วิโรจน์ วินัย แห่ง อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี


วิโรจน์ วินัย แห่ง อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี 

ต้องขอ ย้อนกลับไปตั้งแต่ปี  51    ในขณะนั้น ฉันเอง ยังจำได้ว่า มาตรา ๒๓ พรบ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๔) ๒๕๕๑เพิ่งออกมาบังคับใช้ ปัจจุบัน ผ่านไปแล้วหนึ่งปี กว่า พรบนี้คงมี ผลใช้บังคับได้อย่างสมบูรณ์แล้ว นะ อันนี้เป็นความในใจของฉัน ที่คิดไว้ตั้งแต่แรก

หลังจากนั้นเมื่อได้รับมอบหมายให้ดูเอกสารเกี่ยวกับ วิโรจน์และวินัย  ข้อมูลที่ปรากฎตามเอกสารที่ส่งมาพบว่า

ประวัติของ  วิโรจน์ และวินัย

    วิโรจน์ เกิดวันที่ 14 สิงหาคม 2529   ที่หมู่ 4 ต.ซะแล  อ.ทองผาภูมิ  จ.กาญจนบุรี  จบการศึกษาจากวิทยาลัยเทคนิคนครปฐม  ปัจจุบันทำงานอยู่ที่ โรงงานในเขตสายไหม

     วินัย เกิดเมื่อวันที่  เกิดวันที่ 16 ตุลาคม 2531     ที่หมู่ 4 ต.ซะแล  อ.ทองผาภูมิ  จ.กาญจนบุรี  ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ที่ วิทยาลัยเทคนิคนครปฐม 

     บิดาชื่อ  นายโรเบิร์ต      เกิดปี 2483 ที่ประเทศพม่า       

    มารดาชื่อ นางบีโท      เกิดปี 2503  ที่ประเทศพม่า     

    มีพี่น้องร่วมบิดามารดาทั้งหมดสามคนได้แก่  วิโรจน์  วินัย และน้องสาวอีกหนึ่งคนซึ่งไม่ทราบชื่อซึ่งเป็นโรคเบาหวาน             

เอกสารในการพิสูจน์สัญชาติ  ที่พบได้แก่    

   ทะเบียนบ้าน

สูติบัตร ของบุคคลที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยแบบชั่วคราว

ใบรับรองสภาพการเป็นนักศึกษา ของ วิทยาลัยเทคนิคนครปฐม

บัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย ชุมชนบนพื้นที่สูงของมารดา

แบบพิมพ์ประวัติบุคคลบนพื้นที่สูง

ตามข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่า วิโรจน์ และวินัย  เป็น บุคคลที่เกิดในประเทศไทย ตามหลักดินแดน  แต่เนื่องด้วยมีบิดา มารดาเป็นคนต่างด้าว จึงทำให้ไม่ได้สัญชาติโดยผล ของ ปว.337 ในสมัยนั้น ที่ให้ถอนสัญชาติไทยของบรรดาบุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทย โดยบิดาเป็นคนต่างด้าว หรือมารดาเป็นคนต่างด้าวแต่ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย จึง ทำให้วิโรจน์ และวินัย ไม่ได้สัญชาติไทย แต่เมื่อมีการประกาศใช้ มาตรา ๒๓  มีผลให้บรรดาบุคคลที่เคยมีสัญชาติไทยเพราะเกิดในราชอาณาจักรไทยแต่ถูกถอน สัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๓๗ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๕ สามารถยื่นคำขอลงรายการสัญชาติในเอกสารการทะเบียนราษฎรต่อนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่น ตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรแห่งท้องที่ที่ผู้นั้นมีภูมิลำเนาในปัจจุบัน 

สภาพของปัญหาที่พบ เนื่องจาก วิโรจน์ และวินัย  เป็นบุคคลที่สามารถไปยื่นคำขอลงรายการสัญชาติตามมาตรา 23 ได้ ซึ่งทางวิโรจน์ ได้มีการไปขอลงรายการสัญชาติ แต่ทางอำเภอทองผาภูมิ  ไม่รับการขอลงรายการสัญชาติของวิโรจน์โดยอ้างว่ายังไม่สามารถรับคำร้องไว้ได้แต่ไม่ได้ให้เหตุผลประกอบว่าทำไม ถึงไม่สามารถรับคำขอลงรายการสัญชาติได้ จึงทำให้วิโรจน์ไม่สามารถขอลงรายการสัญชาติตามมาตรา 23 ได้

        ในวันที่  20 กันยายน 52 ได้โทรไปสอบถามความคืบหน้าเกี่ยวกับแบบฟอร์มที่ส่งไป และนอกจากนี้ หลังจากดูเอกสาร ของเค้า ก็จะพบว่า วิโรจน์และวินัย นั้นเป็นบุคคลตาม มาตรา ๒๓ พรบ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๔) ๒๕๕๑  และยังได้สอบถามเพิ่มเติม ได้ความว่า

      วิโรจน์   ก็เคยไปลงรายการสัญชาติตาม ๒๓ พรบ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๔) ๒๕๕๑ มาแล้วกับทางอำเภอ แต่ทางอำเภอปฏิเสธในการลงรายการสัญชาติ ดังกล่าว โดยไม่ได้ให้เหตุผลแต่อย่างใด เพียงแต่บอกว่า ในขณะนี้อำเภอ ยังไม่รับคำร้อง  ยังหาสาเหตุไม่ได้ ว่าทำไม  จากคำถามนี้ ก็คงต้องต้องช่วยกันหาคำตอบ ว่าอย่างไร กันต่อไป  

 

 

หมายเลขบันทึก: 300110เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2009 12:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 14:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ดีมากเลยน้องท่ติดตามเคส และไม่ทิ้งพวกเขา

ต่อไปก็จะมาดูว่าเพราะเหตุใดที่เขาถึงถูกปฏิเสธ

เพราะ พยานหลักฐานหรือว่า

การละเว้นของเจ้าหน้าที่ อำเภอสังขละบุรีกันแน่

อ.แหววขอแนะนำว่า

๑. ดวงควรสรุปองค์ประกอบแห่งข้อเท็จจริงที่ทำให้บุคคลทั้งสองได้สัญชาติไทยตามมาตรา ๒๓ ออกมาก่อนดีไหมคะ

๒. แล้วจึงค่อยชี้ว่า บุคคลทั้งสองมีข้อเท็จจริงอันพยานหลักฐานตามมาตรา ๒๓ ครบหรือไม่

๓. งานเขียนยังไม่มีพลังค่ะ ไล่เรื่องตามข้อกฎหมายซิคะ

๔.รีบทำมาดูใหม่ ไม่เข้าใจ ขอให้ถาม

แก้ไขเรียบร้อยแล้วค่ะ

ถ้าได้ดูเอกสารของครอบครัวนี้เเล้วอย่าลืมเพิ่มเติมล่ะ

อ่านแล้ว..มี comment ดังต่อไปนี้

-- งานเขียนเกี่ยวกับปัญหาสถานะบุคคลอาจจะมีได้ 2 ลักษณะ นะ คือ

1) งานเขียนที่เป็นการทบทวนหรือถอดประสบการณ์ตัวเองที่มีต่อเรื่องที่เกิดขึ้น อันนี้ใส่ความคิดเห็น ความรู้สึก ลงไปได้ มักจะใช้ในการสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจกับสังคม หรือ build ประเด็นที่เราต้องการในเคสนั้นๆ ดวง ลองสังเกตสกู๊ปข่าวนะ

2) งานเขียนที่แสดงทั้งสถานการณ์ด้านข้อเท็จจริง และ สถานการณ์ด้านข้อกฎหมาย อันนี้เป็น facts ไม่ใช่ความคิดเห็น จะใช้สำหรับการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายต่อเคส ตัวอย่าง คือ legal comment ที่อาจารย์แหววกับพี่มิวเขียนเรื่องน้องหม่อง ซึ่งในงานนี้ก็จะประกอบไปด้วย 2 ส่วนสำคัญ คือ

  • ข้อเท็จจริงของเคส (ตามที่กฎหมายกำหนด อันจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหา) ซึ่งถ้าเคสนี้เป็นเคสมาตรา 23 ดวงก็ต้องไปดูว่ามาตรา 23 กำหนดข้อเท็จจริงอะไรบ้าง แล้วเขียนไล่เรียงตามนั้น ซึ่งในที่นี้ก็จะรวมถึงพยานหลักฐานที่จะมายืนยันข้อเท็จจริงด้วย เช่น เกิดที่ อ.ทองผาภูมิ แล้วพยานหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการเกิดมีหรือไม่ แล้วคืออะไร เป็นต้น
  • การวิเคราะห์ข้อกฎหมาย โดยนำข้อเท็จจริงข้างต้นมาปรับกับข้อกฎหมาย ในที่นี้ คือ มาตรา 23

-- ลองปรับดูใหม่ หัดเขียนเยอะๆ เดี๋ยวก็เก่ง

 

เคสมีหนังสือรับรองการเกิดแล้วยังคะ

ตอบหน่อย

ถ้าไม่มี ต้องแนะนำให้ทำตรงนี้ก่อนนะคะ

อ่านอีกที เธอสรุปว่า เขามีสูติบัตร ตรวจสอบให้แน่นอน

ถ้าเขามี

อีกที บันทึกของเธอไม่ระบุข้อเท็จจริงว่า เขามีทะเบียนบ้านประเภทไหน ออกโดยใคร

ถ้าข้อกฎหมายครบ ก็หัดยกร่างหนังสือรับรองสถานะบุคคล

อ่านงานจดหมายเพื่อบังคับใช้มาตรา ๒๓ ของพี่ด๋าว

และฝึกทำหนังสือถามอำเภอ

สักพฤหัส มาเสนอด้วยปากเกี่ยวกับงานให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายกรณีนี้หน่อย

แต่ละอาทิตย์ ต้องมีงานคิดเพื่ออ่านและเขียน อย่างน้อย ๑ ฉบับ ก็ดีนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท