สำนึกทางสังคมในการผลิตสื่อ


Media

จากการบรรยายในหัวข้อ สำนึกทางสังคมในการผลิตสื่อ เมื่อปี 2546 ในชั้นเรียนระดับปริญญาโทของสาขาวิชา สื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ ม.เชียงใหม่ มีมุมมองที่น่าสนใจดังนี้

- เมื่อ 20 ปีที่แล้ว Media กับ Art เป็นสิ่งที่เข้ากันไม่ได้

- การล่าอาณานิคมในทางจินตนาการ เพราะสื่อโฆษณาถือเป็นสัดส่วน 50 % ของสื่อที่ผู้บริโภคได้รับ

  • หน่วยงานรัฐต้องเข้ามาควบคุม สังเกตจากรายการที่ได้รับความนิยม จะมีอัดการโฆษณาเข้าไปจนเต็ม บางทีรายการโทรทัศน์ความยาว 60 นาที อาจเหลือเนื้อหาของรายการจริงๆไม่ถึง 50 % เท่านั้นที่เหลือเป็นโฆษณา ไม่ว่าจะเป็นตัวโฆษณาตามปรกติ และโฆษณาแฝง เช่น อุปกรณ์ประกอบฉาก ผู้สนับสนุนรายการ ตัวหนังสือที่วิ่งคอยรบกวนโสตประสาทเราเป็นระยะ

- การโฆษณา ใช้เทคนิคการโฆษณาซ้ำๆ เพื่อให้เกิดการจดจำในตัวสินค้านั้นๆ

  • ตัวอย่างเช่น เบียร์สัญชาติไทยแท้ยี่ห้อหนึ่ง มีการโฆษณาถี่มาก ในรายการโทรทัศน์ที่บริษัทเข้าไปเป็นผู้สนับสนุนทั้งทางตรงและทางอ้อม ยังมีการใช้ทั้ง Keyword และเพลง ผ่านทางกลุ่มนักดนตรี, นักแสดงที่มีชื่อเสียง ซึ่งเป็นการทำการตลาดเชิงรุกมากกว่าคู่แข่งขัน จนทำให้บริษัทสามารถแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดได้อย่างรวดเร็ว คู่แข่งขันรายอื่นๆ ต้องปรับกลยุทธ์เพื่อต่อสู้กันขนานใหญ่

- มีการใช้ สัญลักษณ์ทางเพศกับผู้บริโภค

  • ตัวอย่างเช่น โฆษณาเก่าชิ้นหนึ่งเจ้าของ Keyword “ไว้ถามต้นคืนนี้สิ” และจบโฆษณาโดย Close –up ไปที่ดวงตาที่มีนัยทางเพศสื่อออกมาอย่างชัดเจนโดยซึ่งในเวลานั้นนักแสดงหญิงผู้นั้น พึ่งจะเริ่มมีชื่อเสียงและปัจจุบันเธอโด่งดังมากจนอยู่ระดับแถวหน้าวงการบันเทิงไทย นอกจากนั้นยังมีการใช้มุมกล้องโดย Focus ไปตามส่วนต่างๆ ของร่างกายนักแสดงทั้งสอง ไม่ว่าจะเป็นช่วงขาที่เรียวงาม ช่วงหน้าอกและเอวที่ได้สัดส่วน ที่สำคัญสุดคือตอนที่ Focus บริเวณช่วงสะโพกพร้อมกับกระโปรงมินิสเกิ้ตตัวสั้นที่พริ้วตามตัวนักแสดง ถึงแม้การ Focus ต่างๆจะสื่อออกมาเพื่อเน้นให้เห็นว่าสาเหตุที่นักแสดงมีรูปร่างที่ได้สัดส่วนและสวยงาม เป็นผลมาจากสินค้าของตน แต่มันเป็นการใช้ สัญลักษณ์ทางเพศกับผู้บริโภคอย่างชัดเจน

- การวิจัยในต่างประเทศพบว่า ในหนึ่งวันเราต้องบริโภคสื่อประมาณ 2,500 โดยแบ่งเป็น

  • 85 % โฆษณาใช้ไม่ได้ผล
  • 5% โฆษณาแล้วเกิดผลลบ เช่นกรณีภาพยนตร์บางเรื่อง
  • 10% โฆษณาแล้วได้ผล

สรุป เราควรกลั่นกรองสื่อที่ได้รับมาในแต่ละวัน สิ่งที่ไม่ดีไม่สมควรนำมาจดจำ

- การวาง layout ของสื่อสิ่งพิมพ์ที่วางให้สายตาผู้บริโภคพุ่งเป้าไปที่จุดสนใจ

  • มุมมองแบบเฉียงล่างขวา ไปบนซ้าย เพราะเวลามนุษย์เปิดหนังสือสายตาจะมองไปที่มุมล่างขวาก่อน

- กลุ่มเป้าหมายหลักของการโฆษณาคือ เด็ก และผู้หญิง

  • เด็กถือเป็นส่วนที่มีผลกระทบต่อรายได้ของครอบครัวมากที่สุด ผู้หญิง เป็น Sexual Object (กรณีข้อ 4)

- โฆษณามักจะมีการสัญญากับผู้บริโภค กล่าวถึงแต่ด้านดี

  • ตัวอย่างเช่น โฆษณาเครื่องดื่มชูกำลัง มีคำเตือนออกตามมากับตัวสื่อจริง แต่ไม่ถูกทำให้เป็นจุดสำคัญ
  • ธนาคารหนึ่ง มีการโฆษณาเสนอขายตัวหลักทรัพย์เพิ่มทุนเข้าตลาดฯ คำเตือนถูกบรรจุไว้ตรงที่ไม่ใช่จุดสำคัญ

- นักวิชาการสนับสนุนความคิดที่ว่า “โฆษณาสนับสนุนความสงบสุข”

  • เป็นมุมมองที่มองเพียงด้านเดียว เพราะบางครั้งการโฆษณาก็สร้างกระแสความรุนแรงขึ้นมาในสังคม เหมือนกับโฆษณาหลายชิ้นที่ถูกสั่งงดออกอากาศ เช่นสัมภาษณ์นักบินแล้วถามว่านอนกับ….แล้วรู้สึกอย่างไร?

- การต่อต้านสื่อบางประเภท กลับเป็นการกระทำให้สื่อนั้นเข้มแข็งขึ้นมา

  • เหมือนกรณี “เจ้าพ่ออ่างชอบแฉ” ยิ่งตำรวจออกมาปฏิเสธ ยิ่งกลับสร้างความชอบธรรมให้กับฝ่ายตรงข้าม หรือกรณีปัจจุบันเรื่อง การตายของอดีตนักการเมืองผู้ร่ำรวย ยิ่งตำรวจปฏิเสธ ก็ยิ่งสร้างกระแส

สรุปผล

                โฆษณาในยุคปัจจุบันเข้ามาแทนที่ความรู้ของมนุษย์

คำสำคัญ (Tags): #media
หมายเลขบันทึก: 305405เขียนเมื่อ 13 ตุลาคม 2009 03:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มีนาคม 2012 23:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท