ธรรมฐิต
พระ(มหา) วิชิต ชิต สมถวิล(ฐิตธมฺโม)

จุดมุ่งหมายในการส่องกระจก


เช้านี้อากาศสดใสไร้เมฆหมอกรอบด้าน 

ฝนคงหยุดที่จะโปรยปรายสักชั่วเพลาหนึ่ง 

ธรรมชาติคงให้โอกาสแก่สรรพสัตว์ได้เว้นวรรคเว้นช่วงจากสายฝน 

เพื่อจะได้ทำบางสิ่งในวิถีได้สะดวกมากขึ้น 

ทุกปรากฏการณ์ที่ธรรมชาติสรรสร้างให้เราได้สัมผัส

ก็เพื่อจะสั่งและสอนสรรพสัตว์ทุกชีวิต 

ให้พึงตระหนักรู้ไว้นำไปปรับปรุงไว้ดำเนินชีวิตได้อย่างกลมกลืนกับธรรมชาติ

ที่เรากำลังข้องเกี่ยวกับมัน

บางช่วงจังหวะของชีวิตจึงควรหยุดใจใคร่ครวญถึงพฤติกรรมที่ผ่านมา 

เปรียบประหนึ่งว่าเราได้กระจกบานใหญ่มาส่องดูตัว

เพราะธรรมดาว่าการส่องกระจกนั้น ย่อมมีจุดหมายหลัก ๒ สถานคือ

           

๑. สำรวจตัว หาข้อบกพร่องในร่างกายว่า มีจุดไหน

ส่วนไหนบ้างที่ควร แต่ง เติม เสริม จัดให้เหมาะสม

เพราะในบางส่วนอาจจะ หลงหู หลงตา หรืออยู่ในส่วนแห่งร่างกายที่สายตา

ไม่อาจทำหน้าที่ได้อย่างทั่วถึง กระจกบานใหญ่จะช่วยเหลือได้เป็นอย่างดี

           

๒. ชื่นชมตัวเอง หลังจากที่ได้แก้ไขข้อบกพร่องจนเป็นที่พอใจแล้ว

มองดูความงามในเรือนร่างของตัวเองดด้วยความชื่นชมโสมนัส

ถึงแอบยิ้มกับกระจกก็มี

 

ดังนั้น ขอให้เราทั้งหลายหันมาพินิจพิจารณาตัวเองดุจมองกระจำบานใหญ่

ส่วนใดก็ตามที่ยังบกพร่องผิดพลาดอยู่ ก็สมควรที่จะปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องสมบูรณ์ โดยถือว่าผิดเป็นครู เป็นบทเรียนที่ให้คุณค่าแก่ชีวิตอย่างดียิ่ง

เคยเกียจคร้าน ส่อเสียด เอาเปรียบผู้อื่น ก็กลับตัวกลับใจ

มองเห็นโทษภัยจากอกุศลธรรมเหล่านั้น เลิก ละ ปล่อยวางเสีย

หันมาสมาทาน ประพฤติสิ่งที่ดีงาม  ถูกต้อง สิ่งใดที่ได้ประพฤติปฏิบัติมา

เป็นสิ่งที่ดีอยู่แล้ว ก็ควรที่จะประคับประคองรักษาไว้ให้คงอยู่

และพยายามส่งเสริมให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป

พร้อมทั้งส่งความปรารถนาดีอย่างจริงใจ

เผื่อแผ่ไปถึงผู้อื่นอันเป็นหลักการเบื้องต้นแห่งการเสริมสร้างสันติภาพภราดรภาพให้เกิดขึ้นแก่ส่วมรวม เมื่อได้พิจารณาเห็น 

 และดำเนินการให้เป็นไปตามหลักการ  

ทำได้ดังนี้ชีวิตก็สามารถยืนหยัดฝ่าฝันสิ่งต่างๆได้อย่างงดงามอย่างแท้จริง..

 

ท่านละย้อนดูกระจกแล้วสามารถที่จะชื่นชมตัวเองได้บ้างหรือยัง..

ธรรมะสวัสดีขอรับ..

คำสำคัญ (Tags): #ธรรมฐิต
หมายเลขบันทึก: 308789เขียนเมื่อ 27 ตุลาคม 2009 06:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ถ้าจะให้ดี คงต้องใช้ "กระจกหกด้าน" ครับ

นมัสการค่ะ...หลวงพี่

กระจกสะท้อนเงาจริง ๆ เจ้าค่ะ...ขอบพระคุณธรรมยามเช้าเจ้าค่ะ...

        คนเราทุกวันนี้ดีแต่ส่องกระจกด้านหน้าแต่เพียงด้านเดียว ให้เอากระจกหกด้านมาส่องเสียบ้าง แล้วจะเห็นเอง”

คำสอนของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ที่เตือนให้ทุกคนรู้จักส่องกระจกรอบด้าน ไม่ใช่ส่องกระจกด้านหน้าเพียงด้านเดียว เพื่อชี้ให้เห็นความจริงของชีวิตที่ว่า ควรปฏิบัติอย่างเหมาะสมต่อบุคคลรอบข้างรวมทั้งตนอย่างไร

     แถมกลอนอีกหน่อยครับ ผมไม่ได้แต่งเอง เอามาจากที่อื่น

กระจกเงา เอาส่อง เพียงภายนอก
กระจกบอก รูปลักษณ์ ที่แลเห็น
กระจกให้ รู้เพียง สิ่งที่เป็น
สิ่งซ่อนเร้น จะใช้ กระจกใด
ส่องความคิด ฉายชัด ความรู้สึก
ที่อยู่ลึก ในจิต คิดเก็บไว้
หากระจก สะท้อน ได้หรือไร
กระจกใจ จะหา จากไหนกัน  

Pเยี่ยมเลยท่านรองที่มาเติมเต็มบันทึกให้มีรสชาติ..

Pแต่บางครั้งคนไม่เห็นเงาในกระจกสิอาจารย์น่าเป็นห่วงเนาะ..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท