บุนนาค
ดร. วรนันท์ มุฮัมมัด รอมฎอน บุนนาค

ซะกาต


บ้านเมืองของเราเวลานี้ หลายคนยอมเป็นมือล่างมากกว่ามือบน หลายคนปล่อยเงินให้คนกู้นอกระบบอย่างมหาโหด สังคมไทยทุกธุรกรรมทุกธุรกิจหมุนด้วยระบบดอกเบี้ย สร้างความเดือดร้อนปั่นป่วนวุ่นวาย เรื่งเหล่านี้อิสลามห้ามดอกเบี้ย เพราะถือเป็นการเอาเปรียบ กดขี่ และสร้างบรรทัดฐานที่เลวร้ายให้กับสังคม อิสลามและคำสอนของท่านสาสดามูฮัมมัด(ซ.ล)สอนให้เราเป็นมือบน สอนให้เรารังเกียจและคัดค้าน ไม่ร่วม ไม่ทำระบบดอกเบี้ยที่เอารัดเอาเปรียบนี้ การบริจาคเงินซะกาต(ภาษีสังคมของมุสลิมทั่วโลก) ซะกาตตามหลักเศรษฐศาสตร์อิสลามต้องการลดชองว่างความแตกต่างของฐานะทางเศรษฐกิจ เป็นทั้งการป้องกันและแก้ไขปัญหาความยากจนอันเป็นปัญหาสำคัญที่เกืดขึ้นกับสังคมทั่วไป

    ซะกาตเป็นคำที่มาจากภาษาอรับแปลว่าความจำเริญงอกงาม การเพิ่มทวีการทำให้บริสุทธิหรือการขัดเกลาจิตใจ ซะกาตป็นรุก่น(ข้อปฏิบัติที่เป็นคำสั่งใช้จากพระผู้เป็นเจ้า)ข้อหนึ่งของอิสลามที่จะต้องปฏิบัติในทุกรอบ 1 ปี ซะกาตเป็นการจ่ายทานบังคับสำหรับมุสลิมที่มีทรัพย์สินเงินทองครบตามจำนวนที่ถูกกำหนดไว้จะต้องจ่ายให้แก่ผู้ที่มีสิทธิ์รับ ตามอัตราที่ถูกกำหนดไว้แล้วเช่นกันภายในทุกรอบ 1 ปี หรือตามเวลาที่กำหนด อิสลามถือว่าจำนวนของทรัพย์ที่ถูกนำไปจ่ายเป็นทางซะกาตนั้นยังความจำเริญและงอกเงยให้แก่ส่วนที่เหฟลือจากที่ได้จ่ายไป และเป็นการชำระกิเลสของผู้บริจาคนั้นด้วย"จิตใจของผู้บริจาคบริสุทธิ์สะอาดและทรัพย์สินของเขางอกเงย" ซะกาตจึงเป็นความจำเริญงอกงาม และขัดเกลาทั้งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับรูปธรรมคือทรัพย์สมบัติและนามธรรมคือจิตใจ(อะหมัด 2517.9-10) การจ่ายซะกาตมีโองการจากพระผู้เป็นเจ้า พระองค์อัลลอฮ(ซ.บ)ไว้หลายโองการ ทรงประทานว่า จงดำรงละหมาดและจงบริจาคซะกาต(2:110) จงรับเอาทานจากสมบัติของพวกเขา เพื่อเจ้ามูฮัมมัด จะได้ชำระพวกเขาให้สะอาดและขัดเกลาพวกเขา(ด้วยทานนั้น)(9:110) ทายอันใดที่สูเจ้าบริจาคไปเพื่อหวังกุศลจขากอัลลอฮ(ซ.บ) พวกเขา(ผู้บริจาค)เหล่านั้นเป็นผู้ที่ได้รับผลเพิ่มพูน(30:39)  ความวิบัติจงเป็นของผู้ตั้งภาคีทั้งหลาย ซึ่งพวกเขาไม่บริจาคทาน(41:6-7) ซะกาตแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือซะกาตทรัพย์สิน มุสลิมที่ครอบครัวทรัพย์สินตามที่อิสลามกำหนดไว้ครบรอบ 1 ปี ช่วงเวลานี้จึงต้องจ่ายทานบังคับ ตามอัตราที่ถูกกำหนดไว้ แก่มุสลิม 8 ประเภท 1.คนอนาถา แร้นแค้น2.คนขัดสน รายได้ไม่พอกับรายจ่าย เช่นกรรมกร คนหาเช้ากินค่ำ แม่หม้าน ลูกกำพร้า 3.เจ้าหน้าที่เก็บซะกาต รวบรวมซะกาตเข้ามาไว้ในกองทุนซะกาต(บัลตุลมาล) แล้วจึงพิจารณาแจกจ่ายให้กับบุคคลที่เหมาะสม 4.ผู้เข้ารับอิสลามใหม่(มุอัลลัฟ)5.ทาสที่ได้รับอนุมัติจากนายให้นำเงินไปไถ่ถอนให้เป็นอิสระ 6.ผู้ที่มีหนี้สินล้นพ้นตัว 7.ผู้ที่ดำเนินการต่างๆแต่อสู้เพื่อความถูกต้องในอัลอิสลาม 8.ผู้ที่อยู่ระหว่างเดินทางไกลและอยู่ในภาวะที่ต้องช่วยเหลื เช่นขาดเงินกลับบ้าน      เงินไม่พอฯลฯ   ซะกาตอีกชนิเรียกว่าซะกาตฟิตเราะฮ คือมุสลิมทุกเพศ วัย จะต้องจ่ายทานบังคับให้แก่มุสลิม โดยใช้อาหารหลักของท้องถิ่นบริจาคตามพิกัดที่ถูกำหนดไว้ ผู้ที่ต้องบริจาคซะกาตฟิตเราะฮ คือ เป็นมุสลิมทั้งชายหญิง เด็ก ผู้ใหญ่ มีทรัพย์เหลือจากปัจจัย 4 มีชีวิตอยู่จนถึงเวลาพลบค่ำของวันสุดท้ายในเดือนรอมฎอน(เดือนถือศีลอด) ซะกาตจึงเป็นเงินบริจาคภาคศาสนบัญญัติที่ยิ่งใหญ่ หากคณะกรรมการมัสยิด คณะกรรมการจังหวัดบริหารจัดการกองทุนเงินซะกาตได้อย่างดีและมีประสิทธิภาพจะเกิดประโยชน์อย่สงมากกับมุสลิมหลากหลายลักษณะ ซึ่งกองทุนซะกาตก็โด่งดังในบังคลาเทศมาแล้วที่สามารถสร้างธนาคารการเงินของผู้ยากไร้ได้ประสบผลสำเร็จ ใครว่าคนจนจัดการเงินทุนในรูปธนาคารไม่ได้ลองอ่าน กามีนแบงค์ดูจะเข้าใจมากทีเดียว 

คำสำคัญ (Tags): #ซะกาต
หมายเลขบันทึก: 299195เขียนเมื่อ 20 กันยายน 2009 13:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มิถุนายน 2012 23:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท