งจำเป็นต้องทดสอบตามระดับที่เหมาะสม เป็นระยะ 4 ) การเรียนการ สอน ให้ความสำคัญต่อการอ่าน - เขียนคล่อง เหมาะสมกับระดับชั้น 5 ) กิจกรรมการเรียนการสอน สนับสนุนให้มีและเพิ่มทักษะและ ความสามารถทาง Computer  ซึ่งจะเกิดขึ้น อย่างสอดคล้องกับกระบวนการเรียนรู้ ทั้งการสืบค้นและการสร้างงาน  การนำเสนอผลงาน  6 )กิจกรรมการเรียนกการสอน สนับสนุนการรักอ่านอย่างเป็นรูปธรรม

   3.2 จากข้อ 3.1 ท่านจะเห็นว่าทุกกลุ่มสาระจำเป็นต้องให้ความสำคัญและทุกกลุ่มจัดการเรียนการสอนตามแนวทางที่กล่าวถึงและนอกจากนี้เพื่อเป็นการสนับสนุนกิจกรรมการเรียนการสอนให้ส่งผลต่อคุณภาพนักเรียนที่เข้มแข็งขึ้น

    ขอเสนอ กิจกรรมการเรียนการที่ครอบคลุมแนวทางการจัดกิจกรรมในข้อ 3 คือการจัดการเรียนรู้โดยโครงงาน (Project Approch) หรือ การเรียนรู้โดยโครงงาน (Project Approch) ในที่นี้นำหมายถึงการเรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างลึกซึ้งอธิบายเพิ่มเติมคำว่า ลึกซึ้งมีลักษณะดังนี้

1) มีวิธีการเรียนรู้หลายๆวิธี 2 )เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้หลายๆแหล่ง 3 ) นำข้อมูลจากการเรียนรู้มาเชื่อมโยงเป็นคำตอบ เป็นผลงาน 

 

 จากแนวทางนี้ท่านสามารถสนับสนุนและตรวจสอบความสามารถ นักเรียนได้ตามประเด็นที่จะสะสมคุณภาพนักเรียนโรงเรียนในฝัน โรงเรียนดีใกล้บ้านได้ ทั้งนี้เพราะการเรียนรู้เช่นนี้ ดำเนินการได้        ทุกสาระ ครูทุกคนจะมีส่วนช่วย สะสมคุณภาพนักเรียน ทั้งความสามารถในการสืบค้น นิสัยรักการอ่าน การเข้าถึงแหล่งข้อมูล การตอบคำถามอย่างเป็นเหตุ เป็นผล การเชื่อมโยงข้อมูลเป็นคำตอบ เป็นผลงาน ผลงานที่สร้างสรรค์ ทักษะการใช้ภาษา และใช้Computer                                                                                                                       

 5. นอกจากการจัดการเรียนการสอนแล้ว โรงเรียนยังจัดให้มีกิจกรรมการเรียนรู้ประเภทสนามบูรณาการ “ สนามบูรณาการ” 

 หมายถึง กิจกรรมที่โรงเรียนได้จำลองสถานการณ์  หรือจำลองกิจกรรม ในสถาพสังคม หรือชีวิตประจำวันมาไว้ในโรงเรียนเพื่อให้นักเรียนได้ฝึก การบริหารจัดการทั้งระบบครบวงจร  สร้างนิสัยรักการทำงาน การทำงานเป็นกลุ่ม สร้างความรัก ความสามัคคี  การมีบทบาทระบบประชาธิปไตย การสร้างวินัยในตนเอง การสร้างความตระหนักการในการมีจิตสาธารณะ กิจกรรมประเภทนี้ได้แก่  คณะกรรมการนักเรียน ชุมนุม สหกรณ์โรงเรียน  กิจกรรมส่งเสริมการมีจิตสาธารณะ ฯลฯ

ท่านสามารถเลือกได้ตามความเหมาะสมกับวัย และระดับของนักเรียน                                                                                                                         

                   6. จากแนวทางที่นำเสนอจะเห็นว่าโรงเรียนจำเป็นต้องมีการบริหารจัดการ อำนวยความสะดวก ด้านแหล่งเรียนรู้ สิ่งแวดล้อม ตลอดจนบรรยากาศในการเรียนรู้

7 เมื่อท่านได้ดำเนินการพัฒนาตามแนวทางการดำเนินงานตาม Concept หลักแล้ว และพบว่าคุณภาพหรือคุณสมบัติของนักเรียนโรงเรียนในฝัน โรงเรียนดีใกล้บ้าน ได้ตกตะกอนกับนักเรียนเป็นส่วนใหญ่แล้ว โรงเรียนจึงแจ้งขอรับการประเมิน

8.วันที่ประเมิน นับว่าเป็นวันที่รวบรวมคุณภาพของนักเรียนทั้งหมดนำเสนอผ่านกิจกรรม หรือผ่านผลงานต่างๆ เพื่อให้คณะกรรมการพิจารณาความเหมาะสม การตอบคำถามของนักเรียน ผลงานของนักเรียนเป็นการสะท้อน วิธีสอน / วิธีจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และ สะท้อน การบริหารจัดการ ของโรงเรียนที่ผ่านมาโดยตลอด                                               

7. การนำเสนอกิจกรรมในวันประเมิน

    การเตรียมกิจกรรม กิจกรรมแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆประกอบด้วย  กลุ่ม 1 กิจกรรมเฉพาะกิจในที่นี้หมายถึง  กิจกรรมในสถานการณ์ต่างๆเพื่อให้นักเรียนมีทักษะ แสดงความสามารถเมื่ออยู่ในบรรยากาศ สังคมที่มีบุคคลภายนอก ผู้ใหญ่มาที่โรงเรียน จะมีโอกาสได้จัดการ รับแขก กล่าวต้อนรับ  เป็นพิธีกร ใช้ภาษาไทย อังกฤษ  มีสัมมาคาระ แสดงมารยาทความเป็นไทย มีความมั่นใจกล้าแสดงออก  นำเสนอผลงานประเภทงานฝีมีอ งานการแสดง ศิลปะด้านนาฎศิลป์ ดนตรี ทั้งงานสร้างสรรค์และงานอนุรักษ์ เป็นต้น กิจกรรมเหล่านี้คือกิจกรรมการต้อนรับ  (ควรจัดแบบพอเพียงเพื่อให้นักเรียนสะท้อนความสามารถ เท่านั้น  )

กลุ่มที่ 2 กิจกรรมการเรียนการสอนในที่หมายถึงกิจกรรมที่นำเสนอทุกกลุ่มสาระ ทั้งในและนอกห้องปฏิบัติการ ผลงาน รวมทั้งกิจกรรมใน สนามบูรณาการ

มีข้อสังเกตุ  มาจากคณะครูที่ให้ข้อมูลว่า เสียเวลาเตรียมการประเมินมาก ไม่ได้เรียนดังนั้นจึงขอให้พิจารณาว่า

          1) ถ้ามีความเข้าใจและพัฒนาทุกกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอ การเตรียมการประเมิน ก็เป็นการรวมคุณภาพนำเสนอผ่านกิจกรรม ผ่านผลงาน 2) การเตรียมการก็นับเป็นการสอน เด็กทุกคน (เพราะกรรมการถามกลุ่มทั่วไปด้วย)ได้เรียนรู้  บางกลุ่มได้เรียนรู้ตามบทบาทหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ทุกคนต้องเตรียม  เตรียมกิจกรรม เตรียมอ่าน เตรียมสืบค้นข้อมูล เตรียมฝึกเข้าInternet ฝึกการใช้การโปรแกรม เตรียมพูด เตรียมการแก้ปัญหา บางกลุ่มก็ได้เรียนรู้อย่างเข้มข้น น่าจะเป็นการเรียนรู้ 

          ดิฉันไม่เห็นว่าไม่ได้เป็นการไม่ได้เรียนรู้ ขอให้พิจารณาด้วย ตรงกันข้ามจะเป็นการเรียนรู้ที่เข้มข้น เพิ่มความเข้มแข็ง  ครูได้ดูแลกิจกรรม ดูแลห้อง ถือโอกาสพัฒนาตนเอง พัฒนาสิ่งแวดล้อม  เป็นวันที่เห็นตัวอย่างกิจกรรมไม่น่าจะเป็นว่าเป็นวันที่ไม่ได้สอน ไม่ได้เรียน 3)  แต่ถ้าความหมายของการเรียนการสอนไม่เป็นไปตามConcept หลักที่กล่าวทั้งหมด ก็ขอเสนอให้พิจารณาปรับเพราะเราอยู่ในครอบครัว โรงเรียนในฝัน โรงเรียนดีใกล้บ้าน 4 ) และถ้าการเตรียม เสียเวลาการซ้อม มุ่งแต่การแสดงโชว์ก็ขอให้ปรับปรุง

8. การประเมินคณะกรรมการจะพิจารณาประเด็นต่างๆตามคู่มือ 6 ด้านประกอบด้วย

1) ด้านคุณภาพนักเรียน 2) ด้านคุณภาพครู /วิธีสอน 3)  ด้านคุณภาพแหล่งเรียนรู้ 4 ) ด้านคุณภาพกิจกรรมการสนับสนุนการพัฒนาทักษะชีวิต  5) ด้านคุณภาพกิจกรรมการสนับสนุนการพัฒนาสุขภาพอนามัย 6) ด้านคุณภาพการบริหารจัดการ

 

                 ดังนั้นเมื่อท่านจะจัดกิจกรรมอะไรให้กรรมการพิจารณา จำเป็นต้องอ่านและ ศึกษาคู่มือให้เข้าใจ  และถามตนเองว่าจะให้ประเมินด้านใดและจะได้คะแนนในประเด็นใดเป็นต้น

             โปรดอ่านกำจัดจุดอ่อน

(มีต่อค่ะ)

           

หมายเลขบันทึก: 312097เขียนเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2009 11:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

เรียน อาจารย์ชัดเจนที่เคารพค่ะ

จะทำอย่างไรดีคะ หนูเพิ่งย้ายมาสอน

และทราบว่าอาจจะมีการประเมินปลายปีนี้

ปรากฏว่าครูคนเก่าไม่ได้ทำอะไรไว้ให้เลย

แล้วหนูจะเริ่มต้นตรงไหนดีคะ

ตอนนี้กลุ้มใจมากค่ะ

1.ดีค่ะที่ถามอย่าหนักใจนะคะ

2.การเตรียมตัวโปรดดำเนินการดังนี้

   2.1 อ่าน และทำความเข้าใจกับ concept หลักในบันทึกข้างต้นอีกครั้งโดยเฉพาะที่แนะนำ การปรับกิจกรรมการสอน

2.2 ศึกษาเอกสาร "เพื่อนร่วมทางสู่ต้นแบบโรงเรียนในฝัน (คู่มือประเมิน) "

2.3 อ่านและทำความเข้าใจกับบันทึกทุกเรื่องในblog นี้ดดยเฉพาะเรื่องที่เขียนว่ากำจัดจุดอ่อน....ทุกเรื่อง

 2.4 ท่านรับผิดชอบเรื่องใดถามมาได้ค่ะ

สวัสดีค่ะท่าน..หนูก็จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามที่ท่านได้แนะนำแต่ก็เป็นหว่งด้านอื่นๆที่ท่านได้แนะนำค่ะ..ที่ต้องร่วมมือกันเป็นทีม..และมีความเข้มแข็ง..และจะประเมินเดือน มี.ค 52 จะพอที่จะมีร่องรอยและคุณภาพไหมค่ะ..

ขอบคุณทุกท่านที่ติดตาม ดีใจค่ะที่คุณrinda สนใจคิดว่าต้องมีร่องรอยอย่างน้อยนักเรียนต้องคุ้นชินกับคำถาม การหาข้อมูล ไม่กลัว รู้แหล่งข้อมูล นะคะ

จะติดตามต่อขอรับอาจารย์

กราบขอบพระคุณท่าน"ธรรมฐิต"และทุกท่านที่ติดตามผลงาน

สวัสดี ท่านดร.ชัดเจน

เราเริ่มปรับปรุงห้องปฏิบัติการไปได้ ประมาณ 30 % แล้ว

ปัญหาตอนนี้คอื การขับเคลื่อนพลังจากแนวร่วมทุกฝ่าย

แต่ผมจะเดินตามแนวทางที่มี

ไปเรื่อย ๆ ก่อน

ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาชมผลงานรวมถึงคุณวิเชียร ดีใจค่ะที่เข้าใจขอเน้นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนนะคะเป็นกำลังใจค่ะ 

เป็นกำลงใจสำหรับคนทำอะไรดีๆครับ

ตุลาญา โรงเรียนท่าคันโทวิทยาคาร..

สวัสดีค่ะ

คิอหนูอยากจะทราบว่า การที่โรงเรียนจะเป็นโรงเรียนต้นเเบบโรงเรียนในฝันได้ จะต้องมีเอกลักษณ์ประจำโรงเรียนอันนี้สำคัญมั้ยคะ

ถ้าเกิดอย่างเช่น นึกถึงเรื่องนี้ ต้องโรงเรียนนี้ อันนี้จะเป็นตัวช่วยในการก้าวไปสู้โรงเรียนในฝันได้ง่ายขึ้นไหมคะ

หรือว่าต้องผ่านเกณฑ์ในเเต่ละด้านเท่านั้นค่ะ

ขอบคุณล่วงหน้านะคะ

ขอบคุณมากค่ะ...

1.คุณตุลาญาคะ เมื่อโรงเรียนเข้าโครงการแล้วเป็นโรงเรียนในฝันนะคะ และพัฒนาจนมีความพร้อมขอรับการประเมินผ่านเกณฑ์จึงเป็นต้นแบบ ขอให้ศึกษาคู่มือนะคะ

2.คุณวิเชียร ขอให้ศึกษาคู่มือนะคะรู้สึกว่านานแล้วประเมินได้หรือยังคะ

ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาอ่านและดร.ภิญโญ ที่ให้กำลังใจค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท