คิดอย่างไร? กับ "การสร้างคลังความรู้"


แนวทางการออกแบบงานที่เราจะทำได้อย่างรวดเร็วและมีความเป็นไปได้ก็คือ การฟังจากผู้อื่นหลาย ๆ คนที่ปฏิบัติในเรื่องเดียวกันแล้วนำมาแลกเปลี่ยนและเล่าสู่กันฟัง หลังจากนั้นเราจึงค่อยสรุปออกมาเป็นงานที่เราจะปฏิบัติ

   เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2549 ดิฉันได้มีโอกาสเข้าร่วมฟังการประชมุภาคีจัดการความรู้ครั้งที่ 3 ซึ่งกรมส่งเสริมการเกษตรเป็นเจ้าภาพ และมี สคส. เป็นผู้ดำเนินการ 

   จากการฟังตัวอย่างหน่วยงานต่าง ๆ นำเสนองาน "คลังความรู้" จึงทำให้เกิดความสนใจ เลยลองสรุปความรู้เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวได้ว่า "การสร้างคลังความรู้" นั้นมีวิธีการและรูปแบบที่คล้ายและและแตกต่างกัน  แต่มีจุดร่วมที่เป็นเป้าหมายเดียวกัน คือ 1) ต้องการเก็บรวบรวม ประมวลความรู้ที่บุคคลากรแต่ละคน กลุ่ม และองค์กร มีอยู่มาไว้ ณ จุดศูนย์กลางเดียวกัน  2)  คลังความรู้ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้สนับสนุนการปฏิบัติงานของบุคลากรและองค์กรของตนเอง  3) คลังความรู้นำไปสู่การประยุกต์ใช้งานภายในและระหว่างคน กลุ่ม และองค์กร เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  และ 4) คลังความรู้เป็นแหล่งของการเผยแพร่และกระจายความรู้ออกสู่สากลได้

   การสร้างคลังความรู้จึงเกิดขึ้นได้หลายช่องทาง คือ 1) ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ เช่น Internet  Intranet  SSNET  Web Site  E-mail  Blog  และ CD เป็นต้น  2)  ผ่านระบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เช่น Power Point  Microsoft Word  Microsoft Excell และ File ต่าง ๆ เป็นต้น  3)  ผ่านระบบห้องสมุด  เป็นเอกสาร ตำรา และสื่อต่าง ๆ เป็นต้น

   นอกจากนี้ ได้มีการยกตัวอย่าง "กระบวนการสร้างคลังความรู้" ซึ่งประมวลสรุปได้ว่า

     ขั้นที่ 1 กำหนดเป้าหมาย ของการสร้างคลังความรู้นั้น "เพื่ออะไร? และใช้ทำอะไรได้บ้าง?"

     ขั้นที่ 2 บทบาทหน้าที่และภารกิจขององค์กรเรานั้นคืออะไร "เพื่อสรุปให้ได้ว่า...ตกลงแล้ว ความรู้ที่จะจัดเก็บและรวบรวมนั้นมีอะไรบ้าง?"

     ขั้นที่ 3  สืบเสาะหาความรู้ "เพื่อกำหนดให้ได้ว่า...ความรู้ในแต่ละเรื่องนั้นมีอยู่ที่ไหนบ้าง? และมีอยู่กับใครบ้าง?" ที่สามารถให้ความรู้ได้

     ขั้นที่ 4  ออกแบบคลังความรู้ "เพื่อกำหนดช่องทางการเก็บรวบรวม  การเข้าถึง  การนำไปใช้  การแลกเปลี่ยน  และการนำกลับคืน"

     ขั้นที่ 5  สร้างและจัดระบบฐานความรู้ "เพื่อให้เห็นรูปร่างหน้าตา ความสะดวกต่อผู้ใช้  และการปฏิบัติงานของผู้ที่เกี่ยวข้อง"

     ขั้นที่ 6  สกัดและถอดความรู้ที่มีอยู่ "เพื่อให้เห็นความเป็นตัวตนและการดำรงถึงสังคมที่เราอยู่" โดยการสอบถามผู้ใช้และกลุ่มเป้าหมาย "เขาต้องการใช้ความรู้อะไรบ้าง?"

     ขั้นที่ 7  เผยแพร่และกระจายความรู้ "เพื่อตอบสนองความต้องการของบุคลากรในองค์กรของสังคมเราเองได้อย่างถูกต้องและตรงเป้าหมาย" แล้วค่อยเชื่อมโยงองค์ความรู้ขององค์กรสู่สังคมภายนอก

   ซึ่งกระบวนการงานดังกล่าว ดิฉันได้เก็บรวบรวมและประมวลผลจากการนำเสนอ หลังจากนั้นได้ทดลองประยุกต์เป็น 7 ขั้นตอน  ส่วนผลการปฏิบัติเป็นอย่างไรนั้นคงจะต้องไปทดลองทำดู 

   ส่วนขององค์กรเรานั้น มีสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจคือ  การสร้างคลังความรู้ "เทคนิคในงานส่งเสริมการเกษตร" ที่มาจากแฟ้มสะสมงาน "ประสบการณ์ในงานส่งเสริมการเกษตร" ซึ่งเป็นทุนเดิมของนักส่งเสริมที่สั่งสมและมีอยู่แล้วทุกคน  แต่จะมีใครละ...ที่เป็นผู้กล้าและปักธงดังกล่าว.

                                                ศิริวรรณ  หวังดี

                                            16 พฤษภาคม 2549

หมายเลขบันทึก: 31018เขียนเมื่อ 26 พฤษภาคม 2006 12:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 15:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท