ความก้าวหน้าด้านยุทธศาสตร์สื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์


การทำงานเชิงยุทธศาสตร์ด้านสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ในครั้งนี้ วางธงไว้ที่ การพัฒนาแผนแม่บทดานสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ โดยเกิดขึ้นจาก การจัดทำยุทธศาสตร์ในระดับจังหวัด ภาค และส่วนกลาง โดยเน้นการค้นหาตัวอย่างเชิงประสบการณ์ในการทำงานของแต่ละชุมชน

ในวันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๒ ที่ผ่านมา ทางคณะกรรมการสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์แห่งชาติได้จัดประชุมคณะกรรมการครั้งที่ ๓

การประชุมประกอบด้วยรายงานความก้าวหน้าของ (๑) คณะอนุกรรมการหลัก ๔ ชุด คือ คณะอนุกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ด้านสื่อปลอดภัยสร้างสรรค์ คณะอนุกรรมการพัฒนากองทุนสือสร้างสรรค์ คณะอนุกรรมการกำหนดแนวทางในการปราบปรามสื่อที่ไม่ปลอดภัย คณะอนุกรรมการศูนย์ปฏิบัติการสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (๒) คณะอนุกรรมการระดับจังหวัด และ คณะอนุกรรมการ กรุงเทพ

โดยจะมีการจัดตั้งคณะอนุกรรมการพัฒนากฎหมายด้านสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เพิ่มเติม

ในส่วนของคณะอนุกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ด้านสื่อปลอดภัยสร้างสรรค์ ได้นำเสนอความก้าวหน้าของการทำงาน โดยแบ่งเป็น ๕ ประเด็น

ประเด็นแรก แนวคิดเกี่ยวกับยุทธศาสตร์

ประเด็นที่สอง การทำงานเชื่อมต่อระหว่างอนุกรรมการกับยุทธศาสตร์

ประเด็นที่สาม ตัวอย่างโครงการเชิงรูปธรรมภายใต้ยุทธศาสตร์

ประเด็นที่สี่ วิธีการในการทำงานเพื่อนำไปสู่การพัฒนาแผนแม่บทด้านสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ โดยอาศัยการจัดทำยุทธศาสตร์ระดับจังหวัด มาสู่ระดับภาค และ ระดับกลาง และเน้น ตัวอย่างประสบการณ์ความสำเร็จและการมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นหลัก ซึ่งครูหยุย อธิบายว่า มีประเด็นน่าสนใจ ๒ เรื่อง คือ การจัดทำยุทธศาสตร์จากระดับพื้นที่ และ การขยายผลต่อยอดตัวอย่างประสบการณ์ที่ดีให้ทำงานได้ต่อเนื่องและขยายเครือข่าย

ประเด็นที่ ๕ การกำหนดทิศทางในการทำงานในปีหน้าภายใต้วาระเด็กและเยาวชน ในประเด็น การเพิ่มทุนทางปัญญาด้วยสื่อสร้างสรรค์ ที่ต้องการ การร่วมทุนทางสังคม ทุนทางความรู้ในการผลิตสื่อ ทุนกระแสสังคม 

ในแง่ของยุทธศาสตร์นั้น คงต้องเน้นเชิงปฎิบัติการใน ๕ เรื่อง (๑) การสร้างตัวอย่างสื่อสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้น ในระหว่างที่รอการจัดตั้งกองทุนสื่อสร้างสรรค์ (๒) การเปิดพืนที่ของการมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค (๓) การจัดทำตัวอย่างสื่อสร้างสรรค์ที่เด็กเป็นคนสร้างร่วมกับชุมชน เพื่อสร้างกระแสสังคม (๔) การให้รางวัลเพื่อสร้างแรงจูงใจกับผู้ผลิตสื่อสร้างสรรค์ (๕) การสื่อสารให้ความรู้เพิ่อสร้างความตระหนักและการเรียนรู้เท่าทันอย่างต่อเนือง และ (๖) การจัดตั้งอนุกรรมการจังหวัดต้นแบบนำร่องให้ได้

ในเรื่องของเชิงนโยบาย คงต้องเน้น (๑) การจัดทำยุทธศาสตร์ในระดับจังหวัดและระดับภาค เพื่อนำไปสู่การจัดทำแผนแม่บท (๒) การกำหนดแนวทางในการร่วมทุนทางสังคม ทั้ง เงินทุน ความรู้ เครือข่าย ร่วมกัน เพื่อทำให้เกิดสื่อสร้างสรรค์ต้นแบบอย่างน่อยสัก ๑ ถึง ๒ ชิ้น ชิ้นแรก เน้น สื่อสร้างสรรค์การเรียนรู้อย่างแท้จริง และ สื่อสร้างสรรค์เพื่อส่งออกในฐานะสินค้าเชิงวัฒนธรรม

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการประชุม ยกร่างโดย อ.อิทธิพล ปรีติประสงค์

หมายเลขบันทึก: 311282เขียนเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2009 09:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 10:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณอาจารย์โก๋ที่แนะนำมาดูบันทึกนี้ ในยุทธศาสตร์กลไกสื่อเด็กภาคเหนือ ภายใต้ สสย. นั้นรองรับไว้แล้ว มีพื้นที่รูปธรรมหลายแห่ง แต่ยุทธวิธียังหน่อมแน้มกันอยู่ และมักจะหลุดไปจากการเคลื่อนเชิงนโยบาย ผมจะพยายามผลักดันให้ ปีหน้าทิศทางของกลไกภาคนำแนวทางจากคณะกรรมการสื่อปลอดภัยตามข้อมูลนี้ไปใช้ประกอบการวางแผนด้วยครับ

น่าสนใจครับสำหรับ กลไกสื่อเด็กภาคใต้ ที่บอกว่าน่าสนใจก็คือ มีพื้นที่รูปธรรม แต่ความน่าสนใจกว่านั้นก็คือ การค้นหาตัวอย่างการทำงานที่มีอยู่แล้ว ว่ามีออะไรบ้าง ? อยู่ตรงไหน? น่าจะลองหยิบยกขึ้นมาเล่าสู่กันฟังนะครับ จะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท