ชัย ผู้ป่วยจิตเภท


ทีมงานเยี่ยมผู้ป่วย ที่มีอาการทางจิตจากการเสพสารเสพติด มีพฤติกรรมที่เป็นปัญหา ในชุมชน จนผู้ป่วย กลับมาดูแลตัวเองได้ ทำงานช่วยครอบครัวได้

ทีมงานเยี่ยมผู้ป่วย ที่มีอาการทางจิตจากการเสพสารเสพติด มีพฤติกรรมที่เป็นปัญหา ในชุมชน จนผู้ป่วย กลับมาดูแลตัวเองได้ ทำงานช่วยครอบครัวได้

 

 

ชื่อเรื่อง  ชัย ผู้ป่วยจิตเภท

 

 

 

ผู้เล่า   คุณศิริลักษณ์ พยาบาล จาก สอ.หนองแวงศรี ต.สามขา

 

 

เนื้อเรื่อง

 

        เมื่อ 10 ปีก่อน ชัยดมกาว ดมสารระเหยน้ำมันเบนซิน มีพฤติกรรมลักเล็ก ขโมยน้อย ดมกาวแล้วอาละวาด ตำรวจจับ ติดคุก 2 ปี หลังจากออกจากคุก มีอาการทางจิต ไม่ใส่เสื้อผ้า เดินโชว์ไปตามหมู่บ้าน ไม่ดูแลตัวเอง และมีพฤติกรรม ขโมยข้าวของชาวบ้านญาติจึงจับตัวส่งไปรักษาที่ รพ.จิตเวช ขอนแก่น อาการดีขึ้น  แต่พอกลับมาอยู่บ้าน มีอาการกำเริบ แยกตัวไม่ไว้วางใจ  หวาดแวงกลัวคนมาทำร้าย  จึงไม่ได้รับยา ต่อเนื่อง

         การดูแลทีมเยี่ยม ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่สอ. คือพี่ศิริลักษณ์ อสม. กายภาพบำบัด ในครั้งแรกพยาบาลจิตเวช จากรพ.ร่วมเยี่ยมและประเมินคนไข้ในครั้งแรก โดยวางแผนเรื่องการกินยา และฉีดยา หลังจากนั้น ทีมในพื้นที่คือสอ. และ อสม. ติดตามเยี่ยมจนผู้ป่วยไว้วางใจ เวลาไปเยี่ยม ต้องไม่สวมเครื่องแบบ แต่งตัวแบบชาวบ้านธรรมดาผู้ป่วยจึงจะไว้วางใจ และพุดคุยด้วย เพราะผู้ป่วยเคยถูกตำรวจจับติดคุก จึงฝังใจและกลัวมาตลอด 

 

         พอพูดคุยรู้เรื่องแล้วก็ชวนมาทำบัตรประชาชน เนื่องจากชัยอยู่กับพ่อซึ่งแก่มากแล้ว และเขาเป็นมาหลายปีจนบัตรต่างๆ หายหมด โดยขอความร่วมมือกับ รถ EMS จากอบต. (โดยไม่ให้ อพปร.แต่งเครื่องแบบ) ทำบัตรประชาชนได้แล้วผู้ป่วยจึงมีสิทธิการรักษา และทำบัตรผู้พิการ จนได้เงินช่วยเหลือผู้พิการจาก อบต.

 

        ในทุกวันนี้ ชัย พูดคุยรู้เรื่องจัดยากินเองได้ แต่งตัวใส่เสื้อผ้า ตัดผม อาบน้ำ ดูแลตัวเองได้ดี และ ไถนาได้  ช่วยพ่อได้ เปลี่ยนเป็นชัยคนใหม่ จนคนจำแทบไม่ได้

 

 

 

ผู้บันทึก  วัชรินทร์ วะสัตย์  วันที่  23 กรกฏาคม 2552

 

ประเด็นที่น่าสนใจ

 

 

  1. การกินยาอย่างต่อเนื่องเป็นปัจจัยสำคัญของการรักษาผู้ป่วยจิตเภท แต่ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีโอกาสขาดยามากกว่ากลุ่มอื่น หากเป็นไปได้ ทีมเยี่ยมบ้านควรให้ความสำคัญติดตามดูแลใกล้ชิดเป็นพิเศษ(แม้จะดูแลตัวเองได้แล้วก็ตาม) และควรจัดระบบยาที่สะดวกเป็นพิเศษ เช่นนำยาฉีดหรือยากินมาให้ที่บ้าน
  2. ผู้ป่วยจิตเภทแม้ส่วนหนึ่งจะไม่หายขาด แต่สามารถฟื้นฟูให้ดูแลตัวเอง และช่วยเหลือครอบครัวได้มาก ดังนั้นไม่ควรวางเป้าหมายการรักษาเพียงไม่ให้ขาดยา แต่ควรพัฒนาศักยภาพให้เต็มที่ด้วย การใช้กิจกรรมบำบัดคือ ค่อยๆ ให้ผู้ป่วยช่วยงานบ้านง่ายๆ เป็นสมาชิกที่มีคุณค่าของครอบครัวจะช่วยให้สภาพจิตใจดีขึ้นได้มาก
  3. การดูแลต่อเนื่อง และความเป็นมิตรเป็นกุญแจสำคัญ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการหวาดระแวง ควรสร้างความไว้วางใจให้ได้ก่อนเริ่มการรักษา

ผู้สรุปประเด็น นพ.สิริชัย นามทรรศนีย์

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #home health care#kuchinarai#psychosis
หมายเลขบันทึก: 306228เขียนเมื่อ 15 ตุลาคม 2009 22:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤษภาคม 2012 21:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ป็นทีมที่เข็มแข็งนะคะ ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่ดีขอชืนชมคะ

ทีมเยี่ยมบ้าน

ถ้าผู้ป่วยฉุกเฉิน

เรียก EMS

ได้นะคับ

ขอบคุณครับ

เจอผู้ป่วยฉุกเฉิน

ทีมเยี่ยมบ้านจะขอรบกวนนะครับ

... หมอเอก ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท