ทำอย่างไรให้ธุรกิจ SME สนใจ CSR ตอนที่ ๑


บทความนี้ผมส่งไป http://www.ngobiz.org/ ซึ่งได้ย่อทำเป็น ๒ ตอน ตอนนี้เป็นตอนแรก

ธุรกิจส่วนหนึ่งเห็นว่า CSR คือโอกาส แต่ธุรกิจอีกส่วนหนึ่งเห็นว่า CSR คืออุปสรรค ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ทั้งๆ ผลการศึกษาของ ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ พบว่ามีแรงผลักดันทั้งจากภายในและภายนอกที่กดดันให้ธุรกิจในเมืองไทยจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับ CSR และปัจจุบันกลุ่มทุนส่วนใหญ่ก็หันมาให้ความสำคัญกับ CSR อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ธุรกิจ SME ก็เช่นกัน ธุรกิจ SME จะปฏิเสธไม่ได้ว่าแรงกดดันที่กลุ่มทุนได้รับนั้น ธุรกิจ SME จะไม่ได้รับ นั่นเพราะตลาดของ SME และกลุ่มทุน มีผู้บริโภคที่รับสื่อและรับสารเหมือนๆ กัน นั่นหมายถึงการอยู่ในโลกใบเล็กๆ ที่มีความเชื่อมโยงและมีทิศทางไปในทางเดียวกัน ทั้งในประเทศและนานาประเทศ ในปี ค.ศ.1999 องค์การสหประชาชาติได้ประกาศข้อตกลงเกี่ยวกับความสำคัญในความเป็นบรรษัทพลเมือง (Corporate Citizen) ของบรรดากิจการต่างๆ ซึ่งนั้นเป็นแนวคิดภาคปฏิบัติที่ชัดเจนที่สุดของการทำ CSR

 

09exn767

 

           อีกทั้งถ้าหากเรามองไปยังอนาคต อนาคตที่องค์การการค้าโลก( WTO) พยายามจะผลักดันให้แต่ละประเทศลดการกีดกันทางด้านภาษี ซึ่งนั่นปฏิเสธไม่ได้ว่าประเทศไทยในฐานะของสมาชิกองค์การการค้าโลกก็จะต้องลดการกีดกันทางด้านภาษี แล้วก็จะมีกลุ่มทุนข้ามชาติเข้ามาตีตลาดซึ่งก็จะมาลดส่วนแบ่งทางการตลาดของ SME แน่นอนว่าประเทศต่างๆ ในโลกก็ต้องลดมาตราการทางด้านภาษี แต่ในขณะเดียวกัน ก็จะเกิดกติกาใหม่ขึ้นมากีดกัน หนึ่งในนั้นก็คือ CSR ธุรกิจของคุณต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม คุณต้องไม่ใช้แรงงานเด็ก ธุรกิจคุณต้องไม่ไปมีส่วนร่วมกับองค์กรหรือกิจกรรมของภาครัฐใดใดที่เข้าข่ายละเมิดสิทธิมนุษยชน

 

27sfo833

 

         SME หลายๆ แห่งอาจกล่าวว่า ผมไม่เกี่ยว ธุรกิจผมไม่ได้เกี่ยวข้องกับตลาดต่างปรเทศ แต่ถ้าหากเรามองไปให้ทั่ว ธุรกิจ SME บางแห่งไม่ใช่กิจการเล็กๆ หากเราพิจารณาตามลักษณะของวิสาหกิจซึ่ง SME บางประเภทสามารถมีมูลค่าทรัพย์สินถาวรได้ถึง 200 ล้านบาท แล้วก็มีหลายแห่งที่ต้องพึ่งพาการส่งออก มองกลับมาที่ SME ที่ค้าขายภายในประเทศ แน่นอนครับ ตลาดเดียวกับกลุ่มทุนใหญ่ๆ ในเมืองไทย ตลาดเดียวกับกลุ่มทุนข้ามชาติที่เข้ามาตีตลาด แล้วทุกวันนี้กลุ่มทุนใหญ่ๆ ใช้ CSR เป็นกลยุทธ์ในการสร้าง Brand Positioning ในลักษณะสินค้าเพื่อสังคม สร้างความภูมิใจเพื่อให้เกิดความภักดีในผลิตภัณฑ์กับลูกค้าว่า ถ้าคุณซื้อเสื้อของ ARROW นะ เราจะนำเงินส่วนหนึ่งไปช่วยเหลือช้าง ซื้อสินค้า REDBULL นะ เงินกำไรส่วนหนึ่งจะไปอยู่ในโครงการ REDBULL SPIRIT แล้วคุณก็มีส่วนร่วมสามารถเข้ามาเป็นอาสาสมัครได้

 

028 

 

          โลกได้ประโยชน์ องค์กรก็ดูดี ประชาชนก็ชอบ สินค้าก็ขายได้ หุ้นก็ราคาขึ้น นี่ยังไม่นับการทุ่มตลาดและยุทธวิธีอื่นๆ ที่กลุ่มทุนใช้เพื่อความเป็นอันดับหนึ่ง แล้ว SME คุณกำลังทำอะไรใน Red Ocean หาก SME ปฏิเสธ CSR ก็ต้องทำความเข้าใจใหม่ว่าสถานการณ์ปัจจุบันนี้ CSR ไม่ใช่เรื่องของอาสาสมัครอีกแล้ว แต่เป็นเรื่องของหน้าที่ ทั้งหน้าที่ความรับผิดชอบต่อสังคมและความอยู่รอดของธุรกิจ กลุ่มทุนใหญ่ๆ ในวงจร Red Ocean เค้าไม่มาสนใจ CSR หรอกครับ หากแนวโน้มผู้บริโภคไม่ได้ให้ความสำคัญกับการซื้อสินค้าและบริการกับองค์กรที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม

 

""""""

โปรดติดตามในตอนต่อไป http://gotoknow.org/blog/beever/309923

หมายเลขบันทึก: 309846เขียนเมื่อ 31 ตุลาคม 2009 08:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

กล้วยหอมคือทางรอดของมนุษยชาติ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท