ตอนที่ ๓ การฟันฝ่า อุปสรรค อุตสาหกรรมการบิน ปี ๒๕๕๒


การฟันฝ่า อุปสรรค สายการบิน อุตสาหกรรมการบิน

ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่าการที่สายการบินจะสามารถฝ่าฟันวิกฤตที่เกิดขึ้นนี้ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านราคาหรือบริการเท่านั้น แต่ยังขึ้นอยู่กับอีกหลายปัจจัย อาทิ

 สถานะทางการเงิน ซึ่งครอบคลุมถึงขนาดของกิจการ โอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ความสามารถในการชำระหนี้ ศักยภาพในการลงทุน ความสามารถในการแบกรับภาวะขาดทุน และอื่นๆ

 เส้นทางการบิน โดยหากมีเส้นทางการบินไปยังตลาดที่ยังมีกำลังซื้ออยู่ในภาวะที่เศรษฐกิจโลก ชะลอตัวเช่นนี้ก็อาจยังมีโอกาสในธุรกิจอยู่ แต่หากเส้นทางการบินอยู่ในตลาดที่ไม่มีกำลังซื้อ แม้จะปรับลดราคาตั๋วโดยสารให้ต่ำลงก็ยากที่จะรักษาจำนวนผู้โดยสารเอาไว้ได้

  ประสิทธิภาพในการบริหารต้นทุน โดยสายการบินต้องพยายามลดต้นทุนให้ต่ำลงขณะเดียวกันก็ต้องสามารถรักษามาตรฐานการให้บริการไว้ได้

  ชื่อเสียงและการยอมรับ (Brand Royalty) โดยเฉพาะในด้านความปลอดภัย คุณภาพในการให้บริการ ตลอดจนมาตรฐานในการรักษาเวลาในการเดินทาง

รวมทั้งปัจจัยอื่นๆ อีกมาก นอกจากนี้ คาดว่าวิกฤตที่เกิดขึ้นจะทำให้สายการบินเร่งดำเนินการปรับตัวในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการบริหารภายในที่อาจจะมีการปรับลดพนักงานเพื่อลดต้นทุน การปรับเปลี่ยนเส้นทางการบินและจำนวนเที่ยวบินให้สอดคล้องกับความต้องการของ ตลาดมากขึ้น โดยอาจมีการเพิ่มเส้นทางบินตรงไปยังเมืองธุรกิจและท่องเที่ยวที่สำคัญมาก ขึ้นทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งอาจยกเลิกเส้นทางที่ไม่ทำกำไร การบริหารต้นทุนน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการร่วมมือเป็นพันธมิตรทางธุรกิจระหว่างสายการบินต่างๆ เพื่อช่วยขยายตลาดและเส้นทางการบินให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น

 มาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวจากภาครัฐ ... ยังเป็นเพียงผลทางอ้อม

หลังจากล่าสุดรัฐบาลได้มีการออกมาตรการกระตุ้นภาคการท่องเที่ยวออกมาหลายชุด ได้แก่

 การลดค่าธรรมเนียมการขึ้นลง (Landing Fee) และค่าธรรมเนียมที่เก็บอากาศยาน (Parking Fee) โดยท่าอากาศยานของกรมการขนส่งทางอากาศปรับลดลงร้อยละ 50 ทั้งเที่ยวบินแบบประจำและแบบเช่าเหมาลำ ส่วนท่าอากาศยานของ บมจ. ท่าอากาศยานไทย ปรับลดลงร้อยละ 20 สำหรับเที่ยวบินประจำ และร้อยละ 50 สำหรับเที่ยวบินแบบเช่าเหมาลำ

 การยกเว้นค่าธรรมเนียมวีซ่าสำหรับนักท่องเที่ยวต่างประเทศเป็นเวลา 3 เดือน

 การลดค่าธรรมเนียมการเข้าชมอุทยานแห่งชาติร้อยละ 50 เป็นเวลา 3 เดือน

 การชะลอเก็บค่าธรรมเนียมเข้าพักห้องละ 80 บาท

 การลดค่าประกันการใช้ไฟฟ้าสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมมาเป็น 1.25 เท่าของเดือน

 การอนุญาตให้บริษัทเอกชนสามารถนำค่าห้องพักและห้องสัมมนาภายในประเทศมาหักลดภาษีได้ 2 เท่าของรายจ่ายจริง

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า มาตรการกระตุ้นภาค     การท่องเที่ยวของรัฐบาลเป็นมาตรการที่จะส่งผลดีต่อ อุตสาหกรรมการบิน แต่อาจเป็นเพียงผลทางอ้อม โดยอาจช่วยเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดการเดินทางมากขึ้น โดยเฉพาะมาตรการลดค่าธรรมเนียมขึ้นลงและที่เก็บอากาศยานอาจทำให้สายการบินมี ต้นทุนดำเนินการต่ำลง ซึ่งจะช่วยให้สายการบินมีความสามารถที่จะปรับลดราคาตั๋วโดยสารลงได้ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่รัฐบาลควรเร่งดำเนินการคือการสร้างความเชื่อมั่นและทำการตลาดด้านการ ท่องเที่ยวให้มากขึ้น โดยในส่วนของการสร้างความเชื่อมั่นนั้นรัฐบาลต้องเสริมสร้างบรรยากาศทาง เศรษฐกิจและการท่องเที่ยวในกลับมาคึกคักอีกครั้ง ขณะที่การทำตลาดด้านการท่องเที่ยวรัฐบาลอาจใช้การเดินสายโรดโชว์ควบคู่กับทำ การตลาดในประเทศที่เป็นเป้าหมายสำคัญและยังมีกำลังซื้ออยู่ รวมทั้งออกแคมเปญกระตุ้นการท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ เช่น แคมเปญไทยเที่ยวไทย การจัดอีเวนท์ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว การดึงงานประชุมสัมมนาระดับโลกให้เข้ามาจัดในไทย ซึ่งจะช่วยกระตุ้นกลุ่ม MICE (Meeting Incentive Convention and Exhibition) ที่เป็นกลุ่มที่คาดว่ายังมีกำลังซื้ออยู่ เป็นต้น โดยการทำการตลาดนี้จะต้องดำเนินการบนพื้นฐานของความมีประสิทธิภาพและมีเป้า หมายชัดเจน ท่ามกลางภาวะที่งบประมาณของรัฐบาลมีจำกัด นอกจากนี้ แนวทางที่จะกำหนดให้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเป็นท่าอากาศยานเดี่ยว (Single Airport) ก็ควรพิจารณาอย่างรอบคอบ บนพื้นฐานของผลประโยชน์สูงสุดของประเทศและเป้าหมายการเป็นศูนย์กลางการบินใน ภูมิภาค ซึ่งหากรัฐบาลเลือก   แนวทางดังกล่าวก็ควรเร่งดำเนินการขยายการก่อสร้างท่า อากาศยานสุวรรณภูมิในระยะที่ 2 ควบคู่กันไปด้วย เพื่อขยายขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารให้เพิ่มขึ้นทันกับ   การเติบโตของ จำนวนผู้โดยสารในอนาคต โดยจะต้องพิจารณาความเหมาะสมของการลงทุนเพื่อไม่ให้เป็นภาระ  ทางด้านการคลัง ของรัฐบาลในระยะยาวด้วย อีกทั้งรัฐบาลควรกำหนดแผนแม่บทระยะยาว (Master Plan) ในการวางบทบาทและยุทธศาสตร์

 

หมายเลขบันทึก: 310152เขียนเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2009 15:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 16:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีค่ะ มาศึกษาเรื่องการบินค่ะ  เคยบินครั้งนึงค่ะไปบรูไน  สนุกมากค่ะ..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท