แลกเปลี่ยนเรียนรู้รังสีเทคนิค 3 สถาบัน


ฝึกงานไปแล้วได้อะไร ได้ตามวัตถุประสงค์ ได้มากกว่า ได้น้อยกว่า ได้เรียนรู้ ได้เห็นอะไร นำมาเล่า นำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

สวัสดีครับ

วันนี้ผมขอนำเสนอภาพจากกิจกรรมที่ทางภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้เชิญนักศึกษาที่มาฝึกงานในภาควิชา ประกอบด้วย

นักศึกษารังสีเทคนิค คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทบาลัยเชียงใหม่

นักศึกษารังสีเทคนิค คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

นักศึกษารังสีเทคนิค (ต่อเนื่อง) คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  

 

โดยจัดให้นักศึกษาส่งตัวแทนมาเล่าประสบการณ์ มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องการฝึกงานของตนเอง ว่าได้เรียนรู้ ได้พบเห็นอะไร ได้เรียนรู้ตามที่หลักสูตรกำหนด หรือได้มากว่า หรือได้น้อยกว่า ได้พบเห็นอะไรที่ดีๆ ได้พบเห็นอะไรที่ไม่ดี ร่วมกับคณาจารย์ นักฟิสิกส์ นักรังสีเทคนิค เพื่อให้ผู้ร่วมเข้าแลกเปลี่ยนในห้องได้รับทราบ

 

 

 

ในภาพรวมนักศึกษาได้เล่าถึงเรียนที่ได้พบเห็นการปฏิบัติงานตั้งแต่ การต้อนรับผู้ป่วย การให้คำแนะนำและดูแลผู้ป่วยก่อนตรวจ ระหว่างตอน และหลังการตรวจ ขั้นตอน วิธีการ เทคนิค การใช้เครื่องมือตรวจต่างๆ ที่ได้ประโยชน์ เพราะการได้เห็นการตรวจจริง ช่วยเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจ จากที่เรียนผ่านมามากขึ้น

 

 

คณาจารย์ก็ได้เพิ่มเติมถึงการฝึกงาน เมื่อเข้าไปในห้องตรวจ การซักถาม การสังเกต การจดบันทึก การมีมารยาท นอบน้อม การทำงานตามมาตรฐานวิชาชีพ การทำงานร่วมกับทีมงานคุณภาพแบบสหสาขาวิชาชีพ มีความสำคัญ เพราะสิ่งเหล่านี้เกี่ยวข้องการชีวิต มีความเสี่ยง มีเลือดเนื้อ มีจิตใจ

 

การฝึกงาน นักศึกษาต้องค่อยๆเรียนรู้ ตามลำดับ ดูภาพรวม และค่อยๆลงลึกตามความสนใจ ซึ่ง รศ.นพ.จิตเจริญ ไชยาคำ ได้กล่าวเปรียบเทียบไว้ว่า ให้เดินที่ละก้าว กินข้าวที่ละคำ นอกจากนั้น การทำเป็น ทำได้ ยังไม่พอ ต้องมีทัศนคติที่ดีในการทำงาน รักวิชาชีพ รู้จักการให้การบริการด้วยจิตใจในความเป็นมนุษย์  

 

และปิดท้ายด้วยการสรุปของผมได้แสดงตัวอย่างภาพการตรวจจากห้องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เพื่อให้นักศึกษาคิดตามว่า ภาพที่เห็นมีการเลือกปรับ Window Width and Window Level ด้วยแบบใด? ใช้เทคนิคเกี่ยวข้องอะไรบ้าง? การป้องกันอันตรายจากรังสีที่ควรคำนึง เพราะนักรังสีเทคนิค เป็นคนที่ให้รังสี ควบคุมรังสีและสร้างภาพเหล่านี้ขึ้นมา การเลือกใช้ให้เหมาะสม ถูกต้อง เป็นเรื่องหนึ่งที่ต้องให้ความสำคัญ

 

 

ซึ่งในครั้งต่อไปจะผลัดเปลี่ยนให้นักศึกษานำภาพที่ได้จากการตรวจมาเล่าสู่กันฟังต่อไป... โปรดติดตาม ครับ

หมายเลขบันทึก: 309703เขียนเมื่อ 30 ตุลาคม 2009 15:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ตอนท้ายๆ ภาพสองภาพนี้น่าสนใจจังค่ะอาจารย์

น่าจะเป็นการฝึกการคิดวิเคราะห์และตระหนักถึงอันตรายของรังสีได้อย่างดีมากค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ  มาเรียนรู้ค่ะ

 

เรียน คุณครูอรวรรณ

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยม มาเรียนรู้ครับ

ภาพท้าย เป็นภาพบริเวณทรวงอก ที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ ปรับเปลี่ยนสเกลความขาว เทา ดำของภาพ ทำให้เห็นเนื้อเยื่อที่มีความหนาแน่นแตกต่างกัน ครับ

สวัสดีค่ะ

- เป็นการเรียนรู้ที่สอดแทรกเรื่อง การมีมารยาท นอบน้อม

- เดิมเรามักไม่ค่อยใส่ใจเรื่องความเป็นมนุษย์สักเท่าไหร่

- ขอบคุณค่ะ

เรียน ท่านอาจารย์ ครับ

ได้เรียนรู้ เห็นคนละด้าน คิดคนละมุม

ได้มากกว่าที่ตนเห็น และ ได้รู้มากกว่าที่ตนคิด

ขอบพระคุณมากครับ จะพยายามทำมากเท่าที่จะเรียนรู้ได้ ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท