บ่นต่อจากงานเสวนา จับกระแสเทคโนโลยี Social Network


มีคนหลายคนที่เป็นคนไอทีที่มีชื่อเสียงแต่ก็ไม่ได้ใช้ SNS ดังนั้น SNS ที่ใช้กันอยู่จึงอาจจะถูกดึงศักยภาพออกมาใช้งานได้ไม่เต็มที่นัก

ตุลาคมกำลังจะผ่านพ้นไป เดือนนี้ก็ได้สะสางงานเว็บไซต์และทำอะไรไปหลายอย่างเหมือนกัน eventpro ซึ่งตั้งใจจะให้เป็น event management system ก็พร้อมให้บริการในระดับหนึ่งในลักษณะของ Software as a Service ที่ยึดหลักที่ว่า ถ้าคุณจัดอีเวนท์ฟรี เราก็ให้ใช้บริการฟรีด้วย แต่ถ้าคุณเก็บเงินคนลงทะเบียน และอยากได้ระบบจัดการที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น มีส่วน CRM ไว้ติดตามลูกค้าและวัดประมวลผล เราก็ขอคิดค่าบริการนิดนึง ตอนนี้ก็ให้น้องผู้ประสานงานติดต่อกับ Potential customer อยู่ (เพราะทำเองทุกอย่างจริงๆ คงจะไม่ไหว)


โดยเบื้องต้นหลังเปิดตัว eventpro ได้สักพัก ก็ได้ลงนามจับมือกับนิตยสาร Go Training เซ็นต์ MOU กันไปนิดนึงเพื่อขยายช่องทางในการสื่อสาร ส่งข้อมูลอีเวนท์ดีๆ มีสาระ เกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพของผู้คนคืนสู่สังคม ในเว็บจะได้มีอีเวนท์สัมมนา เสวนา ฝึกอบรมเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ก็จะมีพื้นที่ออฟไลน์ในการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารไปยังกลุ่ม HR อีกด้วย ก็ต้องติดตามดูกันต่อไปครับ ผลตอบรับจะเป็นเช่นไร ช่วงนี้ก็หาพันธมิตรกันต่อ


พอมาปลายเดือนก็ได้รับโทรศัพท์จากผู้ประสานงานของสำนักพิมพ์ Provision ว่าอยากให้มาร่วมเสวนาในหัวข้อเกี่ยวกับ Social Network ในสัปดาห์หนังสือสักหน่อย เลยต้องมาเตรียมข้อมูลที่จะไปคุย โดยหลักๆ ก็ไม่มีอะไรมาก สามารถใช้ความรู้ที่สะสมมาในไขสันหลังให้ทำงานแบบอัตโนมัติได้ คำถามก็มีอยู่คร่าวๆ ว่า

  • ความสัมพันธ์ระหว่าง web2.0 กับ SNS (Social network sites)
  • สถานการณ์ SNS บ้านเราตอนนี้เป็นอย่างไร
  • ทำไมถึงเกิดกระแส Facebook และ Twitter ขึ้น
  • จุดเด่นของ Facebook และ Twitter
  • แนะนำ VDO Podcast เบื้องต้น

 

ก็เตรียมไปดีพอสมควร (งานวันเสาร์เตรียมคืนวันศุกร์) แต่พอขึ้นเวทีไปจริงๆ ดันลืมพูดที่อยากจะพูดตั้งหลายประเด็น เลยขอใช้พื้นที่ Blog ที่นี่ เขียนสรุปออกมาหน่อยแล้วกันนะครับ


เริ่มจาก web2.0 กับ SNS ก็ต้องคุยถึงจุดเด่นของยุคนี้ที่เกิดจาก UGC (User generated content) ที่ทำให้ SNS มีคุณค่าขึ้นมา มันทำให้ผมนึกถึงภาพยนต์เรื่อง The Matrix จำได้ว่าผมเคยเขียนบทความอยู่ตอนหนึ่งลงในนิตยสารคอมพิวเตอร์มาร์ท สมัย The Matrix เข้ามาฉายในเมืองไทยครั้งแรก (อืมมม... นานมาก) ประเด็นก็คือทุกคนกลายเป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยี และเทคโนโลยีก็เป็นส่วนหนึ่งของพวกเราชนิดที่แยกกันแทบไม่ได้ เราทุกคนเป็นคนขับเคลื่อนให้ SNS ทำงานได้ และ SNS ก็ตอบแทนเราด้วย information และความสัมพันธ์ที่สอดคล้องกับ Life style ของพวกเราในปัจจุบัน แต่... จะพูดอย่างงั้นซะทีเดียวก็ไม่ถูก เนื่องจากหากจะดูจากสถิติการใช้งานอินเทอร์เน็ตหรือการใช้งาน SNS ในบ้านเรา เรามี Netizen อยู่ยังไม่ถึงครึ่งประเทศ หน้ำซ้ำ Infrastructure ที่ควรจะมี ก็กระจุกอยู่แค่ในเมืองใหญ่ จึงทำให้เกิดภาพ Digital devide ขึ้น นอกจากนั้นก็ยังมีความต่างในเรื่องของ Generation ที่คน Gen X ขึ้นไป หรือผู้ที่อยู่ในช่วง Baby boomer จะมีจำนวนไม่มากนักที่ตอบรับการใช้เทคโนโลยีอย่างจริงจัง มีคนหลายคนที่เป็นคนไอทีที่มีชื่อเสียงแต่ก็ไม่ได้ใช้ SNS ดังนั้น SNS ที่ใช้กันอยู่จึงอาจจะถูกดึงศักยภาพออกมาใช้งานได้ไม่เต็มที่นัก มันยังไม่สามารถตอบทฤษฎีโลกใบเล็ก (the 6th degree separation) ที่มีใจความคร่าวๆ ว่า หากเรารู้จักคน 44 คนเราจะสามารถรู้จักคนทั้งโลกได้โดยผ่านเพื่อนของเพื่อนไม่เกิน 6 ช่วงคน (44 ยกกำลัง 6 ได้ค่าประมาณ 7 พันล้านคน)

social network family
ภาพจาก http://geekandpoke.typepad.com/geekandpoke/2008/07/social-network.html

ส่วนสถานการณ์ SNS ในบ้านเรา ก็เป็นไปตามกระแส จาก Hi5 มายัง Facebook และ Twitter ซึ่งพิธีกรบนเวทีก็มีคำถามโดนใจผมว่า แล้ว "SNS ของไทยมีไหม ทำไมคนไทยไม่ใช้กัน ?" เพราะการตลาดหรือ? เพราะการประชาสัมพันธ์? เพราะตัวผลิตภัณฑ์เอง? มันเป็นคำถามที่ไม่มีคำตอบเช่นเคย วันก่อนขึ้นเวทีก็เจอ tweet ที่ว่า "คนไทยสามารถซื้อฮาร์ดแวร์ในราคาท้องตลาดได้ แต่ไม่สามารถซื้อซอฟต์แวร์ในราคาท้องตลาดเพราะค่าครองชีพเราต่ำ" หลายๆ อย่างมันสะท้อนให้เห็นค่านิยม วัฒนธรรมการบริโภคของเรา เรายึดติดกับวัตถุ และไม่ให้ความสำคัญกับทรัพย์สินทางปัญญา (หรือเปล่า) และสำหรับเว็บไซต์ไทยที่มีประโยชน์ มันจะไม่ดัง ไม่ถูกใช้ เพราะจะดังได้ต้องเป็นเว็บไซต์บันเทิง เกม การพนัน เท่านั้น (หรือเปล่า) ก็คงต้องเก็บไปคิดเป็นการบ้านต่อว่าเราจะ breakthrough สิ่งเหล่านี้ออกได้อย่างไร เพราะถ้าแค่ปรับนิด เปลี่ยนหน่อย มันก็คงจะยังไม่เกิดเช่นเคย ถึงคราวต้อง radical change แบบ creative destruction ซะแล้ว

ถัดมาถามว่ากระแสมาจากไหน ต้องตอบว่ามาจาก Early Adopter ครับ กลุ่มผู้ใช้กลุ่มแรก (ถัดจาก innovator ใน Technology adoption lifecycle) ซึ่งถ้าเป็น Hi5 จะเป็นเด็กวัยรุ่นที่อยาก present ตัวเอง มันมาเร็วมากคล้ายๆ virus สายพันธุ์ใหม่ ส่วน Facebook จะออกแนวกลุ่มคนออฟฟิศมีอายุขึ้นมาหน่อย แต่ที่ทำให้มันขยับตัวขึ้นเทียบชั้น Hi5 ก็จากการที่ Facebook เป็นเสมือน Platform ที่เปิดให้ 3rd party เข้ามาเขียนโปรแกรมได้ และโปรแกรมที่ถูกจริตชาวไทย ก็ไม่พ้น เกม และ quiz เลยมีเสียงตอบรับที่ดี เล่นฟรี น่ารัก สนุก แถมได้เพื่อนอีก ไม่สมัครไม่ได้แล้ว สุดท้ายกระแสของ Twitter ต้องบอกว่า เพราะมันง่าย แล้วมีคนดังมาใช้ พอมีคนดังใช้ ก็มีสื่อกระแสหลักช่วยประโคมข่าว เลยยิ่งดังเข้าไปใหญ่ สุดท้ายผู้คนก็เลยกระโดดกันลงมา tweet ให้เกลื่อนไปหมด ไม่ว่าจะเป็นคน หรือเป็นในรูปแบบกลุ่มคน บริษัท ห้างร้าน brand ต่างๆ

โม้ไป โม้มา สุดท้ายหมดเวลา เลยได้พูดถึง VDO Podcast แค่สั้นๆ ว่ามันเป็น concept ไม่ได้เป็นเว็บไซต์เหมือน SNS ที่กล่าวมาในข้างต้น ซึ่งหากจะอธิบายสั้นๆ ก็คือ การกระจายข้อมูลในรูปแบบของวิดีโอ (ภาพเคลื่อนไหว) ไปยังผู้ที่สนใจที่สมัครติดตามเรา คล้ายๆ กับการทำสถานนีโทรทัศน์ออนไลน์นั่นเอง ส่วนจะเอาไปออกที่เว็บไซต์ไหนก็มีให้เลือกหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น YouTube, Blip.tv, ManyTV, sukifilx แล้วแต่ชอบครับ สนใจรายละเอียดลองหาอ่านจากหนังสือ "VDO Podcast TV ออนไลน์ ทำเองได้ ง่ายนิดเดียว " โฆษณาเสร็จเลย 555+

ก็มองไปมองมาจะสิ้นปีอีกแล้ว เหลืออีก 2 เดือนเดี๋ยวจะมาลองดูว่าสิ่งที่ทำไปตลอดทั้งปี ได้ผลลัพธ์กลับมาอย่างไรบ้าง อย่าง Blog ที่เขียนๆ  อยู่นี่มีใครอ่านอยู่บ้างครับ แนะนำตัวกันหน่อย แล้วคุณหละคิดอย่างไร How do u think?

คำสำคัญ (Tags): #social network#facebook#twitter#web2.0
หมายเลขบันทึก: 308583เขียนเมื่อ 26 ตุลาคม 2009 12:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 17:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

แนะนำตัวครับ ฮิฮิ

ถ้าสัมมนา มี 2 ชั่วโมง คงมีเรื่องดีๆ เหล่านี้ให้ได้ฟังกัน

(แต่จั๊วคงชักตาย เพราะสั่นๆ ตลอดเวลาเมื่ออยู่บนเวที)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท