องค์กรพยาบาล-ศูนย์8
กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 8

วิจัย : ผลการให้ความรู้ด้านโภชนาการ หญิงวัยทอง


โครงการศึกษาผลการให้ความรู้ ด้านโภชนาการในผู้รับบริการคลินิกหญิงวัยทอง
                      
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 8 นครสวรรค์

ระยะเวลาที่ดำเนินการ เดือน ตุลาคม 2549 – เดือนกันยายน 2550

                                        นางมลิ บวบทอง และนางสาววันเพ็ญ สุทธิโกมินทร์

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการให้ความรู้ด้านโภชนาการในผู้รับบริการคลินิกหญิงวัยทอง ซึ่งทำการศึกษาในผู้รับบริการคลินิกหญิงวัยทอง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 8 นครสวรรค์ ที่มีอายุระหว่าง 40 – 59 ปี จำนวน 28 ราย เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบประเมินความรู้ด้านโภชนาการ แบบประเมินพฤติกรรมการกินอาหารและ แบบประเมินความพึงพอใจต่อบริการของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ งานวัยทำงาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้เป็นจำนวนและร้อยละ ค่าสถิติที ( Paired t – test )

          ผลการศึกษาพบว่า ผู้รับบริการส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงคิดเป็นร้อยละ 82.1 และเพศชายร้อยละ 17.9 อายุเฉลี่ย 45 ปี จากการประเมินความรู้ด้านโภชนาการและพฤติกรรมการบริโภคอาหารในคลินิกหญิงวัยทอง โดยการเปรียบเทียบก่อนกับหลังเข้ารับบริการ พบว่าผู้รับบริการมีความรู้ด้านโภชนาการดีขึ้น ในการเลือกรับประทานอาหารที่ควรรับประทาน คิดเป็นคะแนนเฉลี่ย 4.96 และ 7.36 และอาหารที่ควรหลีกเลี่ยงซึ่งมีผลเสียต่อสุขภาพ คิดเป็นคะแนนเฉลี่ย 5.14 และ 6.75 ตามลำดับ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และเมื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการบริโภคอาหาร พบว่า ผู้รับบริการมีพฤติกรรมที่เหมาะสมดีอยู่แล้ว คิดเป็นร้อยละ 41.4 ได้แก่ การกินอาหารปรุงสุกใหม่ หลีกเลี่ยง การกินอาหารสุกๆ ดิบๆ และการกินอาหารใส่สีผิดธรรมชาติ และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบริโภคให้ดีขึ้น คิดเป็นร้อยละ 50.0

พฤติกรรมที่สามารถปรับเปลี่ยนได้มากที่สุด ได้แก่ การหลีกเลี่ยงการกินอาหารที่มีน้ำมันและไขมัน เช่น ทอด ผัด การดื่มสุรา เบียร์ และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ รับประทานผักและผลไม้ต่างๆ มากขึ้น

สำหรับพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่ดีขึ้นพบร้อยละ 8.6 ซึ่งได้แก่ .การรับประทานข้าวซ้อมมือ และการรับประทานอาหารโดยการเติมน้ำตาล และเติมน้ำปลาหรือเกลือทุกครั้งที่กินอาหาร และการดื่มนม

และจากการประเมินความพึงพอใจต่อบริการของผู้รับบริการคลินิกหญิงวัยทองพบว่า ผู้รับบริการมีความพึงพอใจรวม คิดเป็นร้อยละ 90.0

          จากผลการศึกษาครั้งนี้ทำให้หญิงวัยทองที่มารับบริการมีความรู้และเกิดความตระหนักต่อการดูแลสุขภาพมากขึ้น และได้นำผลการศึกษาและข้อเสนอแนะที่ได้จากผู้รับบริการมาเป็นข้อมูลในการพัฒนารูปแบบและเนื้อหาในการให้บริการในคลินิกหญิงวัยทองและคลินิกอื่นๆ

หมายเลขบันทึก: 311041เขียนเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2009 09:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 15:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • นาง นงนาท สนธิสุวรรณ สนใจนำไปประยุกต์ใช้ด้วยหรือเปล่าค่ะ
  • ตอนนี้สภาการพยาบาลให้เก็บตัวชี้วัดเรื่องการนำไปใช้ด้วยน่ะคะ เลยอยากได้ข้อมูลนี้ด้วยคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท