ธรรมฐิต
พระ(มหา) วิชิต ชิต สมถวิล(ฐิตธมฺโม)

นครกาย (โดยสังเขป) (ตอนที่ ๔)


เช้านี้นั่งเขียนบันทึกอยู่ที่มงคลพิพัฒน์สมาธิ  สงขลา   อยู่ที่นี้  ต้องตื่นก่อนตีสี่
เป็นผู้ตามอยู่หลายเพลากลับมาอยู่นี่ก็ต้องเป็นผู้นำเช่นเคย 
เอาละเรามาติดตาม  นครกาย  ตอนที่สี่  กันต่อไปว่าเรื่องราวข้างหน้าจะเป็นเช่นไร
ตอน ๑http://gotoknow.org/blog/12121200/302981
ตอน๒http://gotoknow.org/blog/12121200/303066
ตอน๓http://gotoknow.org/blog/12121200/303356
 
 
  เจ้าชายจิตตราชเกือบจะเสียทีนางยักษ์วัฏฏะทุกขีอยู่แล้ว  แต่ด้วยอำนาจบุญกรรมที่เคยสร้างไว้ ก็มีฤาษีตนหนึ่งนามว่า ไตรลักษณญาณ (การรู้ว่าทุกสรรพสิ่งตกอยู่ในไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ไม่แท้ ทุกขัง ไม่ทน อนัตตา ไม่ใช่ของเรา) ทราบด้วยญาณ จึงมาช่วยเจ้าชายจิตตราชไว้ทันเวลา
            ฝ่ายนางยักษ์วัฏฏะทุกขี พอได้เห็นพระฤาษีไตรลักษณญาณ เท่านั้นก็ตกใจเลยหนีหลบซ่อนตัวอย่างเร็วพลัน เพราะเคยโดนฤาษีปราบมาแล้ว
            เจ้าชายจิตตราชทรงได้สนทนากับฤาษีไตรลักษณญาณด้วยความเคารพ ท่านฤาษีไตรลักษณญาณก็ทราบความเป็นมาตามวัตถุประสงค์ว่า  เจ้าชายจิตตราชต้องการจะเดินทางไปเพื่อครองเจ้าหญิงแห่งเมืองปัจจยาการนคร
                                                                                                           
            ท่านฤาษีทูลแก่เจ้าชายว่า เจ้าหญิงแห่งเมืองปัจจยาการ ธิดาของพระเจ้าเวทนานั้น ท่านรู้จักเป็นอย่างดี เจ้าหญิงทั้ง ๓ องค์นี้ มีรูปร่างทรวดทรงงดงามน่าพิสมัยอย่างมาก แต่นิสัยมารยาทไม่ดีสักคนเลย คือ
            เจ้าหญิงตัณหา มีนิสัยอยากได้ มิรู้จักคำว่าพอ ไม่ใส่ใจว่า สิ่งที่ตนได้มาจะดี ชั่ว ถูกผิดประการใด มิสนใจทั้งสิ้น ฯ
            เจ้าหญิงราคา ก็มีนิสัยโลเล หลายใจ รักง่าย เบื่อเร็ว รักคนนั้นบ้าง คนนี้บ้าง ไม่แน่นอนเอาแต่ใจตัวเองเป็นใหญ่ ฯ
            ส่วนเจ้าหญิง อรดี มีนิสัยอิจฉาริษยา ไม่ชอบให้คนอื่นได้ดี พูดยุแหย่ ให้เกิดความแตกแยกอยู่เรื่อยไป ฯ
            เมื่อได้ฟังดังนั้น เจ้าชายจิตตราช ก็เบื่อหน่ายไม่ออยากได้เจ้าหญิงมาครอง จึงขอติดตามท่านฤาษี เพื่อได้ศึกษาศิลปวิทยากับท่าน ฤาษี  ท่านก็เมตตาสอนให้เรียน พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ ทั้งยังอธิบายให้รู้กฎไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จนเข้าใจระดับหนึ่ง
            ฝ่ายมิจฉัตตะอำมาตย์      มิได้หนีไปไกลจากเจ้าชาย   คอยสังเกตการณ์ความเป็นไปของเจ้าชายจิตตราชอยู่ห่าง ๆ   เมื่อเห็นดังนั้นก็หาหนทางเข้าหาเจ้าชายเพื่อหว่านล้อมให้ไปยังเมืองปัจจยาการ เพื่อครอบครองเจ้าหญิง ทั้ง ๓ องค์ให้ได้ เมื่อโอกาสเหมาะก็เข้าไปหาแล้วเท็จทูลว่า ข้าพระองค์มิได้หนีไปไหน เพียงแต่ไปตามพระฤาษีไตรลักษณญาณมาช่วยเจ้าชายทันเวลา พะยะค่ะ  ทูลต่อไปอีกว่า เมื่อนางยักษ์วัฏฏะทุกขี หนีไปแล้วเราควรลาพระฤาษีเพื่อเดินทางไปยังเมืองปัจจยาการนคร  แต่อย่าบอกท่านว่าจะไปยังเมืองปัจจยาการ เพราะท่านคงจะห้ามมิให้ไปอย่างแน่นอน
       เจ้าชายเลยคล้อยตามมิจฉัตตะอำมาตย์ วันรุ่งขึ้นจึงกราบลาพระฤาษีว่าจะกลับไปยังนครกาย  เพื่อพบพระบิดาพระมารดา  จากมานานคิดถึงท่าน แต่ท่านฤาษีทราบเรื่องราวทั้งหมด บอกว่ามิต้องมาโกหกข้าหรอก แต่หากเจ้าชายต้องการจะไปยังปัจจยาการนครจริงเราก็มิอาจห้ามได้หรอก เราจะมอบของวิเศษไว้ติดตัวเจ้าสักอย่าง คือ แว่นวิชชามัย (ความรู้แจ้งเห็นจริงต่อสรรพสิ่งทุกประการ) หากทำอะไรมิได้คิดอะไรไม่ออก แก้ปัญหามิตก ให้ใช้แว่นนี้ส่องดู ก็จะทราบข้อเท็จจริงทุกประการ แต่ว่าเจ้าชายห้ามมิให้ใคร่รู้เป็นอันขาด เพราะจะมีภัยแก่พระองค์อย่างมหันต์
            จากนั้นเจ้าชายก็กราบลาท่านฤาษีไตรลักษณญาณ มิจฉัตตะอำมาตย์ก็มาสมทบระหว่างทางมุ่งตรงสู่ปัจจยาการนครต่อไป............

โปรดติดตามตอนต่อไป

ธรรมะสวัสดีขอรับ

คำสำคัญ (Tags): #ธรรมฐิต
หมายเลขบันทึก: 303548เขียนเมื่อ 6 ตุลาคม 2009 05:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 เมษายน 2012 13:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

นืทานธรรมะเรื่องนี้สนุกดีครับ  ได้หลักธรรมโดยไม่ต้องสอน

มาเอาใจช่วยเจ้าชายจิตตราชเจ้าค่ะ....

อยากรู้จังว่าพระองค์พบกับเจ้าหญิงแล้วจะเป็นอย่างไร...เจ้าหญิงทั้งสามยิ่งมีรูปโฉมงดงามเสียด้วย แล้วเจ้าหญิงสามองค์นี้ องค์ไหนมีรูปโฉมงดงามที่สุดเจ้าคะ? (ในรูปกระกอบนิทานดาวว่าไม่ค่อยจะสวยซักเท่าไหร่...หรือท่านธรรมฐิตวาดไม่สวย?)

น้อมรับนิทานธรรมะดีๆ ยามเช้าเจ้าค่ะ

กราบงามๆ สามครั้งก่อนไปทำงานเจ้าค่ะ

 

Pใครงามทั้งสามนี้อันนี้อยู่ที่แต่ละคนขอรับ..

คนบุราณว่าไว้ว่า

..สองคนยลตามช่อง  คนหนึ่งเห็นโคลนตม  อีกคนเห็นแสงดาวพราวพราย..

สาธุๆๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท