โครงการศึกษาการจัดการความรู้กองทุนวันละบาท


โครงการศึกษาจัดการองค์ความรู้กองทุนวันละ 1 บาท โดยกองบุญคุณธรรม ต.เมืองลิง อ.จอมพระ สนับสนุนโดย กองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมจังหวัดสุรินทร์ โดยคุณวิเชียร เป้าประสงค์ของวันนี้ (28 ตค.)เพื่อเลือกพื้นที่นำร่องถอดบทเรียนจัดการความรู้ และมีคนทำงาน คุณสมบัติของกลุ่มต้นแบบนั้นต้องเป็นระดับตำบลและตั้งมาอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 1 ปี ข้อสรุปพื้นที่นำร่องต้นแบบถอดบทเรียน คือ 1)ต.เมืองลีง อ.จอมพระ 2) ต.โคกยาง อ.ปราสาท 3) ต.ทุ่งมน อ.ปราสาท 4)ต.แนงมุด อ.กาบเชิง 5)ต.เมืองแกลง อ.ท่าตูม  6)ต.ไผ่ อ.รัตนบุรี เนื่องมาจากมีพื้นที่ตำบลที่สนใจเข้าร่วมโครงการเยอะคุณวิเชียรจึงต้องรับไปและจะไปเสนอเป็นพื้นที่ถอดบทเรียนระยะต่อไปอาทิ  ต.ด่าน อ.กาบเชิง ต.ตะเคียน ต.ศรีสุข อ.ศรีสวรรค์ ต.ทับทัน  ต.คุตัน อ.กาบเชิง ต.หนองบัว หลังจากได้พื้นที่นำร่องแล้วมีกิจกรรมบัตรคำให้ผู้เข้าร่วมทุกคนได้ตอบคำถามใน 3 ประเด็น ประมวลได้ดังนี้

สิ่งที่คาดหวังหลังจากโครงการกองบุญฯ ในพื้นที่

  1. ชุมชนเข้มแข็ง : มีความเข้าใจ ความสามัคคี ความเชื่อมั่นเพื่อเป็นฐานของสวัสดิการชุมชนที่ดี
  2. พึ่งตนเองได้และมีระบบ มีความภาคภูมิใจ มีที่พึ่ง
  3. รับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้
  4. เห็นความสำคัญของสิทธิพื้นฐาน รู้จักออมอย่างทั่วถึง
  5. ขยายกองบุญฯให้เต็มทั้งตำบล(เครือข่าย 100%)
  6. ช่วยเหลือกันในชุมชนและช่วยเหลือตัวเองได้
  7. สมาชิกมีความสุขในการออมและการให้โดยไม่หวังผล
  8. หวังให้กองบุญฯอยู่ได้ตลอดไปและอยู่ได้ไม่มีปัญหา สามารถแก้ไขได้อย่างเป็นรูปธรรม
  9. อยากให้สมาชิกมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

ชาวบ้านจะพูดถึงเราว่าอย่างไร

  1. ชื่นชม ให้กำลังใจ
  2. สร้างประโยชน์ให้ชุมชน
  3. อยากเข้าร่วมเป็นสมาชิก
  4. ทำทำไม? ทำเพื่อใคร?
  5. ชมเชยผู้นำกองบุญฯ
  6. อยากให้ยั่งยืน
  7. เกิดการออม
  8. มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน น่าจะมีตั้งนาน
  9. มีส่วนร่วม ได้ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

และเราจะทำให้สำเร็จได้อย่างไร

  1. เปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมตัดสินใจ
  2. ช่วยคิดช่วยทำ มีความสามัคคีกัน ทำงานเป็นทีม
  3. มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้บ่อย หันหน้าคุยกันให้มากขึ้น
  4. สร้างความเข้าใจกองทุน “ออมเพื่อให้”
  5. ยอมรับฟังความคิดเห็นกันให้มากขึ้น
  6. เน้นการนำข้อมูลมาทำงาน ยึดเหตุและผล
  7. ซื่อสัตย์ สุจริต จริงใจ และเสียสละเพื่อส่วนรวม
  8. สร้างแรงจูงใจให้สมาชิก
  9. คนนำเงิน
  10. ใช้ “ใจ”เป็นหลักในการทำงาน
  11. รับมากจ่ายน้อย
  12. ศรัทธาที่จะเรียนรู้
  13. สร้างความรู้สึกให้สมาชิกเป็นเจ้าของร่วมกัน

 

ส่วนของประเด็นหารือ “ต้นกล้าคุณธรรมสวัสดิการชุมชน” ต่อยอดจากการคุยกับหลวงพี่พิเชษฐ แล้วเมื่อนำเรื่องดังกล่าวหารือในวงเสนอให้มีการกระจายศูนย์ฝึกภายในจังหวัดสุรินทร์ ได้คัดเลือกคณะทำงาน มี พระพิเชษฐ พิเชฎโฐ พระมหาวิระ กิตฺติวณฺโณ พี่หน่อย อาริยา โมราษฎร์ คุณประวัติ เหมาะตัว ร้อยเอกสุลิ ม่านทอง คุณจันทราภรณ์ วงษ์ศรีกุล และคุณวิศิษฐ์ ภานุพินทุ

หมายเลขบันทึก: 302426เขียนเมื่อ 1 ตุลาคม 2009 15:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 20:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท