เติมใจให้เต็ม


การบริการการแพทย์ฉุกเฉิน
หากพูดว่าการทำงานด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์ คือการปฏิบัติด้วยหัวใจแห่งความเอื้ออาทร  เข้าใจทุกข์ สุข เห็นใจ เพื่อนมนุษย์  เต็มใจในการให้การบริการ มีความรู้สึกเป็นสุขเมื่อเห็นเขามีความสุข ทุเลาหรือหายจากการเจ็บป่วยที่ทุกข์ทรมาน รับรู้ถึงความทุกข์ที่ประสบ รวมถึงปลอบใจให้กำลังใจ   แม้จะไม่หายขาดจากโรคภัยที่ประสบอยู่อันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้  ดังจะขอเล่าจากจากทำงานในหน่วยงานหนึ่ง และงานงานหนึ่งที่ปฏิบัติต่อผู้รับบริการ ดังคำกล่าวในโรงพยาบาลสร้างสุข ผู้ใช้บริการอุ่นใจ ผู้ให้บริการมีความสุข   มีผู้ป่วยโรคเรื้อรังโรคหนึ่งในหลายโรคที่เมื่อผู้ป่วยประสบกับโรคแล้วจะก่อให้เกิดความทุกข์ทรมานจากพยาธิสภาพของโรค ประกอบกับความเป็นอยู่  ฐานะเศรษฐกิจ ทำให้ผู้ป่วยเกิดความท้อแท้ หมดหวัง      
หากไม่มีงานบริการงานหนึ่งมาช่วยเยียวยาสภาพจิตใจ  มาเติมเต็มโอกาสเหล่านั้นแล้ว  นึกไม่ออกเลยว่าจะประสบกับภาวะเช่นไร  ยังไม่หมดแค่นั้นหรอก ขณะออกปฏิบัติงาน หลังเสร็จสิ้นภาระกิจจากงานที่ปฏิบัติ ผู้รับบริการปลอดภัย ผู้ให้บริการรู้สึกอิ่มใจ เป็นสุข  เกิดความภาคภูมิใจจากการทำงานที่ได้เกื้อกูลผู้อื่น  นั่นคือการบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ( EMS )   อ๊ะ…หาใช่เป็นการส่งจดหมายด่วนไม่….ไม่ใช่เหมือนแค่การส่งจดหมายด่วนพิเศษเพียงเท่านั้นนะ   เป็นการบริการที่ช่วยเหลือผู้ป่วยได้มากถึงมากที่สุด ที่ได้เข้าถึง  ทั้งตัวและใจผู้รับบริการเชียว  ถามผู้สัมผัสบริการนี้..ด้วยตัวเองดูซี   
ยกตัวอย่างผู้ป่วยโรคเรื้อรังท่านหนึ่งที่ได้เรียกใช้บริการนี้ ( EMS )  อัตราการออกให้บริการจะมีความถี่สูง  ทุกครั้งเมื่อมีอาการของโรคเรื้อรังกำเริบก็จะเรียกใช้บริการตลอด   ผู้ป่วยไม่มีญาติ อาศัยอยู่กับบุตรชาย 1คน ครอบครัวนี้มีเพียง 2 ชีวิต  ภรรยาเสียแล้ว  การบริการที่ออกไปรับทำให้เราได้เห็นถึงสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย  ชุมชน ความเป็นอยู่ การดำเนินชีวิตประจำวัน ที่แท้จริงของผู้ป่วย และได้ให้บริการด้วยความเต็มใจใส่ใจ  เนื่องจากเมื่อแรกๆงานนี้เข้ามา  ทำให้หลายคนคิดว่าเป็นภาระ  เพิ่มภาระงานเดิม  แต่พอปฏิบัติจริง จะเห็นว่ามันไม่จริงอย่างที่เราคิด กลับจะเห็นใจในความทุกข์ของผู้อื่น และนำปัญหาที่พบมาปรึกษาหารือหา  วางแผนการดูแล และหาแนวทางแก้ไข  รวมถึงเพื่อโอกาสพัฒนางาน พัฒนาคน  ผลพวงจากการรับผู้ป่วยมารักษาที่รพ.   เริ่มเป็นจุดกำเนิดของการดูแลสุขภาวะ คือการดูแลแบบองค์รวม  กาย ใจ อารมณ์ สังคมและจิตวิญญาณ 
ได้ให้การดูแลตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยเฉพาะโรค   การให้ความรู้เรื่องการดูแลตนเองต่อเนื่องที่บ้าน  รวมถึงการนัดหมาย การรับยาแทน การเยี่ยมบ้าน และได้ อิงอาศัยกลุ่มงานในโรงพยาบาลที่จัดงานเยี่ยมบ้านไว้ก่อนแล้ว  ทำให้ค้นหาปัญหาได้ในเชิงลึกมากขึ้น    ผู้ป่วยเฉพาะโรคเคสนี้รับบริการคือการบริการoxygen  home  ให้ผู้ป่วยใช้พ่นยา และ ใส่เมื่อมีอาการหายใจเหนื่อย  เมื่อใช้หมดก็บริการส่งไปเปลี่ยนให้ถึงที่บ้านเป็นการดูแลแบบต่อเนื่องบูรณาการ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองอยู่ที่บ้านได้เหมาะสม  โรคเรื้อรังมักส่งผลด้านอารมณ์แนะนำการเข้าวัดหากว่าสะดวก เพื่อการพัฒนาจิตใจให้ผ่องใส   การพูดคุยกับเพื่อนบ้านเรื่องโรคและสภาพแวดล้อมอย่างไรที่ก่อให้โรคกำเริบ เมื่อสภาวะแวดล้อมเข้าใจ ก็จะลดปัญหาต่างๆลงได้บ้าง    การบริการองค์รวมตั้งแต่การออกรับผู้ป่วย กระทั่งการดูแลที่โรงพยาบาล การติดตามปัญหาเมื่อกลับไปอยู่บ้าน   ด้วยความใส่ใจของผู้ให้บริการ ผู้รับบริการเป็นสุขก็ถือว่าได้ทำบุญแม้จะไม่ใช่ในวัดก็ตาม 
 การเห็นคุณค่าของการมีคุณค่า อยู่ที่การทำให้มีคุณค่า

 /aujung ER

คำสำคัญ (Tags): #เต็มใจ
หมายเลขบันทึก: 302170เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2009 17:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 09:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ใช่จริงๆเลย...แบบนี้แหละ

                                    SHA-SONG /siriwan

  • สวัสดีค่ะ
  • การเห็นคุณค่า ของการมีคุณค่า อยู่ที่การทำให้มีคุณค่า (คนจังหวัดชุมพรมองเห็นคุณค่าแล้วค่ะ)

เป็นการให้ความหมาย ของการให้บริการแบบ Holistic care ได้ดีจริงๆค่ะ ชื่นชมจ้ะ /juey

เราทำบุญด้วยใจไม่มีใครเห็นอย่างน้อยคนไข้ก็เห็นว่าเราได้ทำทุกอย่างด้วยใจ ป้าขอเป็นกำลังใจให้จ๊ะ /ป้าไพ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท