อบรมนักบริหารมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนและช่วยวิชาการ(นบก.) รุ่นที่13 (3)


บริบทเศรษฐศาสตร์กับนักบริหาร

บริบทด้านต่างๆ : บริบท "มุมมองด้านเศรษฐศาสตร์ต่อการบริหารอุดมศึกษา"

วิทยากร ผศ.ดร.สุจิตรา ชำนิวิทย์กรณ์

วันอังคารที่ 22 กันยายน 2552 เวลา 9.00-12.00 น

สรุปเบื้องต้น นางเพียงเพ็ญ ภาคอุทัย

     มุมมองด้านเศรษฐกิจต่ออุดมศึกษา    การลงทุนของรัฐ ด้านการศึกษา ต้องเปรียบเทียบต้นทุน และผลได้ที่จะเกิดแก่สังคม และส่วนตน หากผลได้ส่วนตนมากกว่าสังคม รัฐต้องลงทุนน้อยลง ต้องเก็บค่าธรรมเนียมการศึกษา หรือ ให้ผู้เรียนลงทุนในสัดส่วนที่มากกว่ารัฐลงทุน

     และในการบริหารอุดมศึกษาต้องเข้าใจในบริบทของเศรษฐศาสตร์ ในเบื้องต้นควรรู้จัก คำต่อไปนี้

    1.Gross Domestic Product ,GDP คือ (C,consumption การบริโภค ค่าใช้จ่ายของครัวเรือน+I,investment การลงทุน ภาคธุรกิจ+G,government ค่าใช้จ่ายของรัฐ)+(X,export การส่งสินค้าออกขายต่างปะเทศ-M,import การสั่งสินค้าเข้า)   

   2.External Stability ดุลบัญชีเดินสะพัด = (X ,export - M,import) เป็นตัวชี้วัดภาวะเศรษฐกิจ หาก x-m น้อยกว่า 7% แสดงว่าขาดดุลบัญชีเดินสะพัด หรือ การส่งออกมีมูลค่า(output*price) น้อยกว่าสั่งเข้า  

   3.หากประเทศขาดดุลบัญชีเดินสะพัด เงินบาทจะอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ (เงินดอลลาร์เป็นเงินสกุลกลางที่ของทุกประเทศ) (ใช้เงินบาทจำนวนมากขึ้น เพื่อซื้อเงินดอลลาร์ เช่น ปกติใช้ 35 บาท แต่ต้องใช้เพิ่มเป็น 40 บาท) อย่างไรก็ตามการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดจะทำให้ระบบเศรษฐกิจดีขึ้น เราจึงต้องยอมขาดดุลบ้าง 

   4.ดัชนีราคาprice index  การเปรียบเทียบราคาปีหนึ่งกับราคาปีฐาน ซึ่งเป็นปีที่เศรษฐกิจมีเสถียรภาพ ดัชนีราคานำไปใช้ประโยชน์ในการคิดมูลค่าสินค้าในอนาคต ราคาล่วงหน้า เช่น เงินเดือน กางลงทุน การซื้ออุปกรณ์ต่างๆ หรือ เราใช้คำว่า เงินเฟ้อ inflation ซึ่งค่าที่ยอมรับได้ คือ น้อยกว่า 5%   

    

หมายเลขบันทึก: 302538เขียนเมื่อ 1 ตุลาคม 2009 21:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 09:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท