แผนการฝึกพัฒนาการด้านภาษา


ขอให้ปฏิบัติอย่างต่อเนื่องจะเกิดผลดีขึ้นแน่นอน เด็กกลุ่มนี้หากได้รับการกระตุ้นพัฒนาการก่อนอายุ 5 ปี ส่วนใหญ่จะมีโอกาสพัฒนาการทางภาษา

แผนการฝึกพัฒนาการด้านภาษา

ปัญหาทางการพยาบาล

                เด็กไม่สามารถสื่อสารความต้องการโดยการใช้ภาษาได้ พัฒนาการด้านภาษาล่าช้าจากความผิดปกติของระบบการสื่อภาษาจากออทิสติก

วัตถุประสงค์

                เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการด้านการเข้าใจภาษาและการใช้ภาษา

กิจกรรมการพยาบาล

1. กระตุ้นให้เด็กสนใจการพูดโดยใช้กิจกรรมที่ส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้การพูด    การกระตุ้นด้วยของเล่นที่มีเสียงการพูดคุยกับเด็กเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ  ในชีวิตประจำวัน    สอนให้เด็กเรียกชื่อสิ่งของที่คุ้นเคย ชื่ออวัยวะของร่างกาย ทำท่าประกอบเพลง   เล่านิทานจากบัตรภาพ          ทุกอย่างที่กล่าวมาเด็กต้องได้รับการกระตุ้น
    อย่างต่อเนื่องและกระทำอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้การฝึกพูดได้ผลดี         

2.   การพัฒนาทักษะการมอง การฟังและการสัมผัส  โดยการฝึกให้เด็กมอง ฟังอย่างมีจุดมุ่งหมาย และการสัมผัสทางกาย เพราะความสนใจสามารถกระตุ้นได้ด้วยสิ่งที่มองเห็นด้วยตา  การได้ยินเสียง และการได้สัมผัสกับสิ่ง ๆ แล้วจึงเปลี่ยนมาเป็นการเลียนแบบและการพูด

3.การฝึกบริหารอวัยวะที่ใช้ในการพูด ได้แก่ 

-   การบริหารริมฝีปากโดยการเป่าฟองสบู่  เป่ากระดาษ หรือการใช้หลอดดูดน้ำจากแก้ว 

-   การบริหารลิ้นโดยการแลบลิ้น ออกให้ยาวที่สุดแล้วตวัดลิ้นกลับโดยเร็ว  การใช้ลิ้นเลียอมยิ้ม  หรือทานมข้นหวานไว้ที่ริมฝีปากบนและล่างแล้วให้เด็กใช้ลิ้นเลียการเลียไอติม
                4.การฝึกเลียนแบบการออกเสียงต่างๆ ได้แก่    พูดเลียนแบบเสียงร้องของสัตว์

แมวร้อง  เมี๊ยว ๆ

- ลิงร้องเจี๊ยกๆ

-เป็ดร้องก้าบๆ

-หมาเห่าโฮ่งๆ
                 5.การฝึกพูดคำเดียว เช่น พ่อ , แม่ , กิน , นอนปลา , หมู ฯลฯ จนถึงการพูดเป็น
   วลี 2 – 3 พยางค์ เช่น กินข้าว , ไปเที่ยว เป็นต้น

6พยายามพูดกับเด็กเกี่ยวกับสิ่งที่เด็กกำลังมองหรือกำลังกระทำอยู่เช่นเห็นเด็กกำลังมองพัดลม  ควรพูดกับเด็กทันทีช้าๆออกเสียงให้ชัดเจนว่า  “พัดลม”   “พัด-ลม”  เพื่อเป็นการสร้างเป้าหมายในการมองอย่างมีความหมาย
                  7.ขณะที่มีเสียงหนึ่งเสียงใดเกิดขึ้นรอบตัว เช่น  เสียงหมาเห่าควรชี้ชวนให้เด็กสนใจ ฟังอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นการสร้างเป้าหมายในการฟังให้มีความหมาย
                   8.ขณะที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งให้กับเด็กพูดให้เด็กฟังถึงสิ่งที่ท่านกำลังทำอยู่  เช่นขณะที่ กำลังใส่กางเกง   ควรสอนให้เด็กได้เรียนรู้ว่าสิ่งต่างๆมีชื่อเรียกอย่างไร   เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ คำศัพท์และเนื้อหาของคำศัพท์
                   9.ควรสอนจากความเข้าใจคำศัพท์ก่อนนำมาสู่การพูด
                 10.ควรสอนเด็กให้พูดโดยใช้คำนามที่มองเห็นเป็นรูปธรรม เช่น เริ่มสอนเรียกพ่อแม่   ชื่ออวัยวะ พร้อมทั้งจับมือแตะส่วนนั้นๆ
                

หมายเลขบันทึก: 300432เขียนเมื่อ 24 กันยายน 2009 15:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 15:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ชอบเพลงนี้ครับ
  • ลองเอาไปฝึกเด็กๆๆไหมครับ
  • เหมี๊ยวๆๆ ร้องเรียกเหมียวปรัเดี๋ยวก็มา เค้าแข้งเค้าขาน่าเอ็นดู
  • เจี๊ยกๆๆเป็นเสียงเรียงของลิง ลิงมันไม่อยู่นิ่งมันชอบวิ่งกระโดดไปมาฯลฯ
  • ก๊าบๆๆเป็ดอาบน้ำในคลอง ตาก็จ้องแลมองเพราะในคลองมีหอยปูปลา ก๊าบๆ

 

เพลงนี้ฝึกได้ยอดเยี่ยมค่ะ สั้น ง่าย และมีการออกเสียงซ้ำๆๆๆ

ใช้ได้เลยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท