ประกาย~natachoei ที่~natadee
นาง ประกาย ประกาย~natachoei ที่~natadee พิทักษ์

พบลวดในเม็ดยาพาราเซตามอล


        อ่านข่าวเรื่องเจอลวดในบยาพาราเซต (Paracetamal)  มาหลายวันและติดตามข้อเท็จจริง ว่าเกิดจากสาเหตุอะไร เป็นจริงไหม วันนี้ได้รับข่าวแจ้งเตือและชี้แจง ข่าวดังกล่าว ลองอ่านและพิจารณาดูนะคะว่าท่านมียาพาราเชต Lot no.นี้หรือเปล่านะคะ

สธ.สั่งระงับผลิต “พาราเซตามอล” อย.เร่งตรวจยาล็อตเจอลวด 1.2 ล้านเม็ด
       “วิทยา” บุกตรวจโรงงานผลิตยา “พาราเซตามอล” สั่งระงับผลิต ให้ อย.ตรวจสอบยา 1.2 ล้านเม็ด พร้อมตรวจกระบวนการผลิต เครื่องมืออุปกรณ์ จนกว่าจะมีสภาพพร้อมใช้งาน คาดลวดแปลกปลอมมาจาก “แร่ง” กรองเนื้อยาก่อนผสมตอกเม็ด เครื่องตรวจจับโลหะตั้งทำงานเร็วไป ยาล้นเลยตรวจไม่เจอ ชี้ อภ.ต้องรับผิดชอบความเสียหายต่อผู้บริโภค ส่วนจะฟ้องโรงงานผลิตฐาน ฐานทำเสียชื่อหรือไม่ต้องพิจารณา
       
       วันที่ 26 ตุลาคม นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) นพ.วิทิต อรรถเวชกุล ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม (อภ.) ได้เดินทางไปยัง อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี เพื่อตรวจสอบบริษัท โอสถอินเตอร์ แลบอลาตอรี่ จำกัด อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ซึ่งเป็นผู้ผลิตยาดังกล่าวให้กับ อภ.เพื่อตรวจสอบกรณีพบเส้นลวดในยาพาราเซตามอลของ อภ.ที่ จ.แพร่ ว่า อภ.ได้จ้างบริษัทเอกชนเป็นผู้ผลิต ขณะนี้ได้สั่งระงับการผลิตทั้งหมดแล้ว ซึ่งยาล็อตดังกล่าวเป็นยาที่ผลิตในเดือน ก.ค.พร้อมได้ตรวจสอบยาล็อตเดียวกันทั้งประเทศให้ยุติการจำหน่าย และได้สั่งการให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ไปตรวจสอบโรงงานที่รับจ้างผลิตจากองค์การเภสัชกรรม เพราะโรงงานที่รับจ้างผลิตเป็นโรงงานที่ได้รับมาตรฐานคุณภาพ หากมาตรฐานคุณภาพไม่สามารถเป็นไปตามที่รับรองไว้ อย.ก็จำเป็นต้องเพิกถอนใบอนุญาต และจะให้ อภ.ไปรับผิดชอบผู้ป่วยทั้งหมด ในกรณีที่เกิดความเสียหายขึ้น
       
       “อย.จะต้องเข้าไปตรวจสอบโรงงานที่ได้รับอนุญาตถี่ขึ้น และขอให้ อภ.ตรวจมาตรฐานของสินค้าก่อนที่จะออกจำหน่ายให้ประชาชน สำหรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ ขอให้ อภ.ในฐานะผู้จำหน่ายและผู้ผลิต รับผิดชอบอย่างเต็มที่และยาที่ผลิตจากโรงงานดังกล่าวต้องเรียกกลับคืนทั้งหมด ทั้งนี้ ล็อตการผลิตเดียวกันที่พบปัญหานี้ มีทั้งสิ้น 4 ล็อต ล็อตละ 3 แสนเม็ด รวม 1.2 ล้านเม็ด โดยได้สั่งการให้ทั่วประเทศมีการเก็บยาล็อตดังกล่าวออกจากชั้นวางยาทั่วประเทศแล้วตั้งแต่วันที่ 26 ต.ค.แล้ว เนื่องจากเป็นยาที่ด้อยคุณภาพ อาจทำให้เกิดความเสียหายต่อสุขภาพประชาชน”นายวิทยา กล่าว
       
       นายวิทยา กล่าวต่อว่า จากกข้อสันนิษฐานมีความเป็นไปได้ว่า เล้นลวดที่อยู่ในยาพาราเซตามอลเป็นวัสดุที่มาจากแร่งยา ที่มีลักษณะคล้ายกับตะแกรงกรองเนื้อยาก่อนนำมาผสมและตอกอัดเป็นเม็ด ซึ่งกระบวรการต่อจากนี้จะมีเครื่องจับโลหะ เพื่อแยกเม็ดยาที่มีโลหะ หรือสิ่งแปลกปลอมออก แต่สาเหตุที่ยาดังกล่าวไม่ถูกคัดออก อาจเนื่องจากมีการตั้งเครื่องที่เร็วเกินไป จึงทำให้ยาล้น เครื่องไม่สามารถคัดยาดังกล่าวออกได้ทัน
       
       นายวิทยา กล่าวต่อว่า ได้สั่งการให้ อย.ตรวจสอบรายละเอียด ว่า ลวดที่พบในเม็ดยาเป็นแร่งยาตามที่สันนิษฐานหรือไม่ โดยให้ส่งหลักฐานตรวจพิสูจน์ให้ชัดเจน โดยคาดว่าจะทราบผลภายใน 2-3 วันนี้ อย่างไรก็ตาม เบื้องต้น อภ.ต้องรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นกับผู้บริโภคก่อน เพราะเป็นหน่วยงานราชการ และเป็นหน่วยงานที่ซื้อยาจากบริษัทดังกล่าวมาขายต่ออีกทอดหนึ่ง ส่วน อภ.ที่ได้รับความเสียหายชื่อเสียง จะเรียกร้องกับบริษัทนี้หรือไม่ต้องพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง ขณะเดียวกัน ได้มอบหมายให้ อย.ตรวจสอบเรื่องคุณภาพการผลิต พร้อมทั้งเครื่องมืออุปกรณ์ให้มีสภาพที่ดีมีความพร้อม และให้ระงับการผลิตไปก่อนจนกว่าแก้ไขปรับปรุง
       
       ภก.วินิต อัศวกิจวีรี ผู้อำนวยการกองควบคุมยา อย.กล่าวว่า ได้รับทราบจากรายงานของบริษัทผู้ผลิต ว่า มีรายงานว่าพบวัสดุจากแร่งตะแกรงยาเข้ามาบ้างแต่ไม่พบบ่อย ซึ่งข้อผิดพลาดดังกล่าวอาจเนื่องมาจากอุปกรณ์ในการผลิตยา อย่างแร่งที่เดิมอาจออกแบบมาเพื่อให้ใช้งานได้อายุยาวผลิตยาได้ถึง 3 ล็อต แต่เมื่อใช้เป็นระยะเวลานานๆ อาจทำให้เครื่องมือประสิทธิภาพการทำงานลดลงเกิดการผุกร่อน ทำให้มีชิ้นส่วนหลุดรอดปลอมปนมาได้ประกอบกับเครื่องตรวจโลหะอาจมีประสิทธิภาพในการตรวจจับความไวได้น้อย ซึ่งการกำหนดมาตรฐานการผลิตต่อไปอาจต้องมีการนำยาทุกรุ่นมาตรวจสอบมาตรฐานให้เกิดความรอบคอบมากยิ่งขึ้น
       
       ด้านนพ.วิทิต อรรถเวชกุล ผอ.องค์การเภสัชกรรม กล่าวว่า ยืนยันว่า ยาทุกแห่งที่อภ.จ้างให้ผลิตทุกแห่งเป็นยาที่ผลิตได้มาตรฐานการผลิตที่ดี (จีเอ็มพี) จาก อย.แต่ในส่วนของยาพาราเซตามอลนั้น การจะสร้างความเชื่อมั่นคุณภาพยาของ อภ.ให้กลับคืนมาจะต้องมีการเก็บยาทั้งหมดมาตรวจสอบ และหลังจากที่ อย.ไปตรวจสอบมาตรฐานทั้งหมดแล้ว จะส่งเจ้าหน้าที่ในการตรวจสอบคุณภาพสินค้ามาร่วมตรวจสอบกับบริษัทผู้ผลิตด้วย ซึ่งเป็นการร่วมมือในการทำงาน ไม่ใช่การจับผิด ทั้งนี้ จากการที่ได้รับทราบข้อมูลอาจต้องมีการปรับความเร็วของเครื่องให้มีความพอเหมาะกับความสามารถในการตรวจจับโลหะ เพื่อให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
       
       “ส่วนประเด็นเรื่องการเรียกร้องค่าเสียหายจากบริษัทผู้ผลิต จะต้องรอเก็บยาพาราเซตามอลล็อตดังกล่าวทั้งหมดออกจากท้องตลาด ว่า ได้เก็บคืนจำนวนเท่าใด รวมถึงชื่อเสียงของ อภ.จึงจะคำนวณความเสียหายทั้งหมดที่เกิดขึ้นได้ ทั้งนี้ อภ.ได้จ้างบริษัทดังกล่าวผลิตมาแล้ว 3 ปีแล้ว ซึ่งในอนาคตจะย้ายฐานการผลิตจากบริษัทดังกล่าวไปยังโรงงานของ อภ.ที่กำลังสร้างอยู่ที่ จ.ปทุมธานี”นพ.วิทิต กล่าว

ขอบคุณข้อมูลจากงานระบาดวิทยา สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดขอนแก่น
Epidemiology Section,
Khon Kaen Provincial Health Office,
A. Muang, Khon Kaen province,
THAILAND
40000

หมายเลขบันทึก: 309251เขียนเมื่อ 28 ตุลาคม 2009 17:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 มีนาคม 2012 15:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

สวัสดีค่ะป้าไก่

หนูก็ดูจากข่าวโทรทัศน์ค่ะ  แต่คุณครูคิมบอกว่าอย่าไปปักใจเชื่อข่าวแบบนี้

ขอขอบพระคุณป้าไก่ค่ะ

 1.

P
น้องนัท
เมื่อ พ. 28 ต.ค. 2552 @ 18:20
#1639501 [ ลบ ]

สวัสดีคะน้องนัท

ต้องอ่านอย่างวิเคราะห์ และต้องติดตามข่าวนะคะ องค์การเภสัชกรรม จะไม่ปล่อยให้เกิดปัญหา และต้องมีการตรวจสอบคุณภาพให้เกิดความเชื่อมั่นคะ น้องนัท

  • เป็นตัวอย่างเรื่องหนึ่ง
  • ของการที่มัวแต่ไปดูแล(เกื้อหนุนกิจการ)คนอื่น
  • ซะจนลืมดูแล(ตรวจทานคุณภาพ)ตัวเอง
  • .........
  • แล้วยังเป็นตัวอย่างชีวิตของคนทำมาค้าขายด้วยค่ะ
  • ทำยังไงจึงจะเข้าถึงบริการที่ดีได้สะดวกและลงตัวกับอาชีพ
  • .........
  • อ้าววววววววว....พาออกไปเรื่องอะไรแล้วนี่...อิอิ
  • นอนหลับฝันดีเน้อ

.

P
หมอเจ๊ คนสวย แซ่เฮ
เมื่อ ส. 31 ต.ค. 2552 @ 22:25

สวัสดีคะพี่หมอเจ๊

กำลังดูข่าวแล้วหาว่าระบบการรายงานทางระบาดวิทยา ที่โรงพยาบาลจะต้องรายงานกระทรวงมีโรคอะไรบ้าง  ระบบการรายงานอย่างไร  และนั่งคิดทบทวนว่าจะสามารถทำงานใหม่ที่เพิ่มขึ้นได้ไหม เพราะจันทร์นี้จะต้องให้คำตอบแล้วคะ ว่าจะทำงานระบาดวิทยาโรคติดต่อ โรคไม่ติดต่อ โรคประกอบอาชีพ โรคเรื้อรัง เป็นศูนย์ข้อมูลและทำงานเต็มรูปแบบ ควบคุมโรค ลงชุมชน กับนักศึกษาด้วย น่าสนใจนะคะ แต่ดูแล้วหลายร้อยโรคมากคะ

3.

P
หมอเจ๊ คนสวย แซ่เฮ
เมื่อ ส. 31 ต.ค. 2552 @ 22:25
#1646594 [ ลบ ]

อ้อลืมไปคะขอเพิ่มเติมนะคะ พี่หมอเจ๊

เรื่องนี้ก็ตัวอย่างหนึ่งคะ ถ้าเกิดขึ้นที่โรงพยาบาล จะดำเนินการอย่างไร รายงานสอบสวน ผู้เกี่ยวข้องและใครบ้างที่เกี่ยวข้อง

และคงจะรวมถึงการสร้างเสริมสุขภาพ

สร้างความรู้ความเข้าใจให้กับประชาชน ในการเลือกใช้ยา ให้ถูกต้องและถูกวิธีด้วยนะคะ

  • งานอย่างนี้ ทำงานเป็นทีมอยู่แล้วน้อง
  • จะว่ายากก็ยาก...ถ้ามีวิธีคิดแบบเกี่ยงเรื่องฉันเรื่องเธอ
  • จะว่ายากก็ยาก...ถ้าใช้วิธีคิดแบบสร้างระบบที่มอบหมายการจัดการตามความเป็นไปได้ค่ะ
  • ที่ร.พ.พี่(งานพี่)...พี่ให้น้องระบาดเขาทำหน้าที่เป็นศูนย์ประสานงาน
  • ใครอยากได้ข้อมูลที่วิเคราะห์เร็ว ครบถ้วน แค่ร่วมมือทำตามระบบของระบาด ส่งข้อมูลมาให้ตามที่ระบาดขอ เขาก็จะได้ข้อมูลที่ดีๆไป
  • ใครอยากได้ข้อมูลที่วิเคราะห์เร็ว แล้ววางใจว่าจะมีที่ระบาดแล้วมาขอ ก็จะได้ข้อมูลไปแค่ที่ทางน้องพี่เขาทำได้ทัน
  • บอกกันไปอย่างนี้แหละค่ะ
  • ช่วงนี้ยังคงรับเรื่องงานโรคติดเชื้อเป็นหลัก
  • งานโรคไร้เชื้อ อาชีวอนามัย สารพัดอย่างนั้น ยังอยู่ที่เจ้าของงานซะมากกว่า รวมไปถึงงานส่งเสริมสุขภาพด้วย
  • เก็บข้อมูลคู่ขนานว่างั้นเหอะ ตามแต่ความร่วมมือที่ปรากฏ
  • งานส่งเสริมสุขภาพ ทำหน้าที่แค่หาองค์ความรู้ที่เขาต้องการไปป้อนให้
  • ที่ทำได้อย่างนี้เพราะพื้นฐานการทำงาน ทุุกงานทำงานส่งเสริมสุขภาพในงานของตัวเองอยู่แล้ว เบ็ดเสร็จค่ะ

สวัสดีคะพีหมอเจ๊

  • ที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ อยากจะขอบอกตามตรงว่าศูนย์ระบาดการรายงานโรค และนักระบาดวิทยา นักวิชาการสาธารณสุข เราไม่มีนะคะ
  • จะเป็นที่หน่วย IC รับผิดชอบรายงานโรคติดต่อ ป้องกันควบคุมโรค ทำขอมูลมาได้ 5 ปี แล้วคะ
  • ทำงานตามที่อัตรากำลังพอมี บทบาทได้ไม่เต็มที่ ก็ได้เท่าที่พยาบาลควบคุมโรคติดเชื้อ และใช้วิธีเครือข่าย ทำงานป็นทีมร่วมกัน PCU ลงพื้นที่
  • ได้ไปอบรมมาตรฐานระบาดวิทยา มาบางส่วนนะคะ
  • การทำรายงานข้อมูล วิเคราะห์เท่าที่ได้ แต่จะไม่สมบูรณ์เท่ากับนักระบาดทำ
  • ไม่เหมือนกับโรงพยาบาลที่สังกัดกระทรวงนะคะ จะมีศูนย์ระบาดของโรงพยาบาลเป็นแหล่งข้อมูล
  • ทางโรงพยาบาลก็เลยคิดว่าน่าจะได้ปรับปรุงและตั้งหน่วยงานนี้มารับผิดชอบโดยเฉพาะ เวลาจะใช้ข้อมูลมีที่จุดเดียว เพราะตอนนี้ข้อมูลกระจายมากเมื่อจะมีการประเมินหรือใช้ข้อมูล 
  • การเริ่มงานนี้  ถ้าไม่รับที่จะทำหรือทดลองทำไปก่อน  ผู้บริหารเปิดโอกาส และถ้ายังทำงานสองทางทั้งโรคติดต่อ โรคติดเชื้อ ก็จะทำให้งานไม่สมบูรณ์ ทั้งสองงาน
  • งานนี้น่าจะท้าทาย  มีหมอนักระบาดจะมาช่วย 2 ท่านนะคะ
  • ไก่ก็เสียดายงาน IC อยู่ ถ้าไปอบรม เรียนต่อ ก็จะเป็น APN ได้นะคะ พอตอบตกลงไปแล้ว มาคิดว่างาน IC ถ้าจะเป็น APN ได้ แต่ต้องต่อโทพยาบาลอีก สองปี เตรียมตัวสอบอีก 1-2 ปี  อายุ น่าจะ 55 พอดี ถึงจะได้เป็น APN 
  • ถ้าไม่เรียนต่อ รอเป็นหัวหน้า ก็จะไม่มีโอกาสเพราะ หัวหน้าหน่วยก็อายุเท่ากัน  แล้วก็มีพยาบาลอีกคนที่เป็นพยาบาล IC  ทำงานก่อนสองปี 
  • ทบทวนแล้ว น่าจะลองดู โรคระบาด ปีหนึ่งคงไม่เกิน 10 รอบ ถ้าเราป้องกันได้ดี
  • ขอบคุณพี่หมอมากที่ได้ให้ข้อคิดและแลกเปลี่ยนนะคะ คงจะได้ขอคำปรึกษานะคะ

สวัสดีครับพี่

ช่วงนี้ผมมีภารกิจมาก ไม่ค่อยมีเวลาเข้ามาใน G2K
ไม่ได้ติดตามข่าวสารบ้านเมืองเลยครับ จึงไม่รู้ข่าวนี้
พี่ไก่สบายดีนะครับ
ต้นบวบและน้ำเต้าโตราวคืบนึงแล้วครับ
เมล็ดที่เหลือผมนำไปปลูกที่ดอยมูเซอ จ.ตาก ด้วย
 

 8.

P
หนานเกียรติ
เมื่อ พ. 04 พ.ย. 2552 @ 07:52
#1653356 [ ลบ ]

สวัสดีคะคุณหนานเกียรติ

กำลังจะปิดเครื่องไปทำงานพอดี เห็นบันทึก รีบตอบก่อนจะ บวบโตเร็วนะคะ เดี่ยวก็ได้ผัดบวบแล้วคะ พี่จะเม็ดผักหวานบ้านไปให้นะคะ กำลังรวบรวมคะ ฝากหอแก้มเฌวาด้วยนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท