KM: Best Practice in Clinical Teaching


KM: Best Practice in Clinical Teaching

KM: Best Practice in Clinical Teaching

 

                การสอนทางคลินิก ถือเป็นหัวใจของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับนักศึกษาพยาบาลเพื่อการผลิตบัณฑิตพยาบาลที่พึงประสงค์และเป็นไปตามมาตรฐานของวิชาชีพ ทั้งนี้ เนื่องจากวิชาชีพการพยาบาลเน้นที่การปฏิบัติการพยาบาล (Nursing as a practice discipline) เพื่อคงไว้ซึ่งสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้ใช้บริการ การปฏิบัติการพยาบาลนอกจากจะต้องใช้ศาสตร์ทางการพยาบาลและศาสตร์ที่เกี่ยวข้องแล้ว ยังต้องมีศิลปะการพยาบาลที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของวิชาชีพ อาจารย์พยาบาลทางคลินิก(Clinical nurse instructors)จึงเป็นบุคคลสำคัญที่จะหล่อหลอม ฝึกฝนและพัฒนานักศึกษาพยาบาลให้มี ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ ที่เพียงพอต่อการเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ดีต่อไปในอนาคต ประสบการณ์การสอนของอาจารย์ทางคลินิกจึงเป็นสิ่งที่มีคุณค่ายิ่ง (Tacit knowledge) สมควรที่จะมีการแบ่งปัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้และจัดเก็บเป็นองค์ความรู้เพื่อเป็นประโยชน์แก่บุคคลในวิชาชีพสืบไป ดังนั้น พื้นที่นี้จึงขอให้เป็นพื้นที่แห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การสอนทางคลินิกที่ดีๆของอาจารย์พยาบาลทางคลินิกทุกท่าน ประสบการณ์ของอาจารย์อาจจะเป็นเรื่องเรื่องเล็กๆที่อาจารย์ได้ทำแล้วเกิดความภาคภูมิใจ  สามารถแก้ปัญหาเกี่ยวกับการเรียนการสอนทางคลินิกได้ ได้ข้อคิดในการพัฒนาหรือปรับปรุงการเรียนการสอนทางคลินิกให้ดียิ่งขึ้น สามารถพัฒนานักศึกษาที่เรียนรู้ช้าให้มีความก้าวหน้าในการฝึกปฏิบัติในระดับที่พึงพอใจ เป็นต้น  ขอเชิญชวนอาจารย์พยาบาลทางคลินิกที่สนใจเขียนเล่าประสบการณ์และเข้าร่วมเป็นเครือข่ายชุมชนนักปฏิบัติการสอนทางคลินิก (CoP) เพื่อการสืบสานความรู้จากประสบการณ์การสอนทางคลินิกให้มีความเข้มแข็งและมีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง

                วัตถุประสงค์:

  1. เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การสอนที่ดีๆของอาจารย์พยาบาลทางคลินิก
  2. เพื่อสร้างเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างอาจารย์พยาบาลทางคลินิก
  3. เพื่อเป็นแหล่งในการจัดการความรู้ที่เป็น Best practice ในการสอนทางคลินิกของอาจารย์พยาบาล

 

สายพิณ เกษมกิจวัฒนา

สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

หมายเลขบันทึก: 312060เขียนเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2009 08:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 22:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

การสอนทางคลินิกเป็นความท้าทายของอาจารย์ ในการชี้แนะให้นักศึกษาที่มีความสามารถในการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน สามารถให้การดูแลผู้ป่วยที่มีมาตราฐานเช่นเดียวกันได้ ในขณะเดียวกันวิธีการสอนของอาจารย์ต้องทำให้นักศึกษาเกิดความภาคภูมิใจในวิชาชีพและเกิดความรู้สึก Positive thinking ต่อวิชาชีพ การได้สอนทางคลินิกเป็นโอกาสที่ดีสำหรับอาจารย์ในการพัฒนานักศึกษาเป็นรายบุคคล ซึ่งการสอนโดยการ Lecture ทำได้ยาก

การสอนทางคลินิกสิ่งที่เด็กสะท้อนให้เราทราบ ด้วยการให้เขียน Port folio ส่งทุกวันเพื่อให้เราทราบว่านักศึกษามีปัญหา แก้ปัญหาในแต่ละวันอย่างไร สะท้อนการเรียนการสอนของเรา ทำให้เราทราบความรู้สึกนึกคิดของนศ.แต่ละคน แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไขวิธีการสอนของเรา ซึ่งสิ่งที่เด็กสะท้อนเป็นสิ่งมีคุณค่าต่อการพัฒนาการเรียนการสอนของอาจารย์เป็นอย่างยิ่งคะ หากเราเปิดใจเรียนรู้กันและกัน

อาจารย์สูติคนใหม่วิทยาลัยพยาบาลพระยาภักดีชุมพล ชัยภูมิ

การสอนในคลินิกนั้น เป็นการสอนให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ในห้องเรียนทั้งหมดมาใช้จริง ซึ่งอาจารย์จะต้องใช้ความสามารถอย่างเต็มที่ในการที่จะสอนให้นักศึกษาสามารถปฏิบัติได้จริง เรียนรู้ได้อย่างเข้าใจ มีทักษะ และประสบการณ์ ซึ่งโดยทั้งนั้น นักศึกษาแต่ละกลุ่มย่อมมีความแตกต่าง กันในหลายๆ ด้าน ดังนั้นอาจารย์ ต้องใช้ทั้งจิตวิญญาณ ศาสตร์และศิลป์ เข้ามาช่วย เพื่อปรับรูปแบบการสอนให้เข้ากับผู้เรียนที่มีความแตกต่างกันในหลายๆด้าน จึงจะหล่อหลอมพวกเขาเหล่านั้นเป็นพยาบาลที่ดีได้ในอนาคต

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท