การลื่นไหลกับการวิจัยทาง "สังคมศาสตร์"


แต่การวิจัยทางสังคมศาสตร์อันเป็น "ศาสตร์" ที่ว่าด้วยจิตและใจซึ่งสามารถลื่นไหลได้ในทุก ๆ "ลมหายใจ"

"การวิจัย" เหมือนกับว่าเราจะเข้าไป "เอา" อะไรสักอย่าง...!

ความคิดที่ "แว๊บ" ขึ้นมาหลังจากคำว่า "การวิจัยทางสังคมศาสตร์" ที่อยู่ดี ๆ ก็ "ผุด" ขึ้นมา...

เราก็เลยคิดต่อไปว่า ปัญหาของการวิจัย "ชุมชน" ที่มักเข้าไปสร้าง "ปัญหา" และนำพาคนให้ "หลง" ออก "หลง" เข้าชุมชนก็เพราะคำว่า "วิจัย" หรือเปล่า...?

อีกแว๊บหนึ่งก็คิดต่อถึงคำว่า "การวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี" อันนี้ "ถูกต้อง" มาก ถึง "มากที่สุด" เพราะต้องวิจัยให้มาก ๆ วิจัยให้ "หนัก ๆ..." ต้องค้น ต้องหา ต้อง "เอา" อะไรสักอย่างออกมาให้ "คุ้มค่า" กับเงินหรืองบประมาณที่ "ลงทุน" ไป...

แต่การวิจัยทางสังคมศาสตร์นั้นกว่าครึ่งหนึ่งว่ากันด้วยเรื่อง "จิต" คือ "พฤติกรรมศาสตร์" เรา (นักวิจัยและแหล่งทุน) จะหวังเอาอะไรสักอย่างที่เป็น "รูปธรรม" จากสิ่งที่เป็น "นามธรรม" นั้นก็จะต้องหัด "ปั้นน้ำให้เป็นตัว..."

สังคมนี้จึงต้องวุ่นวายกับการสมมติให้วิชาการทางด้านสังคมศาสตร์ซึ่งเป็น "นามธรรม" อยู่ ให้เป็น "รูปธรรม"

ตัวเลข สถิติ กิจกรรม อะไรต่ออะไรก็นำมาใช้ มาบอก มาเป็นตัวแทนซึ่ง "อ่อนไหว" อันเกิดขึ้นจากจิต จากใจได้ในทุก ๆ วินาที...

การวิจัยทางวิทยาศาสตร์นั้น ผลอาจจะคงอยู่ได้นับแรมเดือน แรมปี ทศวรรษ หรือแม้กระทั่ง "ศตวรรษ"

แต่การวิจัยทางสังคมศาสตร์อันเป็น "ศาสตร์" ที่ว่าด้วยจิตและใจซึ่งสามารถลื่นไหลได้ในทุก ๆ "ลมหายใจ"

การนำสิ่งที่เลื่อนไหลและลื่นไหลนำมาเป็น "หยุด" ให้ "นิ่ง" เป็น "สถิติ" ซึ่งออกมาในรูป "ผลการวิจัย" นั้นจึงทำให้ผู้ที่นำไปใช้ ไปอ้างอิง นั้นต้องหยุดนิ่งและ "ล้าหลัง..."

การวิจัยทางสังคมศาสตร์จึงเป็นศาสตร์แห่งความเปลี่ยนแปลงซึ่งผู้วิจัยจะต้องสำแดงความ "ยืดหยุ่น (Flexibility)"

ต้องลื่นไหลให้เป็นดั่งน้ำที่ "ไหลนิ่ง"

อุดมการณ์ อุมคติต้องนิ่ง โดยความรู้ในชีวิตนี้ต้อง "วิ่ง" ให้ทัน "การณ์..."

การเป็นผู้วิจัยทางสังคมศาสตร์อย่า "เอา" อะไรกับชีวิต แต่ขอให้ "ทุ่มเท" ชีวิตเพื่อ "การวิจัย..."

 

หมายเลขบันทึก: 310699เขียนเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2009 19:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เคยมีนักวิจัยนำงานมาให้ช่วยตัดต่อเป็นวิดีทัศน์ ไม่ได้คิดว่าการทำงานวิจัยสังคมจะทำยาก  เพิ่งจะทราบเนี่ยเอง....ว่าต้องยืดหยุ่นและลื่นไหล.....

เมื่อนักวิจัยคนหนึ่งมาถามเราก่อนกินข้าวว่าหิวไหมเราก็ตอบว่าหิว แต่เมื่ออีกคนหนึ่งมาถามเราหลังกินข้าวใหม่ ๆ แล้วก็ตอบว่า "อิ่ม...?"

เมื่อนักวิจัยคนหนึ่งมาถามเราตอนเช้าว่าเราง่วงนอนไหมเราก็ตอบว่าไม่ง่วง แต่เมื่ออีกคนหนึ่งมาถามเราตอนสี่ทุ่มในคำถามเดิมเรากลับตอบว่า "ง่วง..."

และแล้วคำตอบจากคน ๆ เดียวกัน ก็กลายเป็น "ผลการวิจัย" ของคนสองคน

แต่นั่นก็เถอะ นักสถิติแม้กระทั่งนักวิจัยทั้งหลายก็พยายามที่จะหาสูตรโน้น สูตรนี้ พยายามที่จะหาการสุ่มตัวอย่างจากประชากรแบบนั้น แบบนี้ การกำหนดขนาดประชากรเท่านั้น เท่านี้ การวิเคราะห์โดยสถิติโน้น สถิตินี้ หรือการวิจัยเชิงโน้น เชิงนี้ แล้วนำมาอนุมาน หรืออุปมาน แล้วทดสอบสมมติฐานทางการวิจัย (Hypothesis) ต่าง ๆ นานา

แต่นั่นก็เถอะ วันนี้ วันหน้า หรือวันไหน ๆ ถ้าจิตใจของคนเปลี่ยนได้เร็วแม้น "ช้างกระดิกหู" คำตอบหรือผลการวิจัยทางสังคมศาสตร์ก็มีคุณค่าเทียบเท่ากับเวลาที่ "นกกระพือปีก..."

ลองขยายความหมาย ของคำว่า ยืดหยุ่น และ ลื่นไหล หน่อยครับ

การวิจัยทางสังคมศาสตร์ทำให้เราสามารถ "จับความรู้" ณ วันหรือเวลานั้น

สังคมก็เปรียบเสมือนสายน้ำที่ไหลไปอย่างไม่มีวันจบสิ้น ถ้าหากเราต้องการที่จะรู้จักสภาพของสายน้ำ ณ วันนี้เป็นอย่างไร เราก็ต้องพึ่งพาการวิจัยทางสังคมศาสตร์

ศาสตร์หรือเป็นความรู้ทางสังคมของสังคม จึงต้องเป็นศาสตร์ที่ทันสมัยพร้อมปรุง พร้อมใช้

อันที่จริงความรู้ที่ต้องสดใหม่เช่นนี้ ควรจะหลุดออกนอกกรอบของคำว่า "วิจัย" ไปได้ยิ่งดี

เพราะเมื่อใดที่ตั้งต้นด้วยคำว่าวิจัยแล้ว ดูเหมือนว่าจะนานแสนนานกว่าที่เราจะได้ใช้ซึ่งความรู้นั้น หากใครต่อใครยังติดกรอบการวิจัยเดิม ๆ อยู่ เราก็ต้องรออย่างน้อยแรมปีกว่า คือ ปีหน้าถึงจะได้รู้ว่ากระแสน้ำในวันนี้นั้นเป็นอย่างไร แล้วเราจะเอาความรู้นั้นไปทำไมในเมื่อสายน้ำนั้นก็ได้ไหลไปอย่างไม่ย้อนกลับ...!

ความรู้ที่เกิดจากการวิจัยทางสังคมศาสตร์จัดเป็นความรู้ที่ "จำกัดกาล" ใช้ได้เฉพาะที่ เฉพาะเวลา

เมื่อสังคมนั้นต้องประกอบด้วยสิ่งสองสิ่งเสมอ เมื่อสิ่งใดเปลี่ยนไปความรู้จากการวิจัยนั้นย่อมเปลี่ยนตาม

พลวัตทางสังคมนั้นก็เปรียบเสมือนดุมล้อที่ไม่มีวันหยุดหมุน ซึ่งคุณจะต้องปรุงความรู้เพื่อแข่งขันกับระยะทาง

เมื่อพฤติกรรมคือการกระทำที่เราทำกันตะพึด เราจะสามารถยึดความรู้นั้นได้นานสักเพียงไหน...?

นักวิจัยทางสังคมศาสตร์จึงต้องสังเคราะห์ วิเคราะห์ ความรู้ที่เปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัยที่วิ่งได้ไวโดยไม่ต้องใช้เครื่องยนต์

อย่างน้อยที่สุด ถ้าหากใครตั้งใจจะเป็นนักวิจัยทางสังคมศาสตร์ก็จะต้องมีผลงานวิจัยตีพิมพ์อย่างน้อย "นาทีละ 1 เรื่อง" จะต้องฝึกตั้งสมมติฐาน เก็บข้อมูล สังเคราะห์ วิเคราะห์ สรุปผลเรื่องราวที่ผ่านเข้ามาในทุกย่างก้าวของชีวิต

ทำได้เช่นนี้นักวิจัยศาสตร์ทางสังคมจะรวดเร็ว ว่องไวและไม่ "เฉิ่ม..."

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท