ระดับคุณภาพผู้บริหาร


ระดับคุณภาพผู้บริหารเมื่อ 15 กรกฎาคม 2545

          กระทรวงศึกษาธิการประกาศระดับคุณภาพผู้บริหารไว้ เมื่อ 15 กรกฎาคม 2545  ว่ามี 5 ระดับดังนี้

        ระดับ 1 ผู้บริหารปฏิบัติการ  มุ่งปฏิบัติตามระเบียบ  คำสั่ง  ดำเนินการตามหน้าที่เท่าที่กำหนดทั้งตัวงานและเป้าหมาย  บริหารงานแบบสั่งการผู้เดียว  ใช้ความคิดเห็นตนเองเป็นหลักเป้าหมายของงานเน้นความถูกต้องตามระเบียบกฎเกณฑ์และความพึ่งพอใจของตน  ผลที่เกิดกับผู้รับบริการเป็นไปตามข้อกำหนด  ไม่มีการเปลี่ยนแปลงกระบวนการปฏิบัติ

       ระดับ 2  ผู้บริหารชำนาญการ  มุ่งปรับปรุงกระบวนการทำงาน  แสวงหาแนวทางใหม่ๆ มีการกำหนดเป้าหมายของงานตามความแตกต่างของผู้รับบริการ  การบริหารมีการขอคำปรึกษาแนะนำจากผู้ทรงคุณวุฒิที่ไม่ใช่ทีมงานเกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติ  สามารถตรวจสอบปรับปรุงผลงานได้เอง เป้าหมายการปฏิบัติงานคำนึงถึงผลที่เกิดกับผู้รับบริการมากขึ้น  แต่ไม่ขยายผลงานไปสู่คุณภาพด้านอื่น

       ระดับ 3  ผู้บริหารเชี่ยวชาญ  มุ่งปฏิบัติงานอย่างมีลำดับขั้นตอน  มีความคิดสร้างสรรค์ในด้านวิธีการและกระบวนการของงาน  เน้นประสิทธิภาพงานสูง  ใช้นวัฒกรรม กล้าคิดกล้าตัดสินใจและกล้าทำ  เพื่อให้เกิดผลงานที่มีคุณภาพสอดคล้องกับศักยภาพผู้รับบริการหลากหลาย เป้าหมายการปฏิบัติงานคำนึงถึงการพัฒนาผู้รับบริการรอบด้านและสมดุลเต็มศักยภาพ

       ระดับ 4  ผู้บริหารเชี่ยวชาญพิเศษ  มุ่งเปิดโอกาสให้ผู้ร่วมงานมีส่วนร่วมในการตัดสินใจแต่ยังไม่สามารถสร้างความเป็นเอกภาพของงาน  มุ่งให้ทุกคนร่วมวางแผน  ปฏิบัติตามแผน  สามารถบ่งชี้ผลงานได้ชัดเจนว่าเกิดจากผู้ร่วมงานคนใด  เป้าหมายการปฏิบัติงานคำนึงถึงผลการพัฒนาที่เกิดขึ้นกับผู้รับบริการและผู้ร่วมงานให้ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ  และขยายคุณประโยชน์ไปสู่กลุ่มบุคคลที่อยู่ใกล้เคียงกับผู้รับบริการและผู้ร่วมงานด้วย

        ระดับ 5  ผู้บริการเกียรติคุณ  มุ่งกระบวนการพัฒนาร่วมกันอย่างสร้างสรรค์เป็นระบบ  เปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเข้ามาร่วมพัฒนา  สร้างเอกภาพของงาน สร้างความสมดุลของสิ่งแวดล้อมบริหารงานแบบสร้างผู้นำ  เน้นความสำเร็จในการสร้างงานสร้างคน  ให้ผู้ร่วมงานใช้ความสามารถสูงสุดของตนในหลากหลายวิธี  ขยายผลจากผู้รับบริการไปสู่บุคคลและสังคมโดยกว้างขวาง เป้าหมายการปฏิบัติคำนึงถึงการพัฒนาที่ยั่งยืนถาวรทั้งระบบ  มีคุณประโยชน์ต่อส่วนร่วมและให้ทุกคนสร้างสรรค์งานอย่างกว้างขวาง พัฒนาวิชาชีพอย่างถาวรให้เป็นเกียรติภูมิของนักบริหารที่ดี  เป็นแบบอย่างทั้งด้านวิชาชีพและชีวิตส่วนบุคคล

 

หมายเลขบันทึก: 300077เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2009 11:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มิถุนายน 2012 15:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท