ครูหนิง
นางสาว สุดาวรรณ หนิง เต็มเปี่ยม

วิธีการสอนแบบแก้ปัญหา


วิธีการสอนแบบแก้ปัญหา

วันนี้อ่านเจอบทความที่เกี่ยวกับการศึกษา เรื่อง วิธีการสอนแบบแก้ปัญหาหรือการเรียนรู้ที่ใช้ปัญหาเป็นฐาน (The  Problem – Solving  Method , The  Problem – based  Learning PBL) ก็เลยนำมาสรุปเพื่อเป็นองค์ความรู้ให้กับผู้ที่สนใจนะคะ

 

สรุปสาระสำคัญ

                วิธีการสอนแบบแก้ปัญหาหรือการเรียนรู้ที่ใช้ปัญหาเป็นฐาน (The  Problem – Solving  Method , The  Problem – based  Learning PBL)   เป็นรูปแบบการสอนที่เน้นกระบวนการคิด  เป็นการจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนได้คิดแก้ปัญหาอย่างเป็นกระบวนการโดยอาศัยแนวคิดแก้ปัญหา  ด้วยวิธีการนำเอาวิธีการสอนแบบปรนัย  (Deductive) ซึ่งเป็นการสอนจากเกณฑ์ไปตามความจริง  ย่อมมาผสมผสานกับวิธีการสอนแบบอุปนัย (Inductive) ซึ่งเป็นการสอนจากตัวอย่างส่วนย่อยมาหากฎเกณฑ์  โดยกรมวิชาการได้สรุปขั้นตอนวิธีสอนแบบแก้ปัญหา มี ๗ ขั้นตอน  คือ ๑. กำหนดปัญหา ๒. ตัดสินใจที่จะวางแผนแก้ปัญหา  ๓. เก็บข้อมูล  ๔. ตั้งสมมติฐาน  ๕. พิสูจน์  ๖. วิเคราะห์  และ  ๗. สรุปผล  จะเห็นได้ว่าวิธีการสอนแบบแก้ปัญหาหรือการเรียนรู้ที่ใช้ปัญหาเป็นฐาน (The  Problem – Solving  Method , The  Problem – based  Learning  PBL)    เป็นวิธีการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในชั้นเรียน (Student – Center  Class) ซึ่งเป็นรูปแบบการสอนที่เน้นกระบวนการคิดเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้เป็นคนมีปัญญา  มีความสุขและเป็นคนดีของสังคมตลอดไป 

 

 

ประโยชน์ที่ได้รับจากการอ่านบทความฉบับนี้

    ๑.  ทำให้ทราบวิธีการสอนแบบแก้ปัญหาหรือการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานอย่างถ่องแท้

    ๒.  สามารถนำมาเป็นแนวทางและประยุกต์ใช้ในกระบวนการเรียนการสอนของตนเองได้

    ๓. ได้รู้ข้อดีและข้อจำกัดของวิธีการสอนแบบแก้ปัญหาหรือการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน

    ๔.  นำความรู้ที่ได้จากบทความนี้มาประยุกต์ใช้กับการดำเนินชีวิตประจำวันได้

หมายเลขบันทึก: 299497เขียนเมื่อ 21 กันยายน 2009 15:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 16:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ดีจังเลยครับ ได้ความรู้มากๆๆ มาเขียนอีกนะครับคุณครู จะรออ่านนะครับ..

สวัสดีครับ

การเรียนรู้จากปัญหาเป็นเรื่องที่น่าสนใจ ผู้สอนต้องเตรียมปัญหาที่สอดคล้อง มีแนวทางบทสรุปที่สอดคล้องกับทฤษฎี จะสามารถทำให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจ มากขึ้นครับ

ผมเคยทำเห็นการสอนแบบนี้ เช่น การหาฟิล์มเอกซเรย์ที่ไม่ได้คุณภาพมาให้นักศึกษาดู แล้วให้นักศึกษา ค้นหาว่าฟิล์มที่ไม่ได้คุณภาพ เกิดจากสาเหตุใด แล้วนำเฉลย มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท