(ร่าง) โครงการ Dentie-Denta: Anti...Fat(มหิดล)


เรียนเชิญผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการบริหารแผนงาน และผู้สนใจให้ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงโครงการให้สอดคล้องกับหลักการ Empowerment โดยใส่ข้อคิดเห็นของท่านลงในช่องแสดงความคิดเห็นและขอให้ใช้ชื่อจริงในการให้ข้อเสนอแนะด้วย ซึ่งแผนงานจะแจ้งให้หัวหน้าโครงการทราบและชี้แจงตามข้อเสนอแนะผ่าน blog ต่อไป
   “โรคอ้วน” ถือเป็นอีกสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ มากมาย ทั้งโรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมองอุดตันหรือแตก โรคหัวใจ โรคข้อกระดูกเสื่อม โรคระบบทางเดินหายใจ โรคมะเร็งบางชนิด โรคนิ่วในถุงน้ำดี เหนื่อยง่าย ไขมันแทรกในตัว ฯลฯ (ที่มา http://board.palungjit.com) ซึ่งนับเป็นโรคไม่ติดต่อที่เป็นภัยเงียบที่คร่าชีวิตคนไทยปีละเป็นจำนวนมาก  นอกจากนี้เมื่อเป็นโรคอ้วนทำให้เสียบุคลิกภาพขาดความมั่นใจและเชื่อมั่นใจตนเอง จนต้องหาวิธีการรักษาหลากหลายวิธี ทั้งยาลดความด้วน อาหารละลายไขมัน สมุนไพรลดไขมัน ครีมนวดลดไขมัน ยาลดความอ้วน ทำให้เสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมากและส่วนมากมักไม่ประสบผลสำเร็จ   คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะหน่วยงานหนึ่งที่รับผิดชอบด้านสุขภาพ ตระหนักถึงปัญหาและผลที่เกิดจากโรคอ้วน และเล็งเห็นความสำคัญของโรคอันเกิดจากความอ้วน  จึงได้จัดโครงการ “Dentie-Denta: Anti..Fat” เพื่อให้บุคลากรมีสุขภาพกายที่ดี แข็งแรง อันจะส่งผลให้บุคลากรมีสุขภาพจิตที่ดีตามไปด้วย
 
ขั้นตอน / กิจกรรมของโครงการ (โดยละเอียด) 
กิจกรรม
ช่วงเวลาดำเนินการ
1. ประชาสัมพันธ์โครงการ
1-15 ก.ย. 52
2.รับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ
15 – 30 ก.ย. 52
  1. ประสานงานวิทยากรเพื่อให้ความรู้ด้านโภชนาการ และภาวะความเสี่ยงต่อโรคอ้วน
15-20 ก.ย. 52
      2.    ประสานงานร้านอาหาร เพื่อจัดอาหารตามโปรแกรมที่กำหนด
15-20 ก.ย. 52
      3.   ประสานงานวิทยากรโยคะ และ ลีลาศ
15-20 ก.ย. 52
ระยะที่ 1  (รับประทานอาหารตามหลักโภชนาการ)
  1.  จัดอบรมให้ความรู้ด้านโภชนาการและภาวะความเสี่ยงต่อโรคอ้วน 3 ชั่วโมง โดยวิทยากรจากสถาบันวิจัยโภชนาการ ม.มหิดล (วิทยากรจะจัดโปรแกรมอาหารเช้า กลางวัน เย็น )
     2.     ผู้เข้าร่วมโครงการจะต้องชั่งน้ำหนัก และวัดรอบเอวก่อนที่จะเริ่มโครงการ
     3.    ผู้เข้าร่วมโครงการจะต้องบันทึกการรับประทานอาหารเช้า กลางวัน เย็น เป็นระยะเวลา 30 วัน (ตามแบบบันทึกที่แจกให้)
เมื่อครบกำหนด 30 วัน จะทำการประเมินผลโดยการชั่งน้ำหนักและวัดรอบเอว เปรียบเทียบก่อน-หลัง เข้าโครงการ
 
ระยะที่ 2 (รับประทานอาหารตามหลักโภชนาการ+ออกกำลังกาย)
  1. ผู้เข้าร่วมโครงการยังคงรับประทานอาหารตามโปรแกรม 30 วัน พร้อมบันทึกการรับประทานอาหารเช้า กลางวัน เย็น
  2. ผู้เข้าร่วมโครงการ เลือกโปรแกรมการออกกำลังกาย
          2.1      โยคะ ครั้งละ 1 ชั่วโมง จัดให้สัปดาห์ละ 2 ครั้ง
          2.2      ลีลาศ ครั้งละ 3 ชั่วโมง จัดให้สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
(โดยผู้เข้าร่วมโครงการจะต้องบันทึกชั่วโมงการออกกำลังกายในแบบบันทึก)
   เมื่อครบกำหนด 30 วัน จะทำการประเมินผลโดยการชั่งน้ำหนักและวัดรอบเอว เปรียบเทียบก่อน-หลัง เข้าโครงการ
1-30 ต.ค. 52
 
 
 
 
 
 
 1-30 พ.ย. 52

 

 

หมายเลขบันทึก: 299741เขียนเมื่อ 22 กันยายน 2009 11:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 16:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
แผนงานโรงเรียนทันตแพทย์สร้างสุข

สรุปผลประเมินโครงการโรงเรียนทันตแพทย์สร้างสุข

1. หลักการและเหตุผลโครงการ (สอดคล้องกับกรอบประเด็นหลัก น่าสนใจ เป็นประโยชน์ เป็นไปได้ ฯลฯ)

โปรดปรับปรุง

ข้อคำถาม / ข้อเสนอแนะ

1.1 นอกจากหวังผลในการลดรอบเอวแล้ว ควรให้ความสำคัญกับการถ่ายทอด แลกเปลี่ยนเทคนิค หรือแนวคิดในการลดน้ำหนักให้สำเร็จ ระหว่างบุคลากรของคณะด้วย เพราะสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้คนอื่นๆ ที่ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้นำไปประยุกต์ใช้กับตนเอง (เข้าข่าย “หาปลา” เองได้) เป็นการ empower คนทั้งคณะ

2. วัตถุประสงค์ของโครงการ (เป็นไปได้ วัดได้ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล)

โปรดปรับปรุง

ข้อคำถาม / ข้อเสนอแนะ

2.1 ควรเพิ่มวัตถุประสงค์ “ทำให้เกิดการเรียนรู้เทคนิค แนวคิดในการลดน้ำหนักของบุคลากร”

3. ตัวชี้วัดและวิธีการประเมิน (สมเหตุสมผล ตรงประเด็น เป็นไปได้)

โปรดปรับปรุง

ข้อคำถาม / ข้อเสนอแนะ

3.1 เพิ่มตัวชี้วัดที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่เสนอในข้อ 2.1

4. วิธีการดำเนินโครงการ (เน้น participation, empowerment)

โปรดปรับปรุง

ข้อคำถาม / ข้อเสนอแนะ

4.1 ในการประกาศผล น่าจะมีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการลดน้ำหนักของแต่ละคน ทั้งผู้ที่ลดได้และผู้ที่ลดไม่ได้ เพื่อจะได้เกิดการเรียนรู้และเกิดแรงบันดาลใจที่จะทำให้สำเร็จต่อไป ในขณะเดียวกัน ผู้จัดกิจกรรมก็จะได้เรียนรู้ว่าในการทำกิจกรรมครั้งนี้ มีเงื่อนไขอะไรต่อผลสำเร็จของโครงการ

5. วิธีการสังเคราะห์องค์ความรู้ (ใช้วิจัย KM ประชุม ฯลฯ)

โปรดปรับปรุง

ข้อคำถาม / ข้อเสนอแนะ

5.1 ขอให้นำผลการดำเนินกิจกรรมนี้ และผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในข้อ 4.1 ขึ้นเผยแพร่ในบล็อก gotoknow.org/blog/ismile เพิ่มเติมจากเว็บไซต์ของคณะ

6. งบประมาณ

(ประหยัด สมเหตุสมผล มีประสิทธิภาพ ฯลฯ)

เหมาะสม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท