ศึกษาเทคโนโลยีการพัฒนาเว็บ 2.0


เทคโนโลยี เว็บ 2.0

ศึกษาเทคโนโลยีการพัฒนาเว็บ 2.0

  A Study Technology of Web 2.0
  รวิพร  รุ่งแจ้ง*

บทคัดย่อ

 เว็บ 2.0 เป็นเทคโนโลยีที่มีขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกต่อผู้ใช้ในโลกอินเทอร์เน็ตยุคปัจจุบัน โดยมีการพัฒนาหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นความเร็วในการส่งผ่านข้อมูล ความสามารถในการใช้ข้อมูลร่วมกันเป็นสังคมออนไลน์ ซึ่งผู้ใช้สามารถที่จะทำการเขียน Blog แชร์รูป ร่วมเรียน Wiki โพสต์ความเห็นลงในท้ายข่าว หาแหล่งข้อมูลด้วย RSS เพื่อ Feed มาอ่านที่หน้าจอ และกูเกิ้ล  ซึ่งเว็บ 2.0  ส่วนหนึ่งผู้ใช้จะเป็นผู้ร่วมสร้างเนื้อหาและประสบการณ์ใหม่ในการใช้งานเว็บไซต์ และทำให้ผู้ใช้รู้จักแนวคิดของ Blog เพื่อที่จะนำมาพัฒนาการแบ่งปันความรู้ในองค์กรได้เป็นอย่างดี

Abstract

 Web 2.0 is created technology that can serve the convenience for internet user today. It has various kinds of developments such as the speed in data transfer, the ability to share information on internet online society etc. Moreover the users are able to write Blog picture sharing, learning in Wiki, posting their opinion at bottom of news,  finding data source with RSS to feed on monitor for reading and Google . Moreover Web 2.0, a part of it, user will coordinately create content and new experience for website usage, which makes the user know the concept of Blog and bring it to share knowledge for well development in the organization.


<p>1. บทนำ
เว็บ 2.0 เป็นคำที่หลายต่อหลายคนในวงการอินเทอร์เน็ต และอีคอมเมิร์ซพูดถึงอยู่อย่างต่อเนื่อง และมีประเด็นคำถามกันอยู่ ซึ่งบางกลุ่มมองว่าแนวคิดเรื่องเว็บ 2.0 เป็นเพียงแค่แฟชั่น ไม่มีสาระสำคัญต่อวงการอินเทอร์เน็ต และอีคอมเมิร์ซ แต่ในขณะที่อีกแนวคิดหนึ่งมองว่าเว็บ 2.0 เป็นการ ปฎิวัติทางแนวคิดและวิธีการสร้างรวมถึงบริการบนนั้น เป็นยุคที่มีการเปลี่ยนถ่ายจากคอนเทนต์ที่เป็นสแตติกคอนเทนต์เข้าสู่ยุคของไดนามิกคอนเทนต์ ในวงการของกลุ่มนักพัฒนาเว็บไซต์ทั้งในและต่างประเทศเองยังคงกำลังหาคำตอบ และกำหนดว่าอะไรคือ เว็บ 2.0 และเว็บในแนวคิดดังกล่าวจะมีรูปร่างหน้าตาต่างไปจากเว็บในแบบที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันอย่างไร       แนวทางหนึ่งที่สามารถวางกรอบคร่าว ๆ ของเว็บ 2.0 คือ การกำหนดคุณลักษณะเด่นที่สำคัญของเว็บ 2.0 โดยในปีที่ผ่านมานี้เองที่เกิดความเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้อย่างชัดเจนในแวดวงของเว็บไซต์หลาย ๆ คนพยายามที่จะหาคำจำกัดความ บางคนบอกว่าต้องดูที่แพลตฟอร์ม บางแนวคิดก็ต้องดูที่โครงสร้างและจุดเริ่มต้นของการสร้างเว็บ หรือแนวคิดที่ให้พิจารณาที่ฟังก์ชั่นการใช้งานของผู้ใช้ปรับกระบวนทัศน์การมีส่วนร่วมของผู้ใช้เว็บไซต์
</p>

ปัจจุบัน วิถีทางในการใช้อินเทอร์เน็ตของชาวไซเบอร์เปลี่ยนไปจากเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมามาก เมื่อก่อนเรารู้จักที่จะใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อส่งอีเมล์ คุยกับเพื่อนด้วยแชตรูม หรือใช้โปรแกรมคุย บางครั้งอาจมีการดาวน์โหลดโปรแกรมใหม่  การหาข้อมูล การแลกเปลี่ยนความเห็นที่เว็บบอร์ด การอ่านข่าว ฯลฯ ซึ่งสิ่งเหล่านี้คือการใช้งานหลัก ๆ ที่เราใช้งาน
ปัจจุบันเราใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อ เขียนบล็อก การแชร์รูป ร่วมเขียน Wiki การโพสความเห็นลงในท้ายข่าว การหาแหล่งข้อมูลด้วย RSS เพื่อ Feed มาอ่านที่หน้าจอ และกูเกิ้ล จะเห็นได้ว่าวิธีการใช้ชีวิตบนอินเทอร์เน็ตของชาวออนไลน์เริ่มเปลี่ยนไปแล้ว

พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตดังกล่าวสะท้อนการเปลี่ยนแปลงได้เป็นอย่างดี ซึ่งเป็นที่มาของเว็บ 2.0 หรือยุคใหม่ของ อินเทอร์เน็ตที่ได้เปลี่ยนการใช้งานของเราไปอย่างสิ้นเชิง
2. คุณลักษณะของเว็บ 2.0
หลังจากที่ดอตคอมในยุคนั้นได้ล่มสลายลงไป แนวคิดของการสร้างสรรค์ธุรกิจเว็บไซต์ และการออกแบบต่าง ๆ ได้มีพัฒนาการที่สำคัญเพิ่มขึ้นเช่น เรื่องความน่าสนใจของแอพพลิเคชั่นใหม่ๆ รวมถึงวิธีการดำเนินธุรกิจออนไลน์ด้วยแนวทางใหม่ๆ จึงได้กำหนดคุณลักษณะของเว็บ 2.0 ดังนี้
2.1  ลักษณะเนื้อหามีการแบ่งส่วนบนหน้าเพจ เปลี่ยน    จากข้อมูลก้อนใหญ่มาเป็นก้อนเล็ก
 2.2  ผู้ใช้สามารถเข้ามาจัดการเนื้อหาบนหน้าเว็บได้และสามารถแบ่งปันเนื้อหาที่ผ่านการจัดการให้กับกลุ่มคนในโลกออนไลน์ได้ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นถือว่าเป็นปรากฏการณ์อย่างหนึ่งของสังคมออนไลน์สังคมออนไลน์เกิดความเป็นรูปเป็นร่างมากยิ่งขึ้น เกิดกิจกรรมบนนั้นมากขึ้น
2.3  เนื้อหาจะมีการจัดเรียง จัดกลุ่มมากขึ้นไปกว่าเดิม
2.4 เกิดโมเดลทางธุรกิจที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น และทำให้ธุรกิจเว็บไซต์กลายเป็นธุรกิจที่มีมูลค่ามหาศาล
2.5 การบริการ คือ เว็บที่มีลักษณะเด่นในการให้บริการหลาย ๆ เว็บไซต์ที่มีแนวทางเดียวกัน
3. ความเปลี่ยนแปลงของเว็บ 1.0 เป็นเว็บ 2.0
ความจริงมันยังมีคำอีกมากมายที่กลายเป็นความหมายของเว็บ 2.0 นั่นคือ ถ้าเป็น เว็บ 1.0 จะเป็น Akamai แต่ถ้าเป็นเว็บ 2.0 จะกลายเป็น BitTorrent จาก mp3.com มาเป็น Napster จาก Britannica Online มาเป็น Wikipedia จาก personal websites มาเป็น blogging จาก evite มาเป็น upcoming.org and EVDB จาก domain name speculation มาเป็น search engine optimization จาก page views มาเป็น cost per click จาก screen scraping มาเป็น web services จาก publishing มาเป็น participation จาก content management systems มาเป็น wikis จาก directories          

( taxonomy ) มาเป็น tagging ( ”folksonomy” ) และจาก stickiness มาเป็น syndication ในที่สุด  ดังตารางที่ 1 ในการเปลี่ยนแปลงเบื้องต้นดังที่ได้กล่าวไว้ จะมีคำศัพท์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

Web1.0
Web2.0
DoubleClick
Google AdSense
Ofoto
Flickr
Akamai
BitTorrent
Mp3.com
Napster
Britannica Online
Wikipedia
Personal websites
Blogging
Evite
upcoming.org and EVDB
Domain name speculation
search engine optimization
Page views
cost per click
Screen scraping
web services
Publishing
Participation
Content management systems
Wikis
Directories (taxonomy)
tagging (“folksonsmy”)
Stickiness
Syndication

ตารางที่ 1  ตารางเปรียบเทียบเว็บ 1.0 และ เว็บ 2.0
3.1 Google AdSense
กูเกิ้ล แอดเซ้นส์ คือระบบโฆษณาบนเว็บไซต์ ซึ่งจะทำให้ผู้ผลิตเว็บไซต์ หรือเจ้าของเว็บไซต์ สามารถนำโฆษณาจจากระบบของ Google Adsense มาติดในเว็บไซต์ เพื่อเพิ่มรายได้ให้เว็บไซต์ ซึ่งรูปแบบของโฆษณา ส่วนใหญ่จะมาในรูปแบบตัวอักษร ( Text )  บางทีอาจจะมีในรูปแบบแบนเนอร์ ( Banner ) ดังรูปที่ 1

  

รูปที่ 1 หน้าจอการใช้งาน Google AdSense
3.2 Flickr
เป็นการอำนวยความสะดวกการใช้งานการอัพโหลดไฟล์ประเภทรูปถ่าย ซึ่งเราอาจดาวน์โหลดโปรแกรม มาติดตั้งในเครื่องของเรา หลังจากการติดตั้ง โปรแกรมจะขอให้มีการ Authorization สำหรับ Uploadr ให้ผู้ใช้แสดงความยินยอม และให้ทราบข้อควรปฏิบัติในการใช้งานโปรแกรม 
3.3 BitTorrent  / Napster
BitTorrent เขียนขึ้นมาจากภาษา Python และเป็นตัวซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สที่ใช้ใบอนุญาตแบบ MIT ( ต่างจากซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สทั่วไปที่ใช้ GPL แต่โดยรวม ๆ แล้วก็เป็นโอเพ่นซอร์สเหมือนกัน ) หลักการของ BitTorrent คือ ใช้ช่องสัญญาณฝั่งอัพโหลดที่ว่างอยู่ให้เกิดประโยชน์  โดยปกติแล้วการส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายจะแบ่งช่องสัญญาณเป็นขาลง ( ดาวน์โหลด จากเครือข่ายมายังเครื่องผู้ใช้ ) และขาขึ้น ( อัพโหลด ใช้ในการส่งข้อมูลคืนไป ) สังเกตง่าย ๆ จากไฟของโมเด็มสองดวง คือ อัพโหลดและดาวน์โหลด สำหรับ BitTorrent แตกต่างกับการแชร์ไฟล์แบบ Napster ตรงที่ เราสามารถค้นหาตัวไฟล์ได้จากโปรแกรม Napster ได้โดยตรง เช่น พิมพ์ชื่อศิลปินหรืออัลบั้มไปเพื่อค้นหาเพลง MP3 ทำให้ละเมิดลิขสิทธิ์ได้สะดวก ส่วน BitTorrent เราต้องไปหาไฟล์ Torrent  ( นามสกุล .torrent ) ซึ่งเป็นไฟล์รายละเอียดการดาวน์โหลดมาจากเวบแบบปกติก่อน แล้วค่อยใช้โปรแกรม BitTorrent สั่งดาวน์โหลดอีกทีครั้ง จุดนี้ทำให้ควบคุมการละเมิดลิขสิทธิ์ได้ง่ายขึ้น เพราะจัดการกับเว็บไซต์ต้นทางที่แจกไฟล์ Torrent เพียงแห่งเดียว ข้อดีนี้ของ BitTorrent ทำให้มีหลาย ๆ องค์กรแจกไฟล์ที่ถูกลิขสิทธิ์และเป็นทางการ ผ่านระบบ BitTorrent กันมากขึ้นในช่วงหลัง โดยเฉพาะผู้ผลิตลินิกซ์ค่ายต่าง ๆ ที่แจกไฟล์อิมเมจซีดีและดีวีดีของลินิกซ์เนื่องจากลดภาระของเซิร์ฟเวอร์ไปได้มากนั่นเองโครงการ Fedora และ Mandrake แจกด้วย BitTorrent มาหลายรุ่นแล้ว
3.4 Wikipedia
เป็นสารานุกรม ( Encyclopedia ) บนเว็บที่มีลักษณะเหมือนกับสารานุกรมทั่วๆ ไป คือรวมเอาความรู้ทุกสาขา
มาไว้รวมกัน สิ่งที่แตกต่างออกไปจากสารานุกรมอื่น ๆ ที่จ้างผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขามาเขียนเรื่องในสายงานของตัวเอง อย่างพวก Encarta หรือ Britanica คือ Wikipedia เขียนขึ้นมาด้วยแรงงานอาสาสมัครทั้งสิ้น ตัวอย่างเช่น สมมติว่าท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านแมลง เมื่อเปิดไปหาข้อมูลเกี่ยวกับแมลงเต่าทองบน Wikipedia ปรากฎว่าชื่อทางวิทยาศาสตร์ของเต่าทองนั้นพิมพ์ตกไปตัวนึง ถ้าเป็นสารานุกรมทั่วไปผมต้องแจ้งไปยังผู้จัดทำว่า ชื่อตรงนี้ตกไปนะ ช่วยแก้ไขให้หน่อย หลังจากนั้นก็รอสารานุกรมรุ่นต่อไป ( ในกรณีที่เป็นหนังสือ ) หรือรอผู้ดูแลระบบมาแก้ไข ( ในกรณีที่เป็นเว็บ ) ข้อมูลจึงจะถูกต้อง แต่ถ้าเป็น Wikipedia สิ่งที่ผมต้องทำมีเพียงแค่กดปุ่ม Edit หน้าของแมลงเต่าทอง แก้ไขชื่อให้ถูกต้อง แล้วสั่งเซฟ แค่นี้ผู้ที่มาอ่านหน้านั้นหลังจากที่แก้ ก็จะได้ข้อมูลที่ถูกต้องไปทันที
Wikipedia ใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า wiki ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ทำให้เราสามารถแก้ไขหรือสร้างหน้าเว็บขึ้นมาใหม่ ผ่านเว็บบราวเซอร์ โดยไม่ต้องยุ่งยากกับการสร้างไฟล์ และการเขียนโค้ด HTML ภาษาของ wiki นั้นเข้าใจได้ง่ายและใกล้เคียงภาษาเขียนมากกว่า HTML เช่น ต้องการสร้างรายการ บน HTML ต้องใช้แทก

  • แต่ถ้าใน wiki ก็เพียงแค่ใส่ * นำหน้าข้อความที่อยากให้แสดงเป็นรายการเท่านั้น เทคโนโลยีนี้เริ่มพัฒนาจาก Portland Pattern Repository บางคนอาจจะสงสัยอีกว่า ถ้าใคร ๆ ก็สามารถแก้ไข Wikipedia ได้ จะมีปัญหากรณีมีมือดีมาแกล้งลบข้อมูลทิ้งหรือไม่ ทาง wiki คิดไว้แล้ว การแก้ไขแต่ละครั้งจะมีการบันทึกเป็น history ไว้ และสามารถกู้กลับได้ทันที ดังรูปที่ 2

    รูปที่ หน้าจอการใช้งาน Wikipedia
    3.5 blogging
    คำว่า Blog เป็นคำย่อจากคำว่า Weblog หรือ Web Log ซึ่งเป็นคำที่คิดขึ้นโดย โจร์น บาร์เกอร์ ในปี ค.ศ.1997 และต่อจากนั้นอีก 2 ปีต่อมา ปีเตอร เมอร์โฮลซ์ ซึ่งสร้าง Blog ของตนเอง แล้วตั้งชื่อว่า we blog ทำให้คำว่า Weblog ถูกย่อให้เหลือแค่เพียง Blog และกลายเป็นคำฮิตติดปาก ตั้งแต่นั้นมา
    แต่การเปลี่ยนไอเดียจากกระดานข่าวสู่ Blog นั้น ยังไม่ถือว่าเป็นการประยุกต์ไอเดียเล็ก ๆ มาสร้างธุรกิจใหม่ได้เลยหากไม่มีบริษัทเล็ก ๆ  ผู้ให้บริการจัดทำเว็บไซต์ และมี Blog เป็นของตนเองที่มองเห็นไอเดียเล็ก ๆ นี้จะเพิ่มมูลค่าให้ธุรกิจเหล่านั้นได้อย่างมหาศาล พวกเขาจึงก่อตั้งเว็บไซต์ Blogger.com ขึ้นมาและหวังว่านี่จะเป็นเว็บไซต์ที่ทำเงินได้ ซึ่งสุดท้าย ฝันก็เป็นจริง เมื่อวันหนึ่งเว็บ Blogger.com ของพวกเขาได้รับคำเสนอซื้อจากยักษ์ใหญ่แห่งวงการเสิร์จเอ็น จิ้นอย่าง Google.com ด้วยมูลค่าที่ใคร ๆ คาดไม่ถึง
    เนื้อหาใน blog นั้นประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1.หัวข้อ
    (  title ) 2. เนื้อหา ( Post หรือ Content ) 3.วันที่เขียน
    ( Date ) 
    3.5.1 วิธีการสร้าง blog 
    1. การติดตั้งโปรแกรมทำ blog ขึ้นใช้ใน office ตัวอย่างโปรแกรมที่ใช้สร้าง blog เช่น WordPress  b2evolution Nucleus pMachine MyPHPblog Movable Type Geeklog bBlog ( วิธีนี้ตั้งมีเครื่องเว็บเซิร์ฟเวอร์ในการใช้งานเอง อาจทำเป็น Intranet Blog หรือ Intenet Blog  )
    2. การใช้งาน blog ฟรี จากเว็บที่เปิดให้บริการปัจจุบันมีเว็บที่เปิดให้บริการหลายเว็บอาทิ เช่น Blogger.com ( en ) Bloglines.com ( en )  Exteen.com ( th )   Bloggang.com     ( th ) เป็นต้น
    หนาเว็บที่มีการ update บอยๆ และเรียงโครงสราง ตามลําดับเวลา – อันใหมอยูบนสุด – โดยมักมี link ไปยังเว็บอื่นๆ และมีการแสดงขอคิดเห็นสวนตัว
    บล็อกเป็นเทคโนโลยีการแสดงเนื้อหาแบบใหม่ และที่พัฒนามาจากระบบแสดงผล ข่าวประชาสัมพันธ์จนมีขีดความสามารถที่หลากหลายจนเทียบชั้นได้กับระบบบริหารจัดการข้อมูล ( Content Management ) บนเว็บไซต์เลยทีเดียว เพราะบล็อกในปัจจุบันทำได้ตั้งแต่แสดงภาพ แสดงข้อมูลมัลติมีเดีย จัดทำโพลโหวต เพลงประกอบเว็บ ระบบแสดงความคิดเห็น เป็นต้น ซึ่งในการใช้งาน Blogging ผู้ใช้ต้องทำการสมัครสมาชิกเข้าสู่ระบบ มีขั้นตอนดังนี้
    1. ผู้ใช้ทำการสมัครสมาชิกโดยการป้อนชื่อผู้ใช้ และรหัสผ่านที่จะใช้เข้าสู่ระบบ ดังรูปที่ 3

    รูปที่ 3  หน้าจอการสมัครเข้าใช้งาน Blogging
    2. ทำการกรอกข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการใช้สมัครสมาชิก โดยระบบจะทำการตรวจสอบข้อมูลที่ผู้ใช้ทำการป้อนเข้าสู่ระบบ
    3. เมื่อป้อนข้อมูลเรียบร้อยและทำการเข้าสู่ระบบแล้ว ผู้ใช้จะสามารถทำการสร้าง Blog ของตนเองได้ตามความต้องการ ดังรูปที่  4

    รูปที่ 4 การสร้าง Blog
    3.5.2 ประโยชน์ของ  blog
    1. ใช้เป็นเครื่องมือสร้างความรู้ การเขียน blog สำหรับบันทึกเรื่องราว  ข่าวสาร  ความรู้และประสบการณ์ต่าง ๆ ในสิ่งที่ผู้เล่าสนใจ เป็นการถ่ายทอดสิ่งที่ถูกบันทึกไว้ในสมองลงสู่ตัวหนังสือการเขียนต้องมีอิสระทางความคิดในรูปแบบที่เป็นตัวของตัวเอง จะช่วยอำนวยให้การดึงเอาความรู้ฝังลึกถูกแสดงออกมาได้โดยไม่ยากนักน็ และการเขียน blog อยู่เป็นประจำก็จะสามารถนำมาสู่การสร้างขุมความรู้  ( Knowledge  Assets ) อย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ การเก็บรวบรวมและการแก้ไขหรือเพิ่มเติมความรู้ก็ทำได้โดยสะดวก รวดเร็ว
    2. เป็นเครื่องมือในการเผยแพร่ความรู้ โดยหลักการของ blog คือการเผยแพร่เรื่องราวที่ผู้เขียนเขียนไว้บน blog เพื่อแสดงตัวตนของผู้เขียนออกสู่สาธารณชนซึ่งนั่นหมายถึง blog ย่อมมีความสามารถในการสนับสนุนการเข้าถึงความรู้ได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว ทันทีที่ผู้เขียนมีการเพิ่มเติมหรือแก้ไขความรู้ที่มีอยู่บน blog ไฟล์ RSS ก็จะทำการดึงเอาเนื้อหานั้น ๆ มาใส่ไว้ในไฟล์ด้วยทันที
    3. เป็นเครื่องมือแลกเปลี่ยนความรู้ การเขียน blog จะอนุญาตให้ผู้อ่านสามารถแสดงความคิดเห็นต่อความรู้ที่ผู้เขียนถ่ายทอดลงไปใน blog และผู้เขียนได้เขียนโต้ตอบต่อความคิดเห็นนั้น ๆ ในลักษณะของการสนทนาเพื่อหาความแตกฉานในตัวความรู้ ถือได้ว่าเป็นการร่วมกันสกัดความรู้ฝังลึกได้อย่างดี ดังรูปที่ 5

    รูปที่ 5  การแสดงความคิดเห็นการใช้งาน Blogging
    4. เป็นเครื่องมือในการค้นหาความรู้ ผู้ชำนาญการ และชุมชนปฏิบัติ การเขียนและอ่าน blog เป็นวิธีการค้นหาความรู้ ช่วยให้ค้นพบผู้มีความรู้ความชำนาญในด้านต่าง ๆ ได้รวดเร็วขึ้น ไม่ว่าจะโดยการเขียน blog ที่มักอ้างถึง blog อื่น ๆ โดยการโยงลิค์ไปหาบทความหรือบันทึกนั้น ๆ อีกทั้งลิค์ที่ผู้เขียนบรรจุไว้ใน blog ซึ่งอยู่นอกตัวบทความ หรือการร่วมเป็นสมาชิกของ blog ชุมชน
    5. เป็นเครื่องมือในการรวบรวมและแยกแยะประเภทของความรู้ สกัดแก่นความรู้ และสร้างความสัมพันธ์ของความรู้ วิธีการหนึ่งที่ระบบ blog โดยทั่วไปนำมาใช้ในการรวบรวมและแยกประเภทของของบันทึก คือการให้ผู้เขียนระบุหมวดหมู่หรือคีย์เวิร์ดของบันทึกนั้น ๆ ไว้ ซึ่งบันทึกหนึ่ง ๆ อาจมีความเหมาะสมในการแยกหลายหมวดหมู่ ถือเป็นการสกัดแก่นความรู้จากขุมความรู้ โดยที่ตัวผู้เขียนเอง อาจจะดึงเอาคีย์เวิร์ดของชุมชนที่ถูกรวบรวมผู้ใช้หลายคน
    6. เป็นเครื่องมือในการสร้างลำดับความน่าเชื่อถือและความถูกต้องของความรู้โดยผู้นำเอาความรู้นั้นไปใช้                      สิ่งที่นักปฏิบัติด้านการจัดการความรู้อยากให้เกิดขึ้นภายหลังจากการที่ได้มีการจัดการความรู้ ก็คือ การที่มีผู้อื่นนำเอาความรู้นั้น ๆ ไปใช้ให้เกิดผลและนำผลมาปรับปรุงความรู้เดิมให้เกิดความรู้ตัวใหม่ หรือทำให้ความรู้นั้น ๆ มีความถูกต้องมีหลักฐานที่วัดได้ทางวิทยาศาสตร์ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ระบบ blog ประกอบกับเทคโนโลยีในการ พัฒนาเว็ปในปัจจุบัน สามารถสร้างระบบ Rating หรือระบบการจัดลำดับความน่าเชื่อถือ และความถูกต้องของความรู้หนึ่ง ๆ ได้โดยตรงจากผู้อ่าน blog  ซึ่งอาจจะเป็น ผู้ที่ได้นำเอาความรู้นั้นๆ ไปใช้เองอีกด้วย หรือการแสดงสถิติต่างๆของ blog เช่น บันทึกที่ได้รับการแสดงข้อคิด เห็นมากที่สุด หรือ บันทึกที่มีผู้อ่านมากที่สุด ก็สามารถเป็นเครื่องมือพิสูจน์ความน่าเชื่อถือ และความถูกต้องของความรู้ได้ในระดับหนึ่งด้วยเช่นกัน
    7. ใช้เป็นเครื่องมือแสดงรายละเอียดของแก่นความรู้อย่างเป็นระบบซึ่งนักวิทยาศาสตร์ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ กล่าวไว้ว่า "Imagination is more important than knowledge."  การไม่หยุดคิดที่จะวิจัยและพัฒนา เครืองมือเทคโนโลยีเพื่อช่วยสร้างความสมบูรณ์แบบของระบบ การจัดการกับความรู้เป็นสิ่งที่สนับสนุนให้เกิดขึ้นได้ เช่น ในปัจจุบันระบบ blog ถือว่าเป็นเครื่องมือสำหรับเสริมสร้างประสิทธิภาพในการเล่าเรื่อง ซึ่งถือเป็นเทคนิคที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายในการจัดการความรู้ แต่เพื่อที่จะสกัดความรู้ฝังลึกที่มีความซับซ้อน การใช้เทคนิคการเล่าเรื่องเพียงอย่างเดียว หรือการร่วมช่วยกันเล่าก็ตาม ก็อาจจะยังไม่สามารถสกัดเอาความรู้ออกมาได้หมด เพราะความสับสน และความไม่มีรูปแบบในตัว ของความรู้เอง ดังนั้น เทคโนโลยีที่น่าจะสามารถช่วยจัดการความรู้ประเภทนี้ได้ ก็เช่น Rule-based reasoning หรือ Fuzzy logic เพื่อ ใช้ในการทำเหมืองความรู้ ( Knowledge mining ) เป็นต้น
    8. เป็นศูนย์ความรู้ขององค์การ เพราะให้พนักงานและบุคลากร แต่ละคนเขียน blog ส่วนตัวไว้ หากพนักงานและบุคลากรท่านนั้นลาออกไป ความรู้ยังคงอยู่ที่องค์กรให้รุ่นน้องศึกษาไปโดยการถ่ายทอด หรือแลกเปลี่ยนความรู้ โดยเฉพาะ  Tacit  Knowledge เขียนออกมาเป็น "เรื่องเล่า"
    3.5.3 การประยุกต์ใช้ blog ให้เหมาะสมกับองค์กร
    ขั้นตอนสำหรับการประยุกต์โดยมีประเด็นที่ต้องสนใจ
    1. ระยะเวลาการใช้งานของบล็อก เพราะผู้ให้บริการในต่างประเทศหลายราย เปิดให้บริการ BLOG แบบเก็บเงิน โดยมีตั้งแต่ชนิดที่ให้ใช้บริการฟรีเป็นระยะเวลา หลังจากหมดระยะเวลาฟรีก็จำเป็นต้องจ่ายค่าเช่าพื้นที่ หรือบางรายใช้วิธีเก็บตามจำนวนผู้เข้าชม หากเข้าชมมากถึงเกณฑ์ก็ต้องเสียค่าบริการ แต่อย่างที่บอกตั้งแต่ต้นว่าเราต้องการสร้างบล็อกที่ไม่เสียค่าใช้จ่ายเพื่อจะได้ไม่ต้องกังวลเงินที่ต้องลงทุน ดังนั้น บล็อกฟรีเท่านั้นคือ คำตอบ ซึ่งผู้ให้บริการฟรีมีมากมาย เช่น MSN, Blogger, Sanook! BLOG, EXTEENBLOG เป็นต้น
    2. ความสะดวกในการใช้งานควรคำนึงถึงความสะดวกทั้งผู้สร้างและผู้ชม เนื่องจากบล็อกส่วนใหญ่มีการอัพเดตบ่อย ๆ  ผู้สร้างบางรายอัพเดตข้อมูลทุกวัน ดังนั้น หากใช้งานยากหรือกว่าจะล็อกอินเข้าในงานได้ต้องเสียเวลานานก็คงไม่เหมาะสมที่จะเลือกใช้
    นอกจากนี้ ยังต้องมองในมุมของผู้ชมด้วยเช่นกัน หากผู้ให้บริการบล็อกเป็นผู้ให้บริการรายเล็ก มีแบนด์วิดธ์ของเซิร์ฟเวอร์ต่ำ การเรียกหน้าเว็บจะทำได้ช้า ส่งผลต่ออารมณ์ผู้ชมบล็อกของเราด้วย ดังนั้น สำหรับคนไทยทางเลือกที่เหมาะสมจริงๆ ควรจะเป็นบล็อกจากผู้ให้บริการในประเทศ เพราะนอกจากเรื่องความเร็วที่ใช้แบนด์วิดธ์ภายในประเทศแล้วยังมีเรื่องของภาษาที่ทำให้สามารถใช้งานได้สะดวกมากยิ่งขึ้นด้วย
    3. การปรับแต่งบล็อก แน่นอนว่าระบบการให้บริการบล็อกส่วนใหญ่เป็นโปรแกรมสำเร็จรูป ดังนั้น หน้าตาของบล็อกจึงดูคล้ายๆ กัน แต่หากเราเลือกผู้ให้บริการบล็อกที่มีระบบปรับแต่งได้อย่างไม่จำกัด ไม่ว่าจะเป็นการเลือกสี เลือกธีม เลือกลาย เลือกฉากพื้นหลังเลือกตำแหน่งการ จัดวางเนื้อหาได้อย่างน้อยก็ช่วยให้บล็อกของเราสวยงามแตกต่างจากผู้อื่น
    4. ฟังก์ชั่นอื่น ๆ พิเศษเพิ่มเติม ผู้ให้บริการบล็อกส่วนใหญ่จะมีฟังก์ชั่นมาตรฐาน เช่น อัลบั้มแสดงรูป ระบบปฎิทิน เป็นต้น แต่ในส่วนของฟังก์ชั่นพิเศษต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้เราไม่จำเป็นต้องไปหาผู้ให้บริการรายอื่นนั้นมีให้เลือกมากน้อยเพียงใด อาทิ ระบบจัดทำแบบสำรวจ ระบบปฎิทินเตือนความจำ ระบบกำหนด การแสดงผลข้อมูลล่วงหน้า ระบบเตือนผู้ตอบข้อความในบล็อก เป็นต้น สิ่งเหล่านี้อาจไม่ใช่ฟังก์ชั่นสำคัญ แต่หากเลือกผู้ให้บริการที่มีฟังก์ชั่นพิเศษมากกว่าได้ย่อมเป็นคำตอบที่ดีกว่า
    3.5.4 หลักการเขียนบล็อก
    1. เมื่อมีข้อผิดพลาดใดๆ เกิดขึ้นในบล็อก ไม่ว่าจะเป็นการเขียนบันทึก ข้อมูลเจ้าของบล็อก หรือ ลิงค์ต่างๆ ก็ตาม เจ้าของบล็อกควรแก้ไขและแจ้งให้ผู้อ่านทราบโดยทันที
    2. เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในบันทึก ให้รักษาข้อความเดิมไว้จะทำการขีดฆ่าข้อความนั้นเสีย ( โดย กด ABC ที่มีขีดกลางทับที่แผงเครื่องมือการเขียนบันทึก ) แล้วแสดงข้อความใหม่ตามข้อความเดิมนั้น ๆ
     3. ห้ามลบทิ้งบันทึกที่เขียนไว้แล้วเด็ดขาด เพราะลิงค์ที่อยู่ของบันทึกจะถูกลบออกไปด้วย และหากมีผู้อื่นอ้างอิงงานเขียนชิ้นนี้อยู่บ้างแล้ว ก็จะไม่สามารถคลิ๊กมายังลิงค์นั้นๆได้ แต่หากเจ้าของบล็อกมีบันทึกที่สร้างขึ้นเพื่อทดสอบการใช้งาน ก็ควรทำการลบบันทึกประเภทนี้ออก
    4. ไม่ควรลบข้อคิดเห็นของผู้อ่าน ยกเว้นข้อคิดเห็น ที่ไม่สุภาพสร้างความปั่นป่วน หรือเป็น spam
    5.ไม่ควรเขียนอ้างอิงถึงข้อพิพาทความไม่ลงรอยใดๆ กับผู้อื่น
    6. เจ้าของบล็อกที่เขียนเกี่ยวเนื่องกับองค์กรที่ทำงาน ไม่ควรเขียนบันทึกใดๆ ที่เป็นการละเมิดสัญญาจ้างงาน
    7. เจ้าของบล็อกควรนำเสนอและแยกแยะประเด็นระหว่าง ข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น และข้อความโฆษณา ให้ผู้อ่านได้เข้าใจอย่างถูกต้อง
    8. ห้ามนำเสนอข้อมูลที่เป็นเท็จ

    9. หากไม่เห็นด้วยกับข้อคิดเห็นที่ผู้อ่านเสนอมาในบล็อก เจ้าของบล็อกก็ควรแสดงข้อคิดเห็นตอบกลับโดยความเคารพในข้อคิดเห็นที่แตกต่างกัน โดยไม่นำมาเป็นเรื่องส่วนตัว
    10. เมื่อมีการใช้ข้อความจากที่อื่น ต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มา และลิงค์ที่อยู่อย่างชัดเจน
    11. ควรเน้นคุณภาพงานเขียนของทุกบันทึก เช่น ตรวจสอบการสะกดคำก่อนตีพิมพ์บันทึกนั้นๆ ลงในบล็อก
    12. ควรเขียนบันทึกอย่างรอบคอบและถูกต้อง
    13. ควรตอบอีเมลและข้อคิดเห็นที่ได้รับจากผู้อ่านอย่างเหมาะสมและโดยทันที
    14. ควรเขียนบล็อกเป็นประจำ อย่างน้อยสัปดาห์ละหนึ่งครั้ง
    3.5.5  การอ่าน  blog ด้วยโปรแกรม RSS Reader โดย BlogExpress
    ในการอ่าน blog นั้นตั้งอาศัยโปรแกรมตัวหนึ่งที่เข้ามามีส่วนร่วมคือ BlogExpress โดยผู้ใช้ติดตั้ง Microsoft.NET Framework Redistrubutable 1.1 และติดตั้งโปรแกรม BlogExpress  ซึ่งง่ายต่อการใช้งานของผู้ใช้ ดังรูปที่ 6
    โดยปกติที่ท่านจะพบเมื่อเขียนบล็อคคือความรู้สึกอยากเขียนอยู่เรื่อย ๆ แต่การเขียนบล็อคที่ดีที่ทำให้บล็อคเป็นที่นิยมนั้นส่วนหนึ่งมาจากการเขียนที่อ้างอิงไปยังบันทึกของผู้เขียนบล็อคท่านอื่น ๆ และแสดงความคิดเห็นต่อบันทึกนั้น ๆ ดังนั้น อาการอีกอย่างที่ท่านจะพบควบคู่กับความรู้สึกในการอยากเขียนบล็อคคือการอยากอ่านบล็อค แต่การอ่านบล็อค ถ้าให้เข้าเว็บบล็อคทีละเว็บทีละเว็บ ก็อาจทำให้ท่านรู้สึกขัดใจไม่ทันใจ ด้วยความเร็วของอินเทอร์เน็ตที่อาจจะสุดแสนช้า ก็จะยิ่งอาจจะทำให้หงุดหงิดมากยิ่งขึ้นแต่โดยทั่วไปแล้ว มีเทคโนโลยีอย่างหนึ่งที่ควบคู่มากับ บล็อค ซึ่งท่านที่อ่านและเขียนบล็อคควรจะต้องรู้จักกันไว้ คือ RSS ซึ่งย่อมาจาก Really Simple Syndication ซึ่งมีหลายเวอร์ชันด้วยกัน เช่น RSS 0.91, RSS 1.0, RSS 2.0, และ ATOM

  • รูปที่ 6 การใช้งาน BlogExpress
    RSS หรืออาจเรียกว่า Site feed หรือ Feed เฉย ๆ ก็ได้ เป็นไฟล์ในรูปแบบที่คล้ายคลึงกับ HTML เรียกว่า XML ซึ่งรวบรวมเอาข้อมูลที่มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงไว้เป็นชุด ๆ และเป็นลิงค์ที่คลิ้กเข้าไปดูเนื้อหาเต็มๆ ที่อยู่บนเว็ปได้ ลองเปรียบเทียบง่ายๆ ก็คือ Feed เป็นเหมือนช่องสำนักข่าวโทรทัศน์หนึ่งช่อง (Channel) เช่น ช่อง 9  ช่อง 7  ช่อง 5  ช่อง 3 หรือ ITV เป็นต้น ช่องข่าวแต่ละช่องก็จะมีข่าวด่วนอัพเดตหลาย ๆ ข่าว (Items) ซึ่งประกอบด้วยหัวข้อข่าวและข่าวที่สรุปๆ นำมาเสนอให้ผู้ชมได้ชมกันโดยทันทีและสั้นกระทัดรัดอีกด้วย เทคโนโลยี RSS มีประโยชน์มากสำหรับทั้งผู้อ่านและเจ้าของเว็ปไซต์หรือเว็ปบล็อคต่างๆ ในแง่ของผู้อ่านนั้น แทนที่จะต้องเข้าไปทีละเว็ปไซต์หรือเว็ปบล็อคเพื่ออ่านข้อมูลข่าวสาร การสมัครรับ Feed จะช่วยประหยัดเวลาและสะดวกในอ่านโดยใช้โปรแกรมหรือเว็ปไซต์ที่กล่าวมาข้างต้น และปลอดภัยคลายกังวลจากจดหมายข่าวขยะต่างๆ ที่อาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้ตู้จดหมายเต็มเป็นประจำและนำมาซึ่งไวรัสและหนอนคอมพิวเตอร์ เพราะด้วยการสมัครรับ Feed จากเว็ปไซต์หรือบล็อคที่ผู้อ่านสนใจ ผู้อ่านก็จะสามารถติดตามอ่านข่าวสารที่อัพเดตได้ทันท่วงที โดยไม่ต้องให้อีเมล์แอดเดรสเพื่อจำใจสมัครรับจดหมายข่าวกับทางเว็ปไซต์ที่อาจจะดูไม่น่าไว้วางใจส่วนประโยชน์ในแง่มุมของเจ้าของเว็ปซึ่งเป็นผู้นำเสนอข้อมูลแก่ผู้อ่านนั้นชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นการนำเอา RSS มาเป็นเครื่องมือทางการตลาดในการนำเสนอข้อมูลล่าสุดส่งถึง Desktop ของลูกค้าโดยความฉับไวโดยไม่จำเป็นว่าจะต้องเพียงบทความหรือบันทึกที่อยู่บนบล็อคเท่านั้น ข้อมูลอื่นๆ เช่น ปฏิทินกิจกรรม ข่าวสารของบริษัท เอกสารแนะนำสินค้าใหม่ บทความที่น่าสนใจ เป็นต้นนอกจากนี้ จากปรากฎการณ์อีเมล์ขยะ ( Spam Email ) หรือ ( Junk Email ) ที่มีมากขึ้นเป็นทวีคูณ ทำให้บริษัทที่ให้บริการฟรีอีเมล์ หรือบริษัทที่มีอีเมล์เซิร์ฟเวอร์ของตนเองจำเป็นต้องใช้โปรแกรมในการสกัดกั้นอีเมล์ขยะเหล่านี้ ซึ่งเซิร์ฟเวอร์จะสกัดเองอัตโนมัติหรือไม่ก็ให้ผู้ใช้เป็นผู้กำหนดการสกัดเองด้วย ด้วยเหตุนี้ อีเมล์ที่ส่งมาที่ผู้ใช้บ่อยๆ อาจจะเป็นรายวันหรือรายสัปดาห์ เช่น จดหมายข่าว ( โดยเฉพาะที่มีการแนบเอกสารมากับอีเมล์นั้นๆ ด้วย ) มักจะถูกเซิร์ฟเวอร์มองว่าเป็นอีเมล์ขยะ หรือผู้ใช้เองมักจะเพิกเฉยไม่อ่านไปเลยและเกิดเป็นพฤติกรรมที่ทำเป็นประจำ ซึ่งทำให้ผู้ใช้พลาดข่าวสารที่สำคัญของบริษัทผู้นำเสนอข้อมูลโดยสิ้นเชิง ดังนั้น จะเห็นได้ชัดว่า แนวโน้มการใช้ Feed แทนอีเมล์เพิ่มมากขึ้นและผู้อ่านมักจะอ่านข้อมูลบน Feed มากกว่าบนอีเมล์ เนื่องด้วยเหตุผลดังกล่าวมา
    4. สรุป
    เว็บ 2.0 บนอินเทอร์เน็ต บางมุมมองคิดว่าเป็นมาตรฐานใหม่ และบางมุมมองคิดว่าเป็นซอฟต์แวร์รุ่นใหม่จากไมโครซอฟท์ หรือกูเกิ้ล แต่จริงๆแล้ว เว็บ 2.0 ไม่ได้เป็นอะไรใหม่ไปกว่าปัจจุบันแต่มันเป็นยุคสมัยที่เปลี่ยนไปต่างหาก ปัจจุบันเราใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อ เขียนบล็อก แชร์รูป ร่วมเขียน Wiki โพสความเห็นลงในท้ายข่าว หาแหล่งข้อมูลด้วย RSS เพื่อ Feed มาอ่านที่หน้าจอ และกูเกิ้ล จะเห็นได้ว่าวิธีการใช้ชีวิตบนอินเทอร์เน็ตของชาวออนไลน์เริ่มเปลี่ยนไปแล้วพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตดังกล่าวสะท้อนการเปลี่ยนแปลงได้เป็นอย่างดี และนี่เป็นที่มาของ เว็บ 2.0 หรือยุคใหม่ของ อินเทอร์เน็ตที่ได้เปลี่ยนการใช้งานของเราไปอย่างสิ้นเชิงพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ต กำลังเปลี่ยนไปผู้ใช้ไม่ใช่แค่ผู้อ่านเว็บไซต์อีกต่อไป การมีส่วนร่วมต่อการสร้างเนื้อหาบนเว็บไซต์ ความเท่าเทียมกันในการแสดงความคิดเห็น และธุรกิจออนไลน์ที่สร้างรายได้อย่างจริงจังและยั่งยืนกำลังเริ่มขึ้นในยุคที่เรียกว่า เว็บ 2.0 นี่เอง      
    5. เอกสารอ้างอิง
    [1] สันติ วิริยะรังสฤษฎ์. เว็บ 2.0 โลกในฝันของสังคมออนไหล์. กรุงเทพมหานคร : สยาม เอ็ม แอนด์ บี พับลิชซิ่ง, 2549.
    [2] นายสนุก. ใช้ BLOG สร้างธุรกิจอีคอมเมิร์ซ. กรุงเทพมหานคร : สยาม เอ็ม แอนด์ บี พับลิชซิ่ง, 2549.
    [3] นิธิธัช กิตติวิสาร. Blog  กระแสบนโลกอินเทอร์เน็ท พลิกโฉมการจัดการความรู้ในองค์กร. กรุงเทพมหานคร : สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา, 2548.


    * นักศึกษาปริญญาโท คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 30081เขียนเมื่อ 22 พฤษภาคม 2006 01:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
น่าสนใจมากๆครับ ได้ความรู้ใหม่ๆ เยอะเลย..

ฝากไว้ให้ช่วยกันกระตุ้นสื่อเพื่อสังคมหน่อยนะครับ โปรดอ่านที่ ขอความเห็นจากทุกๆท่าน เรื่องการตีแผ่วงจรธุรกิจน้ำเมา แล้วไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่อที่บอร์ดของทีวีบูรพา ตามหัวข้อที่แนะนำนะครับ ขอขอบคุณ..
เขียนไว้ได้ดี มีประโยชน์มากครับ
เสียดายจังไม่ได้เขียนต่อซะแล้ว
ยังไงขออนุญาตนำความรู้ที่ได้ตรงนี้ไปใช้ต่อนะครับ ;)

ติดตามอ่านมาโดยตลอดครับ

**

ได้อ่านบทความแล้วได้ความรู้มากและขอนำไปสอนต่อนะคะ

ผมเองมาทำไร่สวนบ้านนอกที่ไกลจากโลกพายนอกจริงๆครับ คือเบื่อในเมือง

เลยมาหาทีสงบๆอยู่คนเดียวครับ บอกก็บอกเหอะผมอ่านไม่เข้าใจจริงครับ ที่ท่านเขียนผมเองก็ไช้จะเรียนรู้ได้เร็วสะเมื่อไร..........แต่ก็จะรู้ไห้ทันคนในเมืองเขาไห้ได้

ขอบคุณครับ สำหรับความรู้ดี ๆ ที่แบ่งปันให้กับคนทั่วโลก

ขอบคุณครับ ทรงเดช

ลองเข้าไปดู ตัวอย่างเวบ 2.0 www.blooddy.com

ขอบคุณสำหรับบทความให้ประโยชน์ ในการเรียนอย่างมาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท