คุณยายบุญมี


ทีมได้ติดตามเยี่ยม คุณยาย ที่มีปัญหา แผลกดทับที่สะโพก นอนติดเตียง ใช้เวลา 6 เดือน คุณยาย ลุกขึ้นมา เดินได้ ช่วยเหลือตัวเองได้ แผลกดทับที่สะโพกหายดี

บันทึกประการณ์เยี่ยมบ้าน

ชื่อเรื่อง คุณยายบุญมี(นามสมมติ) อายุ 75 ปี

ผู้เล่า คุณศักริน และ คุณธนวิสุทธิ์  สอ.จุมจัง

แก่นของเรื่อง  ทีมได้ติดตามเยี่ยม คุณยาย ที่มีปัญหา แผลกดทับที่สะโพก นอนติดเตียง ใช้เวลา 6 เดือน คุณยาย ลุกขึ้นมา เดินได้ ช่วยเหลือตัวเองได้  แผลกดทับที่สะโพกหายดี

เนื้อเรื่อง

        ผู้ป่วยรายนี้ พบในหมู่บ้านขณะทีมเยี่ยม ได้ออกเยี่ยมบ้านคนไข้รายอื่นที่อยู่ใกล้กัน ทีมเจ้าของไข้ คือ คุณศักรินเป็น พยาบาลจากตึกผู้ป่วยชาย ที่สมัครเข้าร่วมทีม CMU ดูแลผู้ป่วยร่วมกับ สอ.จุมจัง โดยเยี่ยมผู้ป่วย สัปดาห์ละ 1 ครั้ง  และพี่ธนวิสุทธิ์ เป็นพยาบาลที่อยู่ประจำ สอ.จุมจังมีความคุ้นเคยกับชาวบ้านเป็นอย่างดี ครั้งแรกที่พบผู้ป่วย ผู้ป่วยนอนบนที่นอนบนพื้นบ้านลุกนั่งไม่ได้ มีแผล ที่สะโพก ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้  ทีมเยี่ยมรู้สึกหนักใจแต่คาดหวังแค่ว่าดูแลให้ผู้ป่วยดีขึ้น ไม่คิดว่าจะเดินได้ 

         ญาติเล่าให้ฟังว่า เมื่อ 2 ปีก่อนผู้ป่วยมีอาการทางจิต พาไปรักษาได้ยามากินอาการทางจิตดีขึ้นแต่หลังจากนั้นไม่ลุกนั่ง นอนติดเตียงอย่าง เดียว ต่อมาก็มีแผลที่สะโพก ญาติดูแลตามสภาพแต่ไม่ได้พาไปรพ. คิดว่าผู้ป่วยแก่แล้ว คงดูแลได้แค่นี้ คุณยายอยู่กับครอบครัวลูกสาวมีอาชีพทำนา เวลาทำนา ลูกสาวต้องเดินทางไปกลับจากนามาบ้านเพื่อมาหาอาหารเที่ยงให้ผู้ป่วยกินทุกวัน

        ทีมได้ติดตามเยี่ยมต่อเนื่องครั้งแรกทำแผล ให้ และสอนญาติทำแผล  ทางทีมได้ปรึกษาทีมกายภาพบำบัด ได้เข้ามาช่วยดูแลผู้ป่วย ได้แนะนำให้ผู้ป่วยเปลี่ยนจากนอนพื้น เป็นนอนเตียง เพื่อสะดวกในการฟื้นฟู ในเดือนแรกติดตามเยี่ยมทุกสัปดาห์ พยาบาลได้ประเมินความสามารถและความคาดหวังของญาติ พบว่าญาติมีความเต็มใจในการฟื้นฟูผู้ป่วย คาดหวังแค่ให้ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง เวลาญาติไปทำงาน เบื้องต้นพยาบาลจึงทำแผลกดทับ และให้ยาตามอาการ เช่นยาบำรุง ยาระบาย และให้กำลังใจในการทำกายภาพ

ภายใน 1 เดือน ผู้ป่วยเหยียดขาได้  จากนั้นเริ่มฝึกลุกนั่ง ใช้เวลาเกือบ 2 เดือน หลังจากนั้นเยี่ยมทุกเดือน ตอน นี้หลังเยี่ยม 6 เดือน แผลหายดี ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองได้ และเดินเองได้

เทคนิคการกายภาพบำบัด  คือ ถ้าลุกนั่งไม่ได้ให้นอนกายภาพ และให้นอนเตียงเพื่อฝึกลุกนั่ง ถ้านั่งได้ นาน 20-30นาที ให้เริ่มหัดใช้ อุปกรณ์

ผู้บันทึก  คุณวัชรินทร์ วะสัตย์      วันที่  23 กรกฏาคม 2552

ประเด็นที่น่าสนใจ

  1. ภาวะหลายอย่างของคนชรา เป็นภาวะที่แก้ไขได้ แต่ญาติมักเข้าใจว่าเกิดจากความชรา ไม่ต้องรักษา ทีมเยี่ยมบ้านต้องแยกได้ว่าอะไรคือภาวะชรา และอะไรไม่ใช่ ดังเช่นผู้ป่วยรายนี้ การเดินไม่ได้ไม่ใช่ภาวะปกติจากความชรา ต้องหาสาเหตุ และฟื้นฟูเสมอ
  2. การใช้ยาในผู้สูงวัยต้องระวังอย่างมาก เพราะเกิดผลข้างเคียงได้ง่าย เช่นผู้ป่วยรายนี้เกิดผลข้างเคียงจากยาจิตเวชจนเดินไม่ได้ หากไม่ได้รับการฟื้นฟูคงจะเดินไม่ได้ไปเลย

ผู้สรุปประเด็น นพ.สิริชัย นามทรรศนีย์

 

คำสำคัญ (Tags): #home health care#kuchinarai#rehabilitation
หมายเลขบันทึก: 306225เขียนเมื่อ 15 ตุลาคม 2009 22:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 พฤษภาคม 2012 13:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ติดตามเรื่องเล่านะ น่าสนใจและถอดบทเรียนแบ่งปันได้ดีนะคะ

เห็นด้วยกับคุณหมอครับ การช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ของคนชรา บางครั้งต้องแยกระหว่างภาวะเจ็บป่วยกับภาวะชรา ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก(เปรียบเทียบจากตัวผมเอง) ดังนั้นเมื่อมีการเอาประสบการณ์การดูแลแบบนี้มาแชร์ทำให้เกิดการเรียนรู้เพิ่มขึ้น เหมือนได้ลงไปสัมผัสเอง

จะติดตามผลงานครับ

เรื่องน่าสนใจดีค่ะ

อ่านแล้วทำให้เกิดการเรียนรู้งานมากขึ้น...มีกำลังใจในการทำงานมากขึ้นค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท