สางขี้วัว จึงรู้วาง


ความเข้าใจธรรม เกิดไม่ได้ด้วยการคิดเอา

 

จากบันทึก โง่ก่อน มี "โอกาส" ก่อน...ท่านสุญญตา

เมตตาชวนไปเก็บกระดูกที่เชียงใหม่

ยินดีอย่างยิ่งเจ้าค่ะ หากมีโอกาส จะมิมีอิดออดเจ้าค่ะ


 

ผลที่ปราการณ์จากวันนั้น ทำให้หนูมีอะไรที่ค้างคาในใจ

ให้รีบจัดการ  รีบสะรีบสาง ไม่ให้เป็นขี้วัว ที่ต้องถือต้องแบก

ปรากฏว่าใจเบาขึ้น เพราะมันคิดว่าต้องรีบทำ เดี๋ยวตายแล้วอด

 

ได้ทำความเข้าใจว่า ปัญหาที่ค้างคาใจหลายอย่าง แท้ที่จริง ไม่ใช่ผู้อื่น

ทำให้เกิดขึ้น พอมีโอกาสได้ลงมือสะสาง กลับพบว่า

 

เรานี้แหละ เป็นผู้ไม่รู้จักให้อภัยตนเอง ตลอดมา

เพราะทุกคนพร้อมจะให้อภัยคน รู้จักสำนึกเสมอ

มีเพียงความคิดเราเอง ที่ไม่เปิดโอกาสให้ตนเองได้ ออกจากคุก ที่คุมขังใจ

ด้วยเรื่องราวมากมาย

 

มองย้อนไป โอ้ ผู้หญิงคนนั้นช่างน่าสงสาร

มีความโกรธ ความ เพ่งโทษ ความไม่พอใจ

มีขี้วัว เกาะเต็มหัว เกาะ เต็มใจ

แต่พอยอมรับว่า สิ่ง ๆ นั้นเป็นขี้วัว เป็น ปฏิกูล

เป็นส่วนเกินของใจ ค่อย ๆ ใช้ สติ ค่อย ๆ ใช้ปัญญา สะสางปัญหาคาใจ

 

ใจมันโล่ง ปราศจากการดึงรั้ง ไม่มียึด ไม่มีผลักไส แต่ก็ไม่ใช่เฉย ๆ

มันเป็นสภาพวะ ว่าง ๆ ไม่คุ้นเคย

จนครูบาอาจารย์ท่านเมตตาชี้แนะว่า สิ่ง ๆ นี้คือ วาง  

 

อย่างนี้นี่เองครูบาอาจารย์จึงบอกว่า

ความเข้าใจเกิดไม่ได้ด้วยการคิดเอา

ต้องลงมือ ทำ ธรรมจึงจะปรากฏ

สาธุเจ้าค่ะ

หมายเลขบันทึก: 306874เขียนเมื่อ 19 ตุลาคม 2009 11:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

คนเดี๋ยวนี้อ่านหนังสือธรรมะกันมากก็เลยรู้มาก

คนเดี๋ยวนี้ฟังซีดีธรรมะกันมากก็ยิ่งรู้มาก

แต่สัดส่วนแห่งความรู้มากเมื่อเทียบกับการ "ปฏิบัติ" แล้วนั้น การปฏิบัติมีสัดส่วนที่น้อยกว่ามาก

ธรรมะนั้นจักเกิดขึ้นได้ด้วยการ "ปฏิบัติ"

เพราะธรรมะนั้นเป็น "ปัจจัตตัง" ธรรมะนั้นเป็นสิ่งที่รู้และเห็นได้ด้วยตนเอง

มรณานุสสติกัมมัฏฐานก็เช่นเดียวกัน

จะท่องเอา อ่านเอามันก็ไม่ได้ดอก ไม่ได้ผล

ต้องสู้ ต้องลงมือปฏิบัติ

นำชีวิตนี้ให้เข้าไปอยู่ใกล้ความตายให้มากที่สุด "ตายเสียก่อนตาย"

ใครหน้าไหนเล่าที่จะ "หนีความตาย" ไปได้พ้น...

คนในสังคมทุกวันนี้จึงหนีความจริง ความจริงแห่ง "ความตาย..."

จะรวยสักเท่าใด จะหล่อ จะสวยสักปานใด ถึงคราวจะตายอะไรอะไรก็ "ช่วย" ไม่ได้

คนเราเดี๋ยวนี้เหนื่อยกันมาก เหนื่อยหาเงิน หาทอง บำรุงหน้า บำรุงตา หาแล้วก็ตาย สวยแล้วก็ "ตาย..."

ไม่รู้สินะ ทำไม "เงิน" ถึงมีค่า มีบทบาทสำคัญต่อคนในสังคมแห่งนี้

ทำไมคนถึงเอา "เงิน" เป็นตัวกำหนด "ทิศทาง" ของชีวิต

มีเงินก็ตาย ไม่มีเงินก็ตาย

มีเงินน้อยก็ตาย มีเงินมากก็ตาย

ตายไปก็เอาเงินสักแดงไปไม่ได้...

ตอนเช้า ๆ เห็นมนุษย์เงินเดือนขับรถกันให้ขวักไขว่

ขับรถไปทำงาน "หาเงิน หาทอง..."

ออกจากบ้านกันตั้งแต่เช้า "กุลี กุจอ..."

กว่าจะกลับบ้านก็ดึก "เหนื่อยจนสายเอ็นแทบขาด"

สิ้นเดือนมาก็ได้ผลตอบแทนเป็น "เงินบาท" ก่อนกลับบ้านก็แวะจ่ายตลาด ใช้หนี้ ใช้สิน...

ในอีกทาง สุนัขตัวจ้อย เจ้าของมีข้าวให้ตอนเช้าหนึ่งกาละมัง ตอนเย็นหนึ่งกาละมัง

กินอิ่มแล้วก็นอนผึ่งแดดหลับ "สบาย..."

ตอนเย็นก็วิ่งไป วิ่งมา วิ่งเล่นกับ "เพื่อน ๆ" สบาย...

แต่สัตว์ประเสริฐอย่างเราน่ะสิ

ทำงานก็เหนื่อยแล้ว กลับบ้านยังต้องมีภาระหนี้สินติดตามมาจนต้องนอนเอาเท้าก่ายหน้าผาก

ถึงแม้นจะมีเตียงนุ่ม ๆ แต่ก็นอนไม่มีความสุขสู้สุนัขที่นอนเล่นอยู่ข้างถนน

เฮ้อ เกิดเป็นคน คนมีกรรม กรรมของคน คน "กรรม" เงิน...

คนเดี๋ยวนี้อ่านหนังสือธรรมะกันมากก็เลยรู้มาก

คนเดี๋ยวนี้ฟังซีดีธรรมะกันมากก็ยิ่งรู้มาก

แต่สัดส่วนแห่งความรู้มากเมื่อเทียบกับการ "ปฏิบัติ" แล้วนั้น การปฏิบัติมีสัดส่วนที่น้อยกว่ามาก

ธรรมะนั้นจักเกิดขึ้นได้ด้วยการ "ปฏิบัติ"

เพราะธรรมะนั้นเป็น "ปัจจัตตัง" ธรรมะนั้นเป็นสิ่งที่รู้และเห็นได้ด้วยตนเอง

มรณานุสสติกัมมัฏฐานก็เช่นเดียวกัน

จะท่องเอา อ่านเอามันก็ไม่ได้ดอก ไม่ได้ผล

ต้องสู้ ต้องลงมือปฏิบัติ

นำชีวิตนี้ให้เข้าไปอยู่ใกล้ความตายให้มากที่สุด "ตายเสียก่อนตาย"

ใครหน้าไหนเล่าที่จะ "หนีความตาย" ไปได้พ้น...

คนในสังคมทุกวันนี้จึงหนีความจริง ความจริงแห่ง "ความตาย..."

จะรวยสักเท่าใด จะหล่อ จะสวยสักปานใด ถึงคราวจะตายอะไรอะไรก็ "ช่วย" ไม่ได้

คนเราเดี๋ยวนี้เหนื่อยกันมาก เหนื่อยหาเงิน หาทอง บำรุงหน้า บำรุงตา หาแล้วก็ตาย สวยแล้วก็ "ตาย..."

ไม่รู้สินะ ทำไม "เงิน" ถึงมีค่า มีบทบาทสำคัญต่อคนในสังคมแห่งนี้

ทำไมคนถึงเอา "เงิน" เป็นตัวกำหนด "ทิศทาง" ของชีวิต

มีเงินก็ตาย ไม่มีเงินก็ตาย

มีเงินน้อยก็ตาย มีเงินมากก็ตาย

ตายไปก็เอาเงินสักแดงไปไม่ได้...

ตอนเช้า ๆ เห็นมนุษย์เงินเดือนขับรถกันให้ขวักไขว่

ขับรถไปทำงาน "หาเงิน หาทอง..."

ออกจากบ้านกันตั้งแต่เช้า "กุลี กุจอ..."

กว่าจะกลับบ้านก็ดึก "เหนื่อยจนสายเอ็นแทบขาด"

สิ้นเดือนมาก็ได้ผลตอบแทนเป็น "เงินบาท" ก่อนกลับบ้านก็แวะจ่ายตลาด ใช้หนี้ ใช้สิน...

ในอีกทาง สุนัขตัวจ้อย เจ้าของมีข้าวให้ตอนเช้าหนึ่งกาละมัง ตอนเย็นหนึ่งกาละมัง

กินอิ่มแล้วก็นอนผึ่งแดดหลับ "สบาย..."

ตอนเย็นก็วิ่งไป วิ่งมา วิ่งเล่นกับ "เพื่อน ๆ" สบาย...

แต่สัตว์ประเสริฐอย่างเราน่ะสิ

ทำงานก็เหนื่อยแล้ว กลับบ้านยังต้องมีภาระหนี้สินติดตามมาจนต้องนอนเอาเท้าก่ายหน้าผาก

ถึงแม้นจะมีเตียงนุ่ม ๆ แต่ก็นอนไม่มีความสุขสู้สุนัขที่นอนเล่นอยู่ข้างถนน

เฮ้อ เกิดเป็นคน คนมีกรรม กรรมของคน คน "กรรม" เงิน...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท