ประวัติศาสตร์ศิลป์ที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมทางสายตา


Visual Culture

บทความต่อเนื่องจาก Visual Culture ครับ

 

Saussure เห็นว่า เครื่องหมายเป็นการลอกแบบภาษาพูด และภาษาพูดตรงกับความคิด  ที่มีในสมองมากที่สุด  สิ่งที่เรามองเห็นเป็นการคัดลอกความคิด  ดังนั้นการแยกระหว่างความคิด  ที่สัมผัสไม่ได้กับสิ่งของที่สัมผัสได้ อาจพบได้ในทฤษฎีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ สื่อ  เช่น Internet (เป็นมุมมองผ่านทางความเป็นนักภาษาศาสตร์ ซึ่งช่วยอธิบายให้เราเข้าใจได้มากขึ้น - ผู้เรียบเรียง)  

 

เทคโนโลยีที่เปลี่ยนวิธีการสื่อสารของมนุษย์

เครื่องหมายคือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่เรารู้จัก เช่น ป้ายจราจร  ในแนวคิดของ Saussure เห็นว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่อ้างถึงสิ่งอื่น ๆ เป็นเครื่องหมายได้ โดยเน้นว่า เครื่องหมายไม่ใช่สิ่งที่สัมผัสได้ เป็นการรวมกันระหว่างภาษากับแนวความคิด เช่น ความสัมพันธ์ระหว่าง signified กับ signifier  ไม่สามารถแยกออกจากกันได้  แต่เครื่องหมายกับความหมายไม่ได้เป็นไปตามธรรมชาติ เช่น คำที่ออกเสียงเหมือนกันแต่มีความหมายต่างกัน  จึงไม่มีความสัมพันธ์กัน  จุดอ่อนของ Saussure ที่กล่าวถึงเครื่องหมายคือการอธิบายความหมายของ signified  โดยสะท้อนออกมาเป็นภาพวาดของต้นไม้ เนื่องจาก SAUSURE  เห็นว่า ทุกอย่างที่ไม่ใช่ภาษาถือเป็น signified  ได้  โดยนำมาแทนค่าสิ่งของหรือความคิดใน signified

ในปรัชญาตะวันตก มีการค้นคว้าและพยายามหาภาษาที่ใกล้เคียงกับธรรมชาติมากที่สุด ชาวตะวันตกคิดว่า ภาษาจีนอาจเป็นต้นฉบับภาษาของมนุษยชาติ  และการเขียนภาษาโดยใช้ภาพมาก่อนการใช้ตัวอักษร 

สิ่งสำคัญที่อธิบายถึงความหมายใน Media  Design  นั้น เช่น ใน Internet  การแยกระหว่าง  ICON,  SYMBOLS, และ INDEX  เป็นการพยายามสื่อสารให้ผู้ใช้เข้าใจมากที่สุด  รวมถึงสื่ออื่น ๆ  เช่น การโฆษณา  ได้ใช้เครื่องหมายต่าง ๆ  เพื่อจะสื่อความหมายให้ได้ดีที่สุดเช่นกัน

INDEX 

คือสิ่งที่จะกำหนดคือเหตุและผล เช่น ควันเป็นต้นเหตุของไฟ  แต่อาจมีกฎเกณฑ์บางอย่างที่จะกำหนด index ได้เหมือนกัน เช่น ใน website   การกดปุ่มต่าง ๆ  ที่ทำให้สีของปุ่มเปลี่ยนไปเป็นการออกแบบของนักออกแบบไม่ได้เป็นไปตามธรรมชาติ (ดังนั้นเราเรียก Index ได้ว่าเป็น เครื่องบ่งชี้ - ผู้รวบรวม)

ICON 

คือสิ่งที่ใกล้เคียงหรือเหมือนกับสิ่งของ  คำถามคือต้องทราบมากน้อยแค่ไหนเพื่อจะรู้ความหมายของ ICON  อาจโยงไปถึงคำถามที่ว่า วัฒนธรรมทางสายตาเป็นเป็นภาษาที่เป็นสากลหรือไม่  การรู้ถึงที่ว่ามาของวัฒนธรรมเพื่อจะสื่อสารผ่านสายตา  เป็นคำถามที่ยังไม่มีคำตอบแน่ชัด  แต่นักคิดหลายคนเห็นว่า ภาพใกล้ชิดกับความหมายมากกว่าสิ่งของ

SYMBOLS

การมองรูปภาพในครั้งแรกอาจไม่เข้าใจถึงความหมาย  จึงจำเป็นต้องเข้าใจสิ่งที่อยู่ในรูปถ่ายทั้งหมด ไม่เหมือนกับภาษาที่มีความหมายอยู่ในตัว  แต่ไม่รู้ความหมายของคำอื่น  ตัวแทนในเชิงสายตา เช่น การวาดภาพบ้าน หรือต้นไม้  โดยใช้ลักษณะบางอย่างแทนบ้าน อาจทำให้ทราบได้ว่าเป็นบ้าน  ภาพที่มาแทนค่าของสิ่งต่าง ๆ ต้องมีข้อมูลถึงจะเข้าใจภาพเหล่านั้นได้  การมีข้อมูลมากหรือน้อยไป  อาจไม่เพียงพอในการเข้าใจความหมายของภาพ  ดังนั้นสิ่งสำคัญในการออกแบบคือ การพยายามหาวิธีการสื่อสารที่รวดเร็ว เพื่อให้คนที่มองเห็นเข้าใจได้  การนำบริบททางสังคมและวัฒนธรรมทางสังคมที่มีองค์ประกอบหลายอย่างซึ่งมีส่วนสำคัญต่อภาพ  รวมถึงภาษาที่ใช้อธิบายภาพอาจทำให้ความหมายของภาพเปลี่ยนไปได้  สถานที่ที่แตกต่างกันแต่ใช้ภาพแบบเดียวกัน อาจให้ความรู้สึกต่าง ๆ  ดังนั้นจึงต้องดูว่าอย่างไหนจะมีอิทธิพลต่อความเข้าใจมากกว่ากัน นี่คือที่มาของสัญลักษณ์หรือ Symbol (น่าจะขึ้นอยู่กับพื้นฐานความรู้ของแต่ละบุคคลด้วย - ผู้เรียบเรียง)  

BARTHES  เป็นนักปรัชญาที่ให้ความสนใจในเรื่องความหมายในเชิงวัฒนธรรม  ส่วน SAUSURE  ให้ความสัมพันธ์ระหว่าง signified กับ signifier   การศึกษาความสัมพันธ์ในแนวคิดของ SAUSURE  โดยให้ความสนใจในเชิงวัฒนธรรมด้วย จะทำให้การสื่อสารเข้าใจได้ง่ายขึ้น

 

The printing revolution and Perspective เพื่อทำการเปรียบเทียบ  Internet กับ Technology เก่าที่ผ่านมา มีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง ? และ Internet มีอิทธิพลกับการเปลี่ยนแปลง ชีวิตของมนุษย์ในสังคมอย่างไร ?

การพิมพ์หนังสือ(Printing) ทำให้คนอ่านหนังสือมากขึ้น การอ่านตำราเปรียบเสมือนการเปิดโลกทัศน์ ในอดีตหนังสือมีน้อย เพราะเทคโนโลยีการพิมพ์ยังไม่มีการพัฒนาคนจึงสนใจน้อย ทำให้มีผู้ที่มีความรู้จึงมีน้อยตามไปด้วย โดยปกติคนเราจะเขียนหนังสือเพื่อเป็นการเตือนความทรงจำ  การอ่าน (Reading) และ การเขียน (Writing) ในเรื่องศาสนา กฎหมาย ในอดีตถือเป็นเรื่องศักดิ์ ทำให้มองว่าการถ่ายทอดออกไปสู่ผู้อื่น อาจทำให้ความศักดิ์สิทธิ์น้อยลง (เป็นมุมมองของกลุ่มบุคคลที่แฝงนัยเรื่องการเมือง ซึ่งไม่ต้องการให้คนกลุ่มอื่นๆ มาล้มล้างตนเองได้ เพราะหากคนมีการศึกษาดีกว่าที่เป็นอยู่ เขาย่อมไม่ต้องการฟังคนอื่นที่มาชี้แนะ ดังนั้นจะสังเกตได้ว่าในยุคกลาง พระเป็นผู้กุมอำนาจจริงๆ และพยายามอ้างเรื่องศาสนาเป็นเครื่องมือในการรักษาอำนาจของตนไว้ให้อยู่ในมือเช่นเดิม - ผู้เรียบเรียง)

ประเทศจีน เป็นชนชาติแรกที่กำเนิดการพิมพ์โดยถือกำเนิดมาเมื่อประมาณ พ.ศ.1400 แต่กลับมีการพัฒนาการพิมพ์ที่ยุโรปมากกว่า เพราะในประเทศจีนใช้เฉพาะกับนักวิชาการ,การศึกษา จึงจำกัดการพิมพ์เฉพาะกลุ่ม อีกทั้งนักวิชาการชาวจีนมักป้องกันตนเองจากโลกภายนอก มักคิดเสมอมาตนรู้เพียงผู้เดียว และความรู้นั้นถูกต้องแล้ว ไม่ต้องการให้ใครทราบมากไปกว่าตน การพัฒนาการพิมพ์ในเมืองจีนจึงช้า  (ไม่เห็นด้วยกับความคิดนี้ เพราะยุโรปสามารถหลุดจากการครอบงำของศาสนจักรได้ เลยทำให้มีการพัฒนาการพิมพ์  เพราะกลุ่มอำนาจกลับไปอยู่ในมือกษัตริย์และขุนนางแทน คนสองกลุ่มนี้ใช้หนังสือเพื่อดำเนินการกิจการทางการเมืองและรักษาฐานอำนาจของตนไม่ผิดกับในยุคก่อน แต่เพื่อเติมการศึกษาลงไปให้กับชนชั้นกลาง เพื่อเสริมฐานะอำนาจให้กับตนเองเพิ่มเติม - ผู้เรียบเรียง)

ชาวจีนมีการพัฒนาการพิมพ์ด้วยการแกะสลักบนไม้เป็นตัวอักษร แล้วนำมาประกอบกันเป็นประโยค แต่การพัฒนาเป็นไปได้ช้าเนื่องภาษาจีนมีตัวอักษรจำนวนมาก ภาษาอังกฤษจึงง่ายกว่าเพราะมีตัวอักษรน้อย ใช้แรงงาน ขั้นตอนที่น้อยกว่า หนังสือที่เขียนด้วยมือ มีเต้นฉบับเพียงเล่มเดียว หากจะต้องการพิมพ์มักจะเขียนด้วยมือ ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยน เพิ่มเติมข้อมูลได้ง่าย ไม่มีการเรียงลำดับหน้ากระดาษ

ในอดีต หนังสือจะถูกเก็บรักษาในโบสถ์, วัด โดยหนังสือมีเพียงจำนวนน้อย ไม่มีการจัดหน้าให้เป็นระเบียบ ไม่มีระบบสารบัญ ชื่อผู้แต่ง คำนำ บอกว่าหนังเล่มนี้เกี่ยวกับเรื่องใด  ผู้ที่ชอบอ่านหนังสือจึงอ่านซ้ำๆ เล่มเดิม ในส่วนของสารบัญหนังสือจึงแทบไม่มีความสำคัญเลย เพราะเมื่อบอกว่า คำนี้มีความหมายว่าอะไร อยู่ในหน้านี้ แต่พอได้อ่านอีกเล่ม เรื่องเดียวกัน แต่หน้ากลับคลาดเคลื่อน ดังนั้นสารบัญจึงมีการจัดทำใหม่ทุกครั้ง การตกแต่งหนังสือจะใช้การวาดภาพ ซึ่งบางครั้งภาพไม่ได้เกี่ยวข้อง หรือสื่อถึงเนื้อหาในหนังสือเลย

ช่วงเวลาก่อนศตวรรษที่ 15 จำนวนหนังที่พิมพ์ขึ้นมามีน้อย ส่วนมากเกี่ยวกับศาสนา ศตวรรษที่ 15 การพิมพ์จึงมีการพัฒนามากขึ้น มีการทำ lay out มีระบบมากขึ้น การพิมพ์มี การจัดระบบสารนิเทศ การทำสารบัญ ชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ง เลขหน้า ต่อมาเกิดการเปรียบเทียบระหว่างหนังสือ ว่าหนังสือเล่มไหนดีกว่าอีกเล่ม มีการเปรียบเทียบความคิดของผู้แต่งนำไปเทียบกับหนังสือที่ถูกแต่งโดยอีกผู้แต่งอีกคน

ในศาสนาคริสต์ เกิดการเปรียบระหว่าศาสนาคาทอลิก กับโปรเตสแตน เกิดข้อวิพากษ์ คาทอลิก จัดพิมพ์หนังสือไบเบิลเพื่อเผยแพร่ศาสนาสู่ประชาชน ในทางเดียวกัน คนก็เชื่อว่าการกระทำเช่นนี้ทำให้ความศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาน้อยลง (กรณีของมาร์ติน ลูเธ่อร์ ในประเทศเยอรมันทำให้เกิดนิกายโปรแตสแตนท์ - ผู้เรียบเรียง)

ในประเทศไทย การพิมพ์เข้าสู่เมืองไทยใน ศตวรรษที่ 19 มีการถกเถียงกันว่า การพิมพ์คำพูดของกษัตริย์อาจทำให้ความศักดิ์สิทธิ์น้อยลง เช่นเดียวกับการพิมพ์ภาพของพระเจ้า การพิมพ์ออกมาเป็นตัวหนังสืออาจทำให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น แต่ความศักดิ์สิทธิ์น้อยลง (อาจเกิดจากพวกเชื้อพระวงศ์ที่กลัวสูญเสียอำนาจในมือไปและพยายามหาเหตุผลอ้าง คล้ายกับกรณีในประเทศกลุ่มยุโรป - ผู้เรียบเรียง)

 

การเปรียบเทียบ Internet กับการเขียนหนังสือด้วยมือ และการพิมพ์

เนื้อหาที่นำมาลงใน Internet สามารถเพิ่มเติมได้ ไม่สามารถทำการควบคุมได้ เช่นเดียวกับหนังสือที่เขียนด้วยมือ  ผู้ผลิตสร้าง website ผู้บริโภค ผู้อ่าน มีอัตราใกล้เคียงกัน เกิดคำถามตามมาว่า การพัฒนาจะเกิดขึ้นได้อย่างไร (ควรพิจารณาระดับวัยวุฒิ และคุณวุฒิของผู้เข้ามาใช้บริการเปรียบเทียบด้วย เป็นคำถามที่มองเพียงด้านเดียว - ผู้เรียบเรียง)

การเขียนหนังสือด้วยมือ การคัดลอกอาจมีการเพิ่มเติมเนื้อหา ไม่มีการควบคุมระบบ ผู้บริโภคและผู้ผลิตมีจำนวนใกล้เคียงกัน

การพิมพ์ไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้ มีการควบคุมเนื้อหาจากหนังสือต้นฉบับกับเนื้อหาจากหนังสือที่ถูกพิมพ์ขึ้นจะเหมือนกันอัตราผู้บริโภคมีมากกว่าผู้ผลิต

            ดังนั้นสรุปได้ว่า Internet เหมือนกับหนังสือที่มีพิมพ์ด้วยมือ

ภาพอุดมคติ กับ ภาพที่มองเห็นด้วยตา

ศาตร์ของภาพ คือสิ่งที่ตามองเห็น หรือภาพเชิงอุดมคติ Plato และ อริสโตเติล ถกเถียงกันว่า ภาพจริงหรือภาพที่ใช้คณิตศาสตร์กำหนดภาพในอุดมคติ เช่นร่างกายมนุษย์ กฎเกณฑ์ของ Perspective หรือภาพใกล้เคียงกับการมองเห็นด้วยตา แต่ใช้ตามองเพียงข้างเดียว ไม่เคลื่อนไหว ซึ่งความเป็นจริง เราไม่ได้มองด้วยตาเพียงข้างเดียว และไม่มีกรอบเวลามอง สิ่งที่มองเห็น เป็นภาพเชิงอุดมคติ มีพื้นฐานทางคณิตศาสตร์   ภาพไม่ได้ตรงตามความเห็นจริง

Perspective ทางคณิตศาสตร์มีพัฒนาการมาจากอิตาลี ประเทศในโซนยุโรปพัฒนาด้วยการสังเกตการทดลองโดยศิลปิน ไม่ได้ใช้หลักคณิตศาสตร์ Perspective จึงเกิดขึ้น (ทำให้ในยุคนั้นเกิดนักคิด นักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ลีโอนาโด ดา วินชี หรือ กาลิเลโอ กาลิเลอิ - ผู้รวบรวม)

การมี Perspective อยู่หลายจุด ไม่มีความหมายตามทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ เหมือนมุมที่มนุษย์มองโลก นักปรัชญา กล่าวว่า การมี perspective เพียงจุดเดียว เป็นมุมมองของชาวยุโรปที่มีต่อโลก มีความคิดเดียว ไม่มีความหลากหลายในเชิงวิจารณ์วัฒนธรรม ทุกสิ่งทุกอย่างมีศูนย์รวมที่มนุษย์ มีตำแหน่งตัวตนที่แน่นอน มักทำให้มนุษย์เป็นเหมือนผู้ควบคุม perspective เป็นสัญลักษณ์ว่ามนุษย์สามารถควบคุมธรรมชาติได้ (ถือเป็นการก่อกำเนิดลัทธิล่าอาณานิคมขึ้นตามมา เพราะชาวยุโรปมองว่า โลกทั้งโลกต้องมีความคิดเดียวเหมือนกับตน แต่คนที่มีความคิดแบบนี้ ลืมพิจารณาไปว่า โลกมีทั้งความแตกต่างทั้งทางเชื้อชาติ ศาสนา และสภาพแวดล้อม ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดที่ประเทศโซนยุโรปทำกับอาณานิคมคือ การยัดเยียนภาษาและศาสนาของตนให้กับผู้ซึ่งศูนย์เสียเอกราช ตกอยู่ใต้อาณัติของตน- ผู้รวบรวม)

ศิลปะ perspective ในการวาดภาพ เป็นภาพ 2 มิติ แต่มีการตกแต่ง สี เส้นวาด ทำให้ภาพนั้นเหมือนภาพ 3 มิติขึ้นมาได้การวาดภาพ เวลาและสถานที่ไม่ได้แยกออกจากกันอย่างชัดเจน เพื่อให้ผู้ที่ได้ชมภาพสามารถจินตนาการต่อได้ การจัด perspective กับกล่อง เมื่อเปรียบกับเวทีละคร ภาพจากจุด 1 จุด สามารถสร้างเป็น 2 มิติ หรือ 3 มิติ

Visual Culture ถือว่าวิธีการมองเห็นของมนุษย์ ใช้ perspective บ่อยๆ เวลาที่เราต้องการออกแบบ web ต้องสร้างภาพหรือออกแบบ ให้ เป็นหน้าต่างมองโลก 3 มิติ หรือ 2 มิติ ผ่านทางระนาบที่ถูกตกแต่งด้วยเส้น

ตัวอย่างเช่น จอ Monitor ของคอมพิวเตอร์ ถือเป็นการ painting หรือการแต่งแต้มสีสัน เพราะทำให้เกิดภาคในมุมมอง  2 และ3 มิติขึ้นมา แต่การพิมพ์เป็นแสดงภาพผ่านทางเครื่องมือ โดยเครื่องพิมพ์เป็นตัวสร้างงานที่เป็นตัวหนังสือ , การถ่ายภาพเป็นการใช้กล้องบันทึกภาพ

Technology อาจเป็นเครื่องมือของปีศาจ เป็นการ แสดงให้เห็นถึงความเกียจคร้านของมนุษย์ที่ไม่ต้องการทำงานให้เห็นเหนื่อย แต่ให้ Technology เป็นผู้สร้างงานให้  บางครั้งก็ใช้เป็นตัวแสดงถึงอำนาจบรามีของตนเองที่สามารถเอาชนะข้อจำกัดทางธรรมชาติได้ ในอดีตผู้มีฐานะมักจะถ่ายรูปเพื่อนำมาอวดกัน (แม้กระทั่งในสังคมไทยยุคอดีต ถือกันว่าใครได้ถ่ายรูปจะกลายเป็นบุคคลที่สังคมยอมรับทันที เพราะแสดงถึงว่าบุคคลนั้นมีทั้งอำนาจ และฐานะทางสังคมที่สูง – ผู้เรียบเรียง )กล้องถ่ายรูป สามารถถ่ายในสิ่งที่ตาของมนุษย์จับภาพไม่ทัน เช่น การวิ่งของม้า

             มุมมองของการถ่ายภาพผ่านทางความคิดเห็นของ ATGET ซึ่งบุคคลที่ชื่นชอบการถ่ายรูปสถานที่ที่ไม่มีคนอยู่  เป็นฉากคล้ายกับสถานที่ที่เกิดการฆาตกรรม ซึ่งถูกพัฒนามาเป็นวิทยาศาสตร์การถ่ายภาพ ขึ้นมา เพราะสายตาของมนุษย์ไม่สามารถมองเห็นบางสิ่งบางอย่างได้ สิ่งที่ถือว่าเป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษย์ชาติ เช่น X-Ray เป็นการถ่ายภาพโดยใช้รังสี X เพื่อประโยชน์ด้านการวินิจฉัยรักษาโรค หรือ ภาพที่ตำรวจบันทึกไว้เป็นหลักฐานในที่เกิดเหตุ เป็นต้น นอกจากนี้การถ่ายภาพยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อีกหลากหลายอย่างไม่ว่าจะเป็น สื่อมวลชนใช้การถ่ายภาพเพื่อเป็นเครื่องมือในการทำ ข่าว สถาบันครอบครัวใช้การถ่ายภาพไปในการท่องเที่ยวเพื่อที่จะได้เก็บภาพที่ประทับใจไว้

มุมมองของ Banjamin คิดว่าการถ่ายภาพจิตกรรม ภาพที่ได้นั้น จะเป็นภาพเดียวกับจิตกรรมที่ถูกถ่ายหรือไม่? การถ่ายรูปไม่ได้จับที่ความเป็นจริงเพราะผ่านการ ตัดต่อ ดัดแปลง และตกแต่งมาเรียบร้อย  โดยปกติคนมักจะแต่งตัว แต่งหน้าให้ตัวเองดูดีที่สุดก่อนถ่ายรูป ทำให้รูปที่ได้ไม่ได้ถือว่าเป็นความจริงในแต่ละบุคคล

คำสำคัญ (Tags): #visual culture
หมายเลขบันทึก: 305204เขียนเมื่อ 12 ตุลาคม 2009 13:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 18:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท