วัฒนธรรมการสมรส ทฤษฎีหน้าที่นิยม


วัฒนธรรมการสมรส ทฤษฎีหน้าที่นิยม ผู้หญิงจะได้รับสิทธิในการแต่งงานกับผู้ชายในวรรณะเดียวกันซึ่งมาจากครอบครัวอื่น ซึ่งสามารถมีสามีได้ 3 หรือ 4 คน ส่วนลูกที่เกิดมาจะต้องได้รับค่าเลี้ยงดูจากผู้ชาย ถ้าผู้ชายไม่จ่ายเงิน เด็กคนนั้นก็จะเป็นคนนอกวรรณะและไม่ได้รับการยอมรับจากครอบครัว

วัฒนธรรมการสมรส ทฤษฎีหน้าที่นิยม

ทฤษฎีหน้าที่นิยม นิยามการแต่งงานว่า เป็นการแทรกแซงของสังคมต่อความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การแต่งงานมีความสำคัญในฐานะเป็นการสร้างสัมพันธภาพระหว่างสองครอบครัว ซึ่งต้องกระทำภาระหน้าที่สืบทอดสมาชิกให้สังคม เลี้ยงดูบุตร และกล่อมเกลาบุตรให้เติบโตในสังคม มาลีนอฟสกี้ เขียนบทความเรื่อง

Parenthood the Basis of Social Structure (1930) อธิบายว่าการแต่งงานคือใบอนุญาตที่สังคมมอบให้บุคคลเพื่อสืบทายาท The Royal Anthropological Institute ได้นิยามการ แต่งงานในทำนองเดียวกันนี้ โดยกล่าวว่าการแต่งงานคือหน่วยที่ทำให้ชายหญิงเป็นหนึ่งเดียว และลูกที่เกิดมาจะได้รับการยอมรับจากครอบครัวของพ่อและแม่

คำอธิบายของทฤษฎีหน้าที่นิยม เชื่อว่าการแต่งงานคือการที่สังคมเข้าไปจัดระเบียบ และตรวจสอบสมาชิกในสังคม แต่การอธิบายนี้ยังมีข้อถกเถียง นิยามของเมอร์ด็อกค์ไม่สามารถนำไปอธิบายสังคมอื่นได้ทั้งหมดในสังคมที่ผู้หญิงยังคงอยู่บ้านของตัวเองหลังแต่งงาน หรืออาจอยู่ทั้งบ้านสามีและบ้านของตัวเอง กรณีนี้ไม่สอดคล้องกับนิยามของเมอร์ด็อกค์ แคธลีน โกฮ์ (1959) ศึกษาชนเผ่านายาร์พบว่าผู้หญิงที่แต่งงานแล้วจะไปเยี่ยม บ้านของสามีเป็นระยะๆ ลูกชาวในชนเผ่านายาร์จะแต่งงานกับผู้ชายนอกหมู่บ้าน แต่เมื่อมีพิธีศพ ญาติพี่น้องของผู้หญิงเท่านั้นจะมาร่วมพิธี ผู้หญิงจะได้รับสิทธิในการแต่งงานกับผู้ชายในวรรณะเดียวกันซึ่งมาจากครอบครัวอื่น ซึ่งสามารถมีสามีได้ 3 หรือ 4 คน ส่วนลูกที่เกิดมาจะต้องได้รับค่าเลี้ยงดูจากผู้ชาย ถ้าผู้ชายไม่จ่ายเงิน เด็กคนนั้นก็จะเป็นคนนอกวรรณะและไม่ได้รับการยอมรับจากครอบครัว โกฮ์อธิบายว่าชาวนายาร์ยอมรับการแต่งงานที่ผู้ชายต้องทำหน้าที่ของพ่อ

คำถามเกี่ยวกับการแต่งงานของคนเพศเดียวกันมีหรือไม่ ในหลายๆสังคมอนุญาตให้มีการแต่งงานระหว่างชายกับชาย หรือหญิงกับหญิง ซึ่งการแต่งงานแบบนี้ไม่สอดคล้องกับทฤษฎีหน้าที่นิยม กล่าวคือการแต่งงานระหว่างคนเพศเดียวกันเป็นกรณีพิเศษ ทำให้ความหมายของการแต่งงานทั่วไปอธิบายการแต่งงานชนิดนี้ไม่ได้ในทัศนะของนักวิชาการอาจมองว่าการแต่งงานของคนเพศเดียวกันไม่ต่างจากการแต่งงานตามปกติ เพราะจะต้องมีคนใดคนหนึ่งทำหน้าที่เป็นพ่อหรือแม่ เช่นเดียวกับคู่แต่งงานที่เป็นชายหญิง

หมายเลขบันทึก: 300165เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2009 16:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2016 22:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • เพิ่งทราบว่ามีการแต่งงานแบบชายกับชายด้วย น่าสนใจ เอ้ยไม่ใช่
  • ฮ่าๆๆ
  • ว่างๆแวะมาเที่ยวที่เกษตรศาสตร์นะครับ
  • ตอนนี้อยู่ มมส ใช่ไหมครับ

ขอบคุณครับ อ.ขจิตที่แวะเข้ามาเยี่ยมชม ปล่าวครับ ตอนนี้ผมอยู่ที่ ม.ศิลปากรครับพี่ขจิต มีเพื่อนหลายคนเลยครับ ที่สอนอยู่ คณะเดียวกับอาจารย์ ว่าง ๆ ผมต้องแวะไปทานสเต็กที่ กพส. ให้ได้ครับ ไม่ยอมพลาดแน่ ๆ สวัสดีครับ

สวัสดีค่ะ

มาเยี่ยมและได้รับทราบเรื่องราวของหน้าที่นิยม

การแต่งงานดูเป็นงานที่หนักหนาพอสมควรนะคะ

ขอบคุณความรู้ที่ได้เรียนรู้ด้วยค่ะ

สวัสดีครับคุณพี่ตันติราพันธ์ ขอบคุณครับที่แวะเข้ามาเยี่ยมให้กำลังใจ

กำลังทำวิชาการศึกษาค้นคว้าอิสระ ในหัวข้อที่เกี่ยวกับการแต่งงานและเศรษศาสตร์ ค่ะ อ่านแล้วได้มุมมองที่แตกต่างขอบคุณมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท