ประวัติศาสตร์นิพนธ์ : การเขียนประวัติศาสตร์ ยุครู้แจ้ง คริตสศตวรรษที่ ๑๘ และ เกียมบา ตีสต้า วีโก


 
การเขียนประวัติศาสตร์ ยุครู้แจ้ง คริตสศตวรรษที่ ๑๘
          ถือเป็นยุคแห่งการปฏิวัติทางความรู้ เและยุคแห่งเหตุผล ซึ่งเป็นผลกระตุ้นมาจากการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ มีการซักถาม และการหาคำตอบมาพิสูจน์ วิทยาศาสตร์เป็นแรงจูงใจให้เกิดการจัดระเบียบการเรียนรู้
          การเขียนประวัติศาสตร์ในศตวรรษที่ ๑๘ ยังอยู่ในสาขาปรัชญามุ่งสอนให้คนประพฤติดี ลักษณะการเขียนประวัติศาสตร์มีการวิเคราะห์วิจารณ์หลักฐาน เอกสารทางประวัติศาสตร์ ไม่เขียนยกย่องนักปกครองหรือกษัตริย์ หัวข้อการเขียนส่วนใหญ่ มักเขียนเรื่องการค้า อุตสาหกรรม ชีวิตในสังคม การพัฒนาทางวัฒนธรรม นักประวัติศาสตร์คนสำคัญในยุคนี้ได้แก่ มองเตสกิเออ, วอลแตร์ (ฝรั่งเศส) เดวิด ฮูม, กิบบอน (อังกฤษ) วีโก้ (อิตาลี)

 

วีโก้ (Gaimbattisata Vigo, 1668 – 1744)

 

          เกียมบาตีสต้า วีโก เกิดที่เมืองเนเปิลประเทศอิตาลีสนใจในปรัชญาสกอลาสติกในยุคกลาง กฎหมาย ประวัติศาสตร์ และวรรณคดี วีโก้ได้รับอิธิพลจากงานเขียนของเพลโต้และตาซิตุสชาวกรีก และอิทธิพลของฟรานซิส เบคอนและโคติอุส บุคคลเหล่านี้ทำให้วีโก้ศึกษาค้นคว้าต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์และปรัชญาที่เกี่ยวกับกฎเกณฑ์ต่าง ๆ วีโก้เป็นผู้บุกเบิกความคิดใหม่โดยเสนอรูปแบบและวิธีการทางประวัติศาสตร์และศาสตร์ที่ว่าด้วยสังคมมนุษย์ที่สมบูรณ์ให้แกนักประวัติศาสตร์ในยุคต่อมา
          งานเขียนที่สำคัญของวีโก้คือ The Prince of a New Science of The Nation of Nation (1725) หรือ หลักการของธรรมชาติของวีโก้ ซึ่งให้แนวคิดใหม่ในการเขียนประวัติศาสตร์โดยการวิเคราะห์สังคมมนุษย์ ชี้ให้เห็นว่าสังคมมนุษย์ย่อมเจริญหรือเสื่อมไปตามขั้นตอน สำหรับการเขียนประวัติศาสตร์นั้น ผู้เขียนจะต้องสืบสวนค้นคว้าหลักฐานต่าง ๆ แล้วนำมาจัดเรียงรูปแบบใหม่ให้สมเหตุสมผลยิ่งขึ้น วีโก้เชื่อว่า

 

“การเข้าใจธรรมชาติของบางสิ่งบางอย่างนับเป็นสิ่งจำเป็นต้องมี เพราะประวัติศาสตร์มนุษย์อันมนุษย์สร้างขึ้นมา ในเทื่อมนุษย์สร้างประวัติศาสตร์มนุษย์จึงจำเป็นต้องรู้บางสิ่งบางอย่าง”

 

          วีโก้ได้ให้ความหมายแก่ยุคก่อนประวัติศาสตร์และยุคคลาสสิก ในการศึกษา ภาษา ตำนาน บทกวี กฎหมายในยุคแรกนี้เขาได้ใช้วิธีการเปรียบเทียบและวิเคราะห์วิวัฒนาการของภาษาตำนานเหล่านี้ แล้วสรุปออกมาเป็นสภาพทางการเมือง เศรษฐกิจและการพัฒนาทางปัญญาของมนุษย์
          ทางด้านหลักฐาน วีโก้ถือว่าทุกสิ่งทุกอย่างในอดีตของมนุษย์ที่หลงเหลืออยู่อาจใช้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้
          ปรัชญาของวีโก้เป็นปรัชญาของความก้าวหน้า และความก้าวหน้าของมนุษย์ไม่ไก้เกิดเป็นเส้นตรงแต่เป็นรูปขดเป็นวง กล่าวคือ พัฒนาการของมนุษย์จะไม่กลับไปจุดเริ่มต้น แต่ละวงจะพัฒนาสูงขึ้นกว่าวงเก่า ประวัติศาสตร์จะไม่มีการซ้ำรอยเดิม และจะสร้างสิ่งใหม่ ๆ เสมอผู้ศึกษาไม่อาจทำนายอนาคตได้ ทฤษฎีการพัฒนาการแบบขดเป็นวงของวีโก้นั้นกล่าวว่า มนุษยชาติจะเจริญหรือเสื่อมไปตามขั้นตอนของการพัฒนา 4 ขั้นตอนคือ
  1. ชาติ การเกิดขึ้น
  2. ฐิติ ความเจริญเติบโตและการตั้งอยู่
  3. ชรา ความเสื่อมลง
  4. มรณะ การตายไป
           พัฒนาการประวัติศาสตร์ของแต่ละยุค ตัวแปลที่ทำให้ไม่เกิดเป็นเส้นตรงหรือเป็นรูปวงกลมคือ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี วรรณคดี ศิลปกรรม และอื่น ๆ ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงไปตามวงจรของประวัติศาสตร์ หนึ่งขดรอบวงของวีโก้นั้นแบ่งเป็น 3 ยุคคือ
  1. ยุคพระเจ้า เป็นยุคที่มนุษย์อยู่ภายใต้เงื่อนไขของความกลัวในสิ่งธรรมชาติ ทุกสิ่งเกิดจากการดลบัลดาลของพระเจ้า ศาสนาเกิดขึ้นจากความกลัวในสิ่งเหนือธรรมชาติ สถาบันที่มั่นคงที่สุดคือครอบครัว ผู้ปกครองเป็นทั้งพระและบิดา มนุษย์ใช้ภาษาง่ายในการติดต่อสื่อการกัน
  2. ยุควีระบุรุษ เกิดจากผลของการผูกพันกันระหว่างหัวหน้าของครอบครัวต่าง ๆ เพื่อป้องกันการแตกแยกและการรุกรานจากภายนอก สมาชิกในสังคมแบ่งออกเป็นชั้นสูงและชั้นสามัญ และเชื่อว่า วีรบุรุษเป็นผุ้ปกครองทุกหนทุกแห่งในเครือจักภพและสามารถควบคุมธรรมชาติได้ การปกครองเป็นแบบอาณาธิปไตยประชาชนในยุคพระเจ้ากลายเป็นชนชั้นพลีเบียน (บุคคลที่มีชนชั้นทางสังคมต่ำโดยเฉพาะในโรม) ชนชั้นปกครองหรือชนชั้นวีรบุรุษถือว่าสืบเชื้อสายมาจากพระเจ้า
  3. ยุคมนุษย์ สืบเนื่องมาจากการขัดแย้งมาจากชนชั้นสูงและชนชั้นสามัญ ในยุคนี้มนุษย์เชื่อว่าตนมีศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ เท่าเทียมกันทางการเมือง มีเสรีภาพทางการเมือง เป็นประชาธิปไตย มีการเลือกผู้ปกครองที่เกิดเป็นระบบกษัตริย์หรือราชาธิปไตย มนุษย์มีความรับผิดชอบในหน้าที่ มีการยอมรับสิทธิเสรีภาพของกันและกัน ภาษาที่ใช้สื่อสารมีการพัฒนาขึ้นสลับซับซ้อนมากขึ้น ยุคนี้ได้แก่ ยุคของเอเธนส์ในสมัยเพริคลิส จักรวรรดิโรมัน
           ความต้องการอันเป็นธรรมชาติของมนุษย์ มนุษย์เริ่มแรกมีความต้องการในสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตเท่านั้น ต่อมาก็แสวงหาสิ่งที่เป็นประโยชน์ และความเพลิดเพลินสะดวกสบาย เมื่อได้ความสะดวกสบายแล้ว มนุษย์ต้องการความฟุ่มเฟือยอย่างบ้าคลั่ง จึงทำให้มนุษย์เลวลงจึงเกิดเป็นยุคพระเจ้าอีกครั้ง
          อย่างไรก็ตาม วีโก้ได้รับการยอมรับจากนักประวัติศาสตร์รุ่นเดียวกันน้อยมาก เนื่องจากเขาปฏิเสธปรัชญาของเดการ์ด ทำให้กลุ่มเหตุผลปฏิเสธงานเขา รวมถึงการใช้ภาษาที่คลุมเครือ ความคิดล่วงหน้าของวีโก้ล้วงหน้ามากกว่าคนในยุคของเขา ซึ่งความคิดนี้กลับมามีอิทธพลต่อนักประวัติศาสตร์ในศตวรรษที่ ๑๙

 

วาทิน ศาสติ์ สันติ : เรียบเรียง

หมายเลขบันทึก: 309084เขียนเมื่อ 28 ตุลาคม 2009 08:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กันยายน 2013 07:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

Very interesting and what more are happening next,are these all made the way people used to be now a day.and what do you think about it? Can we dialectic in this topic,very interesting one.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท