ทบทวน Thalassemia ตอนที่ 2


โรคธาลัสซีเมีย

# ถ้าได้รับยีนธาลัสซีเมียชนิดเดียวกัน อยู่ด้วยกัน จะทำให้เป็นโรคธาลัสซีเมีย เช่น  Beta-thalassemia/Hb E  แต่บางครั้งความผิดปกติของยีนรุนแรงน้อยก็ไม่ทำให้เกิดโรค เช่น Homozygous Hb E หรือ Homozygous alpha-thalassemia 2

# ถ้าได้รับยีน Alpha-thalassemia และ Beta-thalassemia มาจากพ่อและแม่ จะไม่เป็นโรคธาลัสซีเมีย เพราะเป็นยีนธาลัสซีเมียคนละชนิด

ตารางแสดงจำนวนผู้ป่วยธาลัสซีเมียแต่ละชนิดที่เกิดขึ้นในแต่ละปี และจำนวนที่คาดว่ายังมีชีวิตอยู่ (คำนวณจากประชากรประมาณ 60 ล้านคน)

โรค

จำนวนคู่เสี่ยงต่อปี

จำนวนเด็กที่เกิดเป็นโรคต่อปี

จำนวนคนไข้ทั้งหมดที่ยังมีชีวิต

Beta-thalassemia

2,500

625

6,250*

Beta-thalassemia/Hb E

13,000

3,250

97,500**

Hb Bart’s hydrops fetalis

5,000

1,250

0

Hb H disease

28,000

7,000

420,000***

รวม

48,500

12,125

523,750

ค่าเฉลี่ยอายุของผู้ป่วยประมาณ  *10 ปี, **30 ปี และ ***60 ปี

ลักษณะปัญหาทางคลินิกและพยาธิวิทยาของโรคธาลัสซีเมีย  แบ่งได้ 3 กลุ่ม คือ

1.  Hb Bart’s hydrops fetalis

     -  เป็นโรคธาลัสซีเมียชนิดที่รุนแรงที่สุด

     -  ได้รับยีน Alpha-thalassemia 1 จากทั้งพ่อและแม่

     -  อาการซีด และบวมน้ำ (hydrops) ตั้งแต่ในท้องแม่ อาจตายในท้อง หรือคลอดออกมาไม่กี่นาทีก็ตาย

     -  75% ของแม่ที่ท้องแบบนี้ จะมีอาการครรภ์เป็นพิษ คือ บวม และความดันสูง

2.  Hb H disease  ในไทยมี 2 ชนิด คือ

         2.1  เกิดจากยีน Alpha-thalassemia 1 และ Alpha-thalassemia 2

         2.2  เกิดจากยีน Alpha-thalassemia 1 และ Hb CS

     -  พบมากที่สุด

     -  อาการคล้ายกัน แต่ 2.2 รุนแรงกว่าเล็กน้อย

     -  อาการจะซีดเล็กน้อย แต่ถ้าเป็นโรคติดเชื้อเฉียบพลันขึ้นมา จะซีดลงไปมากอย่างกระทันหัน เพราะมีไข้และเม็ดเลือดแดงแตก

3.  Beta-thalassemia disease  ทั้งชนิดที่มีและไม่มี Hb E

     -  อาการคล้ายกัน ต่างกันที่ความรุนแรง

     -  อาการจะซีดเหลือง (ดีซ่าน) ตัวเล็กไม่สมอายุ หน้าตาแบบธาลัสซีเมีย คือ       หน้าผากใหญ่ โหนกแก้มสูง จมูกแบน หรือฟันหน้ายื่น ท้องโต (ตับม้ามโตคลำได้ก้อนแข็ง) ไม่มีแรงเพราะโลหิตจาง เป็นไข้บ่อยเพราะติดเชื้อง่าย กระดูกเปราะ อาจมีประวัติกระดูกหักหลายครั้ง ตายเร็ว (5-6 ขวบ หรือ 10 กว่าขวบ) บางรายต้องรับเลือดบ่อยๆ

     -  จะสะสมเหล็กไว้ในร่างกายมากเกิน รักษาโดยการให้ยาขับธาตุเหล็ก

 

อ้างอิงข้อมูลจาก http://www.thalassemia.or.th/

หมายเลขบันทึก: 308503เขียนเมื่อ 25 ตุลาคม 2009 20:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณสำหรับข้อมูลค่ะ

แต่ก่อนไม่ทราบว่าโรคนี้คืออะไร

ตอนนี้พอทราบบ้างแล้ว

โชคดีที่ไม่เป็นหมอจับตรวจ

ผลปรากฎว่าเป็นโรคอ้วนแทนค่ะ

มีการเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชนแบบนี้ดีมากครับผม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท