ประชุมภาค4


มิติใหม่ของหัวหน้าโครงการ

 

มิติใหม่กับการบริหารอย่างมืออาชีพ ของหัวหน้าโครงการ ซี.ซี.เอฟ.ระดับภูมิภาค

 

                   เมื่อวันที่ 24-25 กันยายน 2552 ที่ผ่านมา   นายจักรพันธ์  ศักยพันธ์  ตำแหน่งผู้ประสานงานอาวุโสภาค 4 ตัวแทนของมูลนิธิสงเคราะห์เด็กยากจน ซี.ซี.เอฟ.ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี    รับผิดชอบโครงการซี.ซี.เอฟ 6 จังหวัด 7 โครงการ ได้แก่ จังหวัดอำนาจเจริญ  มุกดาหาร นครพนม  สกลนคร 2 โครงการ   บ้านดุง จังหวัดอุดรธานี  และจังหวัดหนองบัวลำภู จัดการประชุมเจ้าหน้าที่โครงการระดับภาค จำนวน  45 คน ณ โรงแรมบุญเกียรติ อำเภอเมือง   จังหวัดสกลนคร  โดยเจ้าหน้าที่ ซี.ซี.เอฟ. แยกเป็นตำแหน่งต่าง ๆ ได้แก่ ระดับผู้บริหารหรือที่เรียกว่าหัวหน้าโครงการ  ระดับปฏิบัติการ ได้แก่ ตำแหน่งผู้ทำงานด้านความสัมพันธ์กับผู้อุปการะ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่บัญชีและธุรการ และตำแหน่งเจ้าหน้าที่โครงการ  ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ ได้เน้นสาระสำคัญในเรื่องการคิดนวัตกรรมต่าง ๆ ที่คนทำงานต้องให้ความสำคัญ ได้แก่ด้านเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว    ด้านความต้องการของผู้อุปการะที่มีการเปลี่ยนแปลงเสมอ  ด้านการพัฒนาโครงการให้มีคุณภาพความเป็นมืออาชีพ และด้านการรับมือกับสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลง  นอกจากนั้นยังเน้นไปที่การประชาสัมพันธ์งานโครงการ การสื่อสารอย่างไรให้มีคุณภาพ และจุดมุ่งหมายของการทำงานเป็นทีม  ที่มาจากคำว่า “PAK”  หรือ “ปาก” โดยมีที่มาจาก PARTICIPATION คือความร่วมมือ  ATTITUDE คือทัศนคติและKNOWLADGE คือความรู้ความเข้าใจ  

                    การประชุมครั้งนี้  หัวหน้าโครงการฯได้จับเข่าคุยกัน ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละโครงการและตกผลึกถึงแนวคิดในการทำงานที่มองผ่านเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่มีความละเอียดอ่อน   และได้จัดเป็นภารกิจเร่งด่วนที่จะต้องกลับไปทำคือ

                          * การเสริมกำลังใจของทีมทำงานในรูปแบบต่าง ๆ  เช่น การสังสรรค์เนื่องในโอกาสวันสำคัญ  การทัศนศึกษานอกสถานที่แบบซำเหมา  (ไปพร้อมกับการเปิดใจ) การเชิญชวนครอบครัวของคนในทีมมากินข้าวร่วมกัน(ตุ้มโฮม) การดูแลครอบครัวของทีมงาน ในโอกาสเกิด แก่ เจ็บ ตาย

                          * การทำงานแทนกันได้ในบางโอกาส  การแบ่งเบาภาระซึ่งกันและกัน การให้ความสำคัญกับปริมาณงาน

                          * การใช้คนให้เหมาะสมกับงาน  ให้ความสำคัญกับทักษะของเจ้าหน้าที่ในการเสริมและเพิ่มเติม

                          * การรับฟังลูกน้องอย่างเปิดใจ และพร้อมที่จะให้คำปรึกษา ให้คำแนะนำ  และแก้ไขปัญหา  ประสานงานขอความช่วยเหลือจากภาคีเพื่อหาทางแก้ไขปัญหาได้ในระดับหนึ่ง

                          * การเรียนรู้สถานการณ์ร่วมกัน มีการคุยกันอย่างสม่ำเสมอเป็นกิจจะลักษณะแต่ใช้เวลาไม่นานเกินไป

                          * กินข้าวร่วมกัน  ทำอาหารกินร่วมกันบ้างที่มีโอกาส หมายถึงในสำนักงานมื้อเที่ยง

 

และนี่ถือว่าเป็นสิ่งที่น่ายินดีกับการเริ่มต้นที่มีการให้สัญญาประชาคมระหว่างหัวหน้าทั้งเจ็ดคน   ที่จะมีการปรับเปลี่ยนทัศนะคติเพื่อให้นำไปสู่การร่วมมือ ร่วมใจ และถือเป็นวัฒนธรรมขององค์กร  “ไม่มีคำว่าสายสำหรับการเริ่มต้น”

 

คำสำคัญ (Tags): #พัฒนาเด็ก
หมายเลขบันทึก: 300623เขียนเมื่อ 25 กันยายน 2009 10:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 09:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

การอบรมพัฒนาในครั้งนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงแนวคิดใหม่ ๆ ในการทำงาน

เปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งใหม่

ขอเป็นกำลังใจ ในการก้าวต่อไปของ นักพัฒนา ซีซีเอฟ ทุกท่านค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท