เสียงซุบซิบกับเพลงล้างสมองวัยรุ่น [EN]


 [ BBC ] 

ภาพรวมของการวิจัยที่ผ่านมา > [ BBC ]

  • พ.ศ. 2500 อ.เจมส์ วิคารีพบว่า การฉายโฆษณาช่วงสั้นมากๆ แบบ "แวบเข้ามา" ทำให้คนดูหนังซื้อสินค้าเพิ่มได้ เรียกปราฏการณ์นี้ว่า 'subliminal advertising' (sub- = ใต้; liminal = threshold = ระดับการรับรู้ ความรู้สึก) หรือ 'SA'
  • พ.ศ. 2501 สหรัฐฯ ยุโรป และออสเตรเลียห้ามใช้เทคนิคนี้ในการโฆษณา
  • พ.ศ. 2505 อ.วิคารียอมรับว่า ได้ปลอมแปลงผลงานวิจัย
  • พ.ศ. 2517 UN (องค์กรสหประชาชาติ) ประกาศว่า เทคนิค SA เป็นภัยคุกคามต่อสิทธิมนุษยชน
  • พ.ศ. 2528 อ.ดร.โจ สเทสซี แนะนำผ่านวุฒิสมาชิกสหรัฐฯ ว่า ควรมีการศึกษาวิจัยเรื่องนี้เพิ่มเติม เนื่องจากมีการแอบนำไปใช้ในการแสดงเพลงเฮฟวี่ เมทัล (อาจใช้ในการโฆษณาชวนเชื่อ ปลุกระดม ล้างสมองคน โฆษณา หรือยุยงคนในสังคมให้แตกเป็นฝักฝ่ายได้)
  • พ.ศ. 2533 พ่อแม่เด็กผู้ชายหลายคนที่ฆ่าตัวตายหมู่หลังฟังเพลงยูดาส พริสท์ (Yudas Priest) ฟ้องศาล วงดนตรีดังกล่าวยอมรับว่า ใช้เทคนิค SA จริง โดยใช้หลอกให้ผู้ฟังซื้อสินค้ามากๆ แต่ไม่ยอมรับว่า ล้างสมองให้วัยรุ่นฆ่าตัวตาย
  • อังกฤษ (UK) ห้ามใช้เทคนิค SA ใน TV

... 

ศ.นิลลิ ลาวี และคณะ จากมหาวิทยาลัยคอลเลจ ลอนดอน UK ทำการศึกษา โดยให้อาสาสมัคร 50 คนเห็นภาพตัวอักษรที่โผล่ออกมาช่วงสั้นๆ แบบวูบๆ วาบๆ ด้วยความเร็วระดับเสี้ยวเศษของวินาที ทำให้เห็นได้ แต่อ่านไม่ทัน

คำเหล่านี้มีทั้งคำเชิงบวก เช่น ร่าเริง สันติภาพ ดอกไม้ ฯลฯ, คำเชิงลบ เช่น สิ้นหวัง ฆ่า ทุกข์ทรมาน ฯลฯ, และคำกลางๆ เช่น กล่อง หู เตา ฯลฯ

...

หลังการฉายแวบคำผานไป ให้อาสาสมัยลอกว่า คำนั้นเป็นคำกลางๆ หรือมีอารมณ์ไปในเชิงบวกหรือลบ และตัดสินใจเลือกคำนั้นๆ อย่างไร

ผลการศึกษาพบว่า คำตอบแม่นมากที่สุดกับคำเชิงลบ โดยตอบถูก 66% เมื่อเทียบกับคำเชิงบวกซึ่งตอบถูก 50%

...

ท่านรายงานผลการศึกษาในวารสารอารมณ์ (J Emotion) ว่า เทคนิคการใช้โฆษณาแบบวูบๆ วาบๆ หรือ SA ใช้ได้ผล และแนใช้ะนำว่า ถ้าจะโฆษณาอะไรที่ดี ให้ใช้คำพูดเชิงลบกับเรื่องร้ายๆ

ตัวอย่างเช่น ถ้าจะโฆษณาให้ขับรถช้าๆ มีแนวโน้มว่า โฆษณา 'Slow Down' = ขับช้าๆ จะได้ผลน้อยกว่าโฆษณา 'Kill Your Speed' = "อย่าขับเร็ว"

...

ผลการศึกษานี้อาจนำไปใช้ในทางที่ดีได้ เช่น อาจทำเทปเพลงหรือเสียงสวดมนต์ที่แทรกเสียงกระซิบ หรือภาพฉายวาบช่วงสั้นๆ ซุบซิบแบบ SA

ตัวอย่างเช่น แทรกเสียง "ความปวดหายไปๆๆ" สำหรับคนไข้มะเร็ง, แทรกเสียง "อาการดีขึ้น เบาสบาย" สำหรับคนไข้ซึมเศร้า, หรือแทรกเสียง "สบายใจจัง" สำหรับคนไข้โรคเครียด

...

พ่อแม่อาจทำเทปแทรกเสียงสะกดจิตลูกหลาน เช่น "ความขี้เกียจหายไปๆๆ" ให้วัยรุ่นฟัง

ทีนี้ข่าวดีย่อมมาคู่กับข่าวร้าย คือ อาจมีคนนำเทคนิค SA ไปใช้ในการล้างสมองคนได้ เช่น เจ้าสำนักโลภมากอาจแทรกเสียง "บริจาคมากๆ" ไปในเทป หรือมิวสิควิดีโออาจแทรกภาพคำฉายวาบ หรือเสียงสะกดจิตหลอกผู้ฟังได้ ฯลฯ

...

ท่านพระอาจารย์เทพพนม อาจารย์สอนพระอภิธรรม (ท่านเป็นวิศวกรไฟฟ้าก่อนบวช) กล่าวถึงเรื่องการเมืองไว้ว่า "การเมืองเป็นเรื่องที่เราไม่รู้จริง การทุ่มสุดตัวไปกับเรื่องที่เราไม่รู้จริงเป็นความเสี่ยง"

คำแนะนำนี้คงให้ข้อคิดกับพวกเราได้ไม่มากก็น้อย โดยเฉพาะในยุคที่มีเทคนิค SA เที่ยวไปสะกดจิตบ้าง ทำคนให้ลุ่มหลงบ้างต่างๆ นานา

...

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ และอยู่รอดปลอดภัยจากเทคนิคสะกดจิตสมัยใหม่ในทางไม่ดีครับ

...

ภาษาอังกฤษสบายๆ สไตล์เรา                                

ต้นฉบับเรื่องนี้คือ 'Negative subliminal messages work' = "ข้อความเชิงลบใต้ระดับการรับรู้ (subliminal = ใต้ระดับการรับรู้) ทำงานได้"

ข้อความตอนหนึ่งกล่าวว่า 'But critics say there is no evidence this would work outside a laboratory.' = "แต่มีคำวิจารณ์ว่า ไม่มีหลักฐาน (evidence = หลักฐานจากการศึกษาวิจัยอย่างเป็นระบบ) ว่า เรื่องนี้ (SA) ใช้ได้ผลนอกห้องแลป (laboratory = lab. = ห้องปฏิบัติการ)

...

คลิกลิ้งค์ > คลิกลำโพง-ธงชาติ > ฟัง-ออกเสียงตามเจ้าของภาษา 3 รอบ เพื่อให้จำศัพท์ได้ถูกต้องและเร็ว

@@ [ critic ] > [ คริท - ถิค - k ] > noun = นักวิจารณ์ คนชอบจับผิด

@@ [ criticize / criticise ] > [ คริท - ถิ - ส่าย - s ] > verb = วิจารณ์ นินทา

ตัวอย่าง

## They are the music critic for the local magazine. = พวกเขา (พวกเธอ) เป็นนักวิจารณ์ดนตรีให้นิตยสาร (= magazine) ท้องถิ่น.

## They criticize the music video. = พวกเขา (พวกเธอ) วิจารณ์มิวสิควิดีโอ (เรื่องนั้น).

 ติดตามบล็อกของเราได้ทางทวิตเตอร์ > [ Twitter ]

ที่มา                                                                      

  • Thank BBC > Negative subliminal messages work. 28 September 2009.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง สงวนลิขสิทธิ์. ยินดีให้นำไปเผยแพร่โดยอ้างอิงที่มาได้. ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า > 29 กันยายน 2552.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแล ท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.
หมายเลขบันทึก: 301757เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2009 13:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 22:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบพระคุณสำหรับความรู้ใหม่ๆ ค่ะ...

เคยได้ยินมาบ้างเหมือนกัน ที่เห็นได้บ่อยก็คือสินค้าที่มักจะแทรกมาในภาพยนต์ ทำให้ยอดขายสินค้าเพิ่มมากขึ้น...แต่ว่าคนไม่ค่อยได้ตระหนักถึงเรื่องนี้

จะเป็นแฟนคลับติดตามอ่านบันทึกสุขภาพคุณหมอต่อๆ ไปค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท