ประวัติศาสตร์นิพนธ์ : การเขียนประวัติศาสตร์ในยุคกลาง


คริสต์ศาสนากับโลกของยุโรปยุคกลาง 

 

                สมัยกลางเริ่มต้นเมื่อยุโรปอยู่ภายใต้อทิธพลของคริสต์ศานาท่ามกลางความวุ่นวายเมื่ออาณาจักรโรมันล่มสลาย ในยุคนี้ศาสนจักรป็นสถาบันที่ทรงอิทธิพลที่สุด ครอบงำความคิด และวิธีชีวิตของผู้คนหมดทุกด้าน ไม้เว้นสถาบันพระมหากษัตริย์ หลักการคริสต์ที่เน้นเรื่องศรัทธาถือได้ว่าเป็นการปิดกั้นปรัชญาเหตุผลนิยมและมานุษยนิยมของกรีก เป็นการจบสิ้นวิธีการสืบค้นอดีตของมนุษยชาติด้วยหลักเหตุผลนิยมโดยสิ้นเชิง เพราะโลกความคิดของยุคกลางล้วนถูกครอบงำด้วยคำสอนว่า

 

“มนุษย์ไม่สามารถอยู่ในสถานะที่จะกำหนดชะตากรรมของตนเองได้ หากพระเจ้าเท่านั้นที่ทรงเป็นผู้สร้างสรรค์ เป็นผู้กำหนดสรรพสิ่งให้ดำเนินตามครรลองเห่งพระองค์” (ดูใน อดิศร ศักดิ์สูง, 2552 : 51)

 

การเขียนประติศาสตร์ยุคกลาง

 

ประวัติศาสตร์นิพนธ์ยุคกลางเป็นการสืบต่อแนวการเขียนประวัติศาสตร์ของชาวกรีกและชาวโรมัน (ดนัย ไชยโยธา, 2537 :  117)  นักเขียนยุคกลางได้ดำเนินการเขียนประวัติศาสตร์โดยอ้างข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับจารีตประเพณีและไม่ได้พยายามวิเคราะห์ข้อเท็จจริงเชิงวิจารณ์ แต่การวิจารณ์เป็นการวิจารณ์เฉพาะตัว ไม่เป็นวิทยาศาสตร์และไม่มีระบบ อย่างไรก็ตาม นักประวัติศาสตร์ยุคกลางได้ใช้วัสดุเอกสารการเขียนจากทรรศนะที่เกี่ยวกับพระเจ้า

นักประวัติศาสตร์ในยุคกลางมองเห็นแผนการของพระเจ้าในประวัติศาสตร์ซึ่งไม่สามารถเข้าแทรกแซงได้ บุคคลที่ทำงานขัดแย้งกับแผนการนี้ก็ได้เขียนสนับสนุนประวัติศาสตร์ด้วย นับเป็นการดีมากสำหรับบุคคลแต่ละคน ที่เขาควรเป็นเครื่องมืออย่างตั้งใจในการส่งเสริมแผนการของพระเจ้า เพราะถ้าเขาได้ตั้งตนต่อแผนการของพระเจ้าแล้ว เขาไม่สามารถยับยั้งแผนการพระเจ้าหรือดัดแปลงแผนการของพระเจ้าได้ ทุกอย่างที่เขาสามารถทำได้คือ การป้องกันและการลงโทษตัวเขา การจำกัดตัวเขา และการประกันการตำหนอเขาเอง ลักษณะการทำเช่นนี้เป็นแนวการเขียนประวัติศาสตร์แบบรักชาติอย่างหนึ่ง (ดนัย ไชยโยธา, 2537 : 117)  กล่าวได้ว่านักเทววิทยาเป็นผู้สร้างประวิตศาสตร์ยุคกลาง

ประวัติศาสตร์ยุคกลางตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของคริสต์ศาสนา เมื่อคริสต์ศาสนาเกิดขึ้น พวกสาวกของพระเยซูคริส์ได้ทำการรณรงค์เพื่อเผยแพร่แนวความคิดใหม่นี้ให้แพร่หลายออกไป พวกสาวกเหล่านี้ได้วิธีการเผยแพร่แนวความคิดใหม่ให้แพร่หลายได้ด้วยการเขียนหนังสือ และในการเขียนหนังสือนี้พวกวสาวกได้เน้นวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวคริสต์ นั่นคือวัฒนธรรมฮิบรู ซึ่งมีความเก่าแก่กว่าวัฒนธรรมกรีกและโรมัน การเน้นความคิดใหม่นี้ไม่มีแบบวิธีการเขียนอันใดดีไปกว่าการเขียนแบบพงศาวดาร การต่อสู้ในทางความคิดระหว่างวัฒนธรรมคริสต์ศาสนากับวัฒนธรรมคลาสสิกได้ดำเนินอยู่ประมาณ 3 ศตวรรษ เมื่อโรมต้องแตกสลายด้วยการปล้นสะดมของอนารยชนเผ่ากอธในปี ค.ศ. 410 นั้น วัฒนธรรมคริสต์ศาสนาได้ครอบอิทธิพของบุคคลส่วนใหญ่แล้ว นับแต่นั้นมา งานเขียนประวัติศาสร์ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง สิ่งที่เปลี่ยนจากเดิมได้แก่เนื้อหา ซึ่งได้เปลี่ยนเรื่องราวจากชนชาติกรีกและโรมันไปเป็นเรื่องราวของชาวฮิบรู (ดนัย ไชยโยธา, 2537 : 117) 

ส่วนแบบวิธีการเขียนอันเน้นเชิงวิทยาศาสตร์ได้เปลี่ยนไปสู่แบบวิธีการอันใหม่ที่ใช้ศรัทธาและอารมณ์อันมีอยู่เหนือเหตุผลเป็นหลักในการเขียน ลักษณะความเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ได้แสดงให้เห็นว่าประวัติศาสตร์นิพนธ์ยุคกลางได้กลายเป็นเครื่องมือในการสนับสนุนและรับใช้เป้าประสงค์ของศาสนจักร

อนึ่ง ประวัติศาสตร์อันมีคุณค่าของชนชาติกรีกและโรมันเดิมได้รับการต่อต้านจากนักประวัติศาสตร์ผู้เป็นนักบวชและสาวกในคริสต์ศาสนาว่าป็นผลงานของพวกคนนอกศาสนา พวกสาวกของพระเยซูคริต์ได้ให้การยกย้องพระคำภีร์เก่าว่าเป็นงานประวัติศาสตร์อันศักดิ์สิทธิ์ ทั้ง ๆ ที่ส่วนของเนื้อหาที่เป็นประวัติศาสตร์ในพระคำภีร์เก่านี้มีคุณค่าน้อยกว่างานประวัติศาสตร์ของพวกคนนอกศาสนา แต่การที่นักประวัติศาสตร์ยุคกลางได้หันไปยกย่องพระคำภีร์เก่าและถือเป็นแบบฉบับในการเขียนประวัติศาสตร์นั้นนับเป็นการสร้างผลงานอันใหม่ให้แก่ประวัติศาสตร์นิพนธ์มาก เพราะว่านักประวัติศาสต์กรีกและโรมันได้เล่าเรื่องย้อนอดีตไปไม่ไกลมานักจากสมัยขอตน แต่เนื้อความในพระคำภีร์เก่าได้อธิบายเรื่องราวย้อนอดีตไปจนถึงกำเนิดของโลก จักรวาลและสรรพสิ่งต่าง ๆ ได้เป็นแบบอย่างที่ช่วยให้นักประวัติศาสตร์ยุคกลางสนใจอดีตที่ไกลออกไปจากสมัยของตน ในส่วนของเนื้อหานั้นเรื่องราวก็ได้ขยายออกไปไกลถึงบุคคลต่างชาติต่างภาษานอกอาณาจักรของตน และไม่ได้ใช้ชาติตนเป็นศูนย์กลางในการเขียน ลักษณะนี้เป็นการมองประวัติศาสตร์อย่างเป็นสากล ทรรศนะนี้นักประวัติศาสตร์ยุคกลางได้รับอิธิพลมาจากพระคำภีร์เก่าที่ว่ามนุษย์ทุกคนมีความเสมอภาคและความเท่าเทียมกันหมด ทั้งนี้เพราะมนุษย์ทั้งหลายในสากลจักรวาลนี้ล้วนเกิดมาโดยการสร้างของพระเจ้า ฉะนั้น เรื่องราวของมนุษยชาติต่าง ๆ ล้วนเป็นสิ่งที่ควรแก่การสนใจทั้งสิ้น นอกจากนี้ พระคำภีร์เก่ายังให้อิทธิพลต่อนักประวัติศาสตร์ยุคกลางในการมองประติศาสตร์เป็นเส้นตรงด้วย อันที่จริง ทรรศนะนี้เป็นการมองประวัติศาสตร์แต่ดั่งเดิมของชาวฮิบรูที่ได้ถูกถ่ายทอดลงในพระคำภีร์เก่า และได้เข้ามาครองงำอิทธิพลนักประวัติศาสตร์ยุคกลางอย่างแท้จริง และทัศนะนี้ต่างจากทัศนะของชาวกรีกและโรมันที่มองประวัติสาสตร์ว่ามีเส้นทางเดินเป็นวงกลมทำนองเดียวกับการหมุนเวียนเปลี่ยนฤดูกาลแต่ละปี (ดนัย ไชยโยธา, 2537 : 118)

ประวัติศาสตร์อีกประเภทหนึ่งที่นักเขียนประวัติศาสตร์ยุคกลางเขียนขึ้น โดยเฉพาะระยะความใกล้ชิดของยุคคือประวัติศาสตร์ที่ฆารวาสเขียน แต่แม้การเปลี่ยนแปลงนี้จากวิธีการของคริสเตียนยังไม่มีการปรับปรุง และยังคงมีข้อบกพร่องทุกอย่างของธรรมเนียมการเขียนแบบรักชาติ

นักประวัติศาสตร์ยุคกลางตอนต้นต้องเผชิญกับอุปสรรคนานับประการ เนื่องจากผลของความยุ่งยากและความรุนแรงที่ติดตามมากด้วยความเสื่อมของอารยธรรมโรมัน ผลงานชิ้นสำคัญบางส่วนของนักประวัติศาสตร์โบราณสมัยคลาสสิกได้สูญไป ดังนั้น นักเขียนยุคกลางจึงถูกตัดขาดจากหลักฐานชิ้นดี ๆ ของนักปราชญ์ และความว่างเปล่าเช่นนี้พวดคริสเตียนได้นำเอาไปทำประโยชน์อย่างน่าชมเชย และกาลต่อมาไม่นาน พวกเคริสเตียนได้นำการผูกขาดแนวการเขียนประวัติศาสตร์นักเขียนที่เป็นฆารวาสไม่สามารถยอมรับผลงานอันใดเนื่องจากงานเขียนที่พวกคริสเตียนได้เขียนไว้เป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสนา และพวกคริสเตียนได้เขียนเสนอความคิดไม่ตรงความจริง (ดนัย ไชยโยธา, 2537 : 118)

 

ลักษณะการเขียนประวัติศาสตร์ยุคกลาง (มาตยา อิงคนารถ และ วนิดา ตรงยางกูร, 2551 : 95-96)

 

                ลักษณะการเขียนโดยทั่วไป 

  1. เป็นประวัติศาสตร์สากล หรือประวัติศาสตร์โลกตั้งแต่ถือกำเนิดมนุษย์ กำเนิดและการสิ้นสุดของอารยธรรมและอำนาจต่าง ๆ การเขียนปนะวัติศาสตร์ของกรีกโรมันมิใช่ประวัติศาสตร์สากล เนื่องจากสนในเรื่องเฉพาะท้องถิ่น โดยถือกรีกหรือโรมเป็นศูนย์กลาง
  2.  กิจกรรมของมนุษย์นี้ พระเจ้าเป็นผู้ควบคุม มนุษย์ไม่อาจคุมสภาพแวดล้อมของตน ทฤษฎีนี้เรียกว่า มนุษย์เราถูกกำนหดแผนการไว้ล่วงหน้าแล้วโดยพระเจ้า
  3. ศาสนาคริสต์เชื่อทฤษฎีพระเจ้ากำหนดกิจกรรมของมนุษย์ สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นไม่ใช่ความต้องการของมนุษย์ ทำให้เกิดความอยากรู้อยากเห็นว่าเหตุใดจึงเป็นเช่นนี้ มนุษย์ก้าวไปถึงขั้นไหนของแผนการของพระเจ้าแล้ว แผนการของพระเจ้าเป็นอย่างไร มนุษย์จะดำเนินกิจกรรมของพระเจ้าได้อย่างไร ดังนั้นงานที่สำคัญที่สุดของการเขียนประวัติศาสตร์ในสมัยกลางคือ การค้นหาแผนของพระเจ้า ศูนย์กลางของแผนนี้คือชีวิตของพระเยชูคริสต์เจ้า โดยมีการแบ่งประวัติศาสตร์ที่จุดถือกำเนิดของพระเยชู 2 ส่วน ยุคแรกเป็นยุคมืด อีกยุคเรียกว่ายุคสว่าง แนวความคิดนี้ก็คือว่า ประวัติศาสตร์สามารถทำนายอนาคตได้
  4. ประวัติศาสตร์ของยุคกลางเป็นแบบที่มีจุดเริ่มต้นและจุดจบเป็นขบวนการเปลี่ยนแปลงที่เป็นเส้นตรง
  5. หลักการแบ่งอดีตเป็น 2 ส่วน ก็จะแบ่งย่อยลงอีก ดังนั้นการแบ่งประวัติศาสตร์เป็นยุค หรือสมัย แต่ละยุคมีลักษณะเฉพาะของตน
  6. งานเขียนส่วนใหญ่คล้ายของกรีก เป็นประวัติศาสตร์ร่วมสมัย มีการเขียนเรื่องราวห่างออกไปน้อย
  7. ไม่อาจแยกความแตกต่างระหว่างพงศาวดาร ประวิศาสตร์ ชีวประวัติในเรื่องเกี่ยวกับทฤษฎีที่นำมาใช้การเขียน

 

ข้อบกพร่องสำหรับการเขียนประวัติศาสตร์สมัยกลาง 

  1. การละเลยความสำคัญของมนุษย์
  2. การค้นหาข้อเท็จจริงนั้น ถ้าหากไม่สนับสนุนแผนการของพระเจ้า ก็อาจถูกละทิ้งไป รายละเอียดที่ขัดแย้งกับเรื่องราวส่วนใหญ่มักจะถูกตัดทิ้ง
  3. ถือว่าการศึกษาประวัติศาสร์จะสามารถทำนายอนาคตได้ นักประวัติศาสตร์ปัจจุบันต่อต้านมาก
  4. นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่เป็นพระ  ดังนั้นจึงมิกล้าวิจารณ์ศาสนารุนแรง
  5. ประวิติศาสตร์สมัยกลางมักเขียนเป็นตอน ๆ ไม่ได้วิเคราะห์ถึงพลังทางสังคม เศรษฐกิจและการพัฒนาทางปัญญา
  6. นักประวัติศาสตร์มักบรรยายประชาชนในสมัยโบราณถึงการแต่งตัว มีความคิด การกระทำเหมือนสมัยตน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ภาษาเดียวกัน
  7. นักประวัติศาสตร์น้อยคนที่วิเคราะห์แยกแยะวิจารณ์เอกสารที่ใช้ค้นคว้า
  8. นักเขียนมักเขียนแต่เรื่องบุคคลสำคัญ เหตุการณ์สำคัญแบบเรียง วัน เดือน ปี ข่าวคราวจากแดนไกลมาถึงช้าจึงบันทึกหลังเหตุการณ์ล้าช้า นักประวัติศาสตร์มักไม่จัดเรื่องราวของตนให้มีระบบ
  9. นักประวัติศาสตร์คริสเตียนละทิ้งวิธีการทางประวัติศาสตร์ที่ธูซีดีดิสและโพลีบีอุสวางไว้เนื่องจากการต่อต้านพวกนอกศาสนาจึงต้องมีวิธีพิเศษสำหรับหลักฐานที่ถูกดลใจจากพระเจ้า โดยใช้นิทานเปรียบเทียบ และสัญลักษณ์ ตีความหมายหลักฐานแทนการวิจารณ์
  10. ถ้าพระแต่งปิดหูปิดตาแต่ง ยกย่องศาสนา ถ้าฆารวาสแต่ง แต่งตามแบบกรีก-โรมัน เอนเอียงอคติ (จันทร์ฉาย ภัคอธิคม, 2545 : (3))
  11. นิยมคัดลอกกันมาอย่างไม่ระวัง ตัดต่อ แต่เติมเสริมต่อ (จันทร์ฉาย ภัคอธิคม, 2545 : (3))
วาทิน ศานติ์ สันติ : เรียบเรียง

บรรณานุกรม 

 

จันทร์ฉาย ภัคอธิคม, ศ. ประวัติศาสตร์นิพนธ์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.2545. 

ดนัย ไชยโยธา, รศ. พัฒนาการวิธีการเขียนประวัติศาสตร์กับปรัชญาประวัติศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์. 2537.

นิธิ เอี่ยวศรีวงศ์. ประวัติศาสตร์นิพนธ์ตะวันตก (เอกสารวิชาการ หมายเลข 2/011). เชียงใหม่ :  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2525.

มาตยา อิงคนารถ, รศ.  และ วนิดา ตรงยางกูร. ประวัติศาสตร์นิพนธ์. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ :มหาวิทยาลัยรามคำแหง. 2551.

อดิศร ศักดิ์สูง, ผศ. ความคิดทางประวัติศาสตร์และวิธีวิทยาวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 1. สงขลา : นำศิลป์โฆษณา. 2552. 


หมายเลขบันทึก: 309082เขียนเมื่อ 28 ตุลาคม 2009 08:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กันยายน 2013 07:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ผมเป็นิสิต ม.บูรพา ครับ ตอนแรกคิดจะหาวิธีทำประวัติศาสตร์นิพนธ์ พอเห็นบทความนี้ก็เลยสมัครเข้าเป็นสมาชิกเว็บนี้ทันทีเลยครับ  ขอบคุณสำหรับบทความดีๆจริงๆครับ  อย่างน้อยก็ทำให้ผมรู้การทำประวัติศาสตร์นิพนธ์ของยุคมืด แม้ว่าหลักการของมันจะเอาใช้เขียนนิพนธ์ไม่ได้ก็เหอะ (ขืนมาทำถูกตอนแน่ๆ) แต่ยังไงก็ขอให้กำลังใจให้พี่ สู้ต่อไปละกันครับ บทความดีดีจะได้มีมาให้ผมและคนอื่นๆได้อ่านอีก ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท