บันทึกความผิดพลาด : ๔. เอาสมบัติระยะยาวไปแลกสมบัติระยะสั้น


          ข่าว วีโอเอ ภาคภาษาไทย วันที่ ๗ ต.ค. ๕๒   นายอลงกรณ์ พลบุตร รมช. พาณิชย์ ไปเจรจากับผู้แทนการค้าสหรัฐอเมริกา เรื่องการดำเนินการด้านทรัพย์สินทางปัญญา    ระบุว่าไทยเรามีความก้าวหน้าขึ้นมาก วัดจากการจับกุมสินค้าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา    และเป้าหมายของการเจรจา คือเพื่อรักษา GSP มูลค่าปีละ ๓,๕๐๐ ล้านดอลล่าร์    ทำให้ผมเขียนบันทึกนี้  

          เพราะแสดงว่า ผู้บริหารประเทศมองเรื่องการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา   เพื่อเอาใจต่างชาติเท่านั้น    ซึ่งเป็นการมองผลประโยชน์ระยะสั้น    เราไม่ได้มองคุณค่าของทรัพย์สินทางปัญญาในฐานะผลประโยชน์ระยะยาวของประเทศ    คือใช้เป็นแรงขับดัน creative economy

          ไม่ทราบว่า ท่าน รมช. ตระหนักหรือไม่    ว่าที่ไปเจรจากับเขานั้น ผลประโยชน์ของไทยอยู่ที่ non-creative products เป็นส่วนใหญ่   

          หากจะให้ประเทศไทยมีความเข้มแข็งด้านระบบทรัพย์สินทางปัญญาจริงๆ   เพื่อเป็นกลไกหนุน creative economy ที่ creativity อยู่ในแผ่นดินไทย    ไม่ใช่เราเป็นแค่ proxy ของต่างประเทศ อย่างระบบอุตสาหกรรมไทยที่เป็นอยู่   เราต้องออกแบบระบบการจัดการ ทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศเสียใหม่

          ต้องให้บทบาทของการทรวงพาณิชย์เป็นเพียง ๑/๓ ของระบบ    เพราะนั่นคือระบบสนองต่างประเทศ ๘๐%   สนองในประเทศเพียง ๒๐% หรือน้อยกว่า    เราต้องมีระบบสนองในประเทศซึ่งน่าจะดูแลโดยกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ    กระทรวงเกษตร    กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ   กระทรวงสาธารณสุข  ศาลยุติธรรม  และอื่นๆ 

          เราต้องมาช่วยกันตั้งคำถามว่า    ระบบทรัพย์สินทางปัญญาของไทยควรเป็นอย่างไร    เป็นระบบที่ตอบสนองผลประโยชน์อะไรบ้างของชาติ    และจะต้องมีระบบการจัดการอย่างไร    มีการพัฒนาในระยะยาวอย่างไร 

          เราต้องมาช่วยกันออกแบบระบบจัดการทรัพย์สินทางปัญญาของชาติ ที่เป็นระบบที่ซับซ้อนและปรับตัว    เป็นระบบที่เรียนรู้    และมีความร่วมมือกันหลายฝ่าย

          สวทน. น่าจะเป็นเจ้าภาพ จัดให้มีการวิจัยเพื่อพัฒนาระบบ ทรัพย์สินทางปัญญาแห่งชาติ       

          ผมเคยบันทึกเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาไว้ที่นี่
 
วิจารณ์ พานิช
๗ ต.ค. ๕๒
                     
          
หมายเลขบันทึก: 309600เขียนเมื่อ 30 ตุลาคม 2009 08:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 14:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท