ประชาคม ฅนสนามหลวง : การสร้างประวัติศาสตร์ของประเทศโดยผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ


การจัดประชาคม ฅนสนามหลวง เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของประเทศไทย ที่เป็นการรวมตัวกันของ ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะเพื่อร่วมกันขบคิดประเด็นการใช้นโยบายร่วมกันระหว่างภาครัฐและพลเมือง

ประชาคม ฅนสนามหลวง : การสร้างประวัติศาสตร์ของประเทศโดยผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ

เมื่อวันอังคารที่ 15 กันยายน 2552 ที่ผ่านมา ใครผ่านไปบริเวณคลองหลอดช่วงหลังอนุสาวรีย์แม่พระธรณีบีบมวยผม เยื้องกับโรงแรมรัตนโกสินทร์ อาจจะเห็นภาพที่คุ้นชินตาที่จะมีเต้นท์สามสี่เต้นท์มากาง แล้วมีคนเร่ร่อน คนข้างถนน ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ มารับของแจกมารับข้าวแจก ?? แต่ครั้งนี้ ไม่เหมือนกับครั้งก่อน ๆ เพราะกิจกรรมหรืองานครั้งนี้ เกิดจากภาคประชาสังคมร่วมกันจัดให้มีขึ้น โดยที่ไม่ได้ริเริ่มจากภาครัฐ ที่สำคัญเงินงบประมาณส่วนหนึ่ง ก็ได้มาจากการร่วมไม้ร่วมมือบริจาคผ่าน อิสรชน สะสมไว้จำนวนหนึ่งที่นำมาเป็นทุนในการจัดงานครั้งนี้ ที่พิเศษมากไปกว่านั้นคือ การจัดงานครั้งนี้ เป็นการจัดประชาคม ฅนสนามหลวง เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของประเทศไทย ที่เป็นการรวมตัวกันของ ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะเพื่อร่วมกันขบคิดประเด็นการใช้นโยบายร่วมกันระหว่างภาครัฐและพลเมือง

คนที่มาเข้าร่วมในวันนั้นจากการลงทะเบียน 213 คน ยังไม่นับรวม ตัวแทนฝ่ายภาครัฐทั้งสำนักงานเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ หน่วยทหาร ที่มาอีกหลายสิบคน รวม ๆ แล้วคนในวันนั้นน่าจะไม่น้อยกว่า 300 คนที่เข้ามาร่วมคิดร่วมสังเกตการณ์ ร่วมเป็นหนึ่งในประวัติศาสตร์ของชาติ ประวัติศาสตร์ที่ถูกมองข้ามไป เพราะย้อนกลับไปแม้จะมีความพยายามรวมผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะเพื่อพูดคุยมาบ้าง แต๋ก็จะได้เพียง คนไร้บ้าน  คนเร่ร่อน แต่จะไม่มี พนักงานบริการอิสระ ไม่มีผู้ค้า ไม่มีหมอนวด แตกต่างจากครั้งที่ ที่เป็นการรวมตัวของผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะที่หลากหลายมากที่สุด....ที่น่าน้อยใจ คือ เวทีนี้ แม้ว่าจะเป็นเวทีประชาคม ฅนสนามหลวง ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ชาติไทย แต่กลับไม่ได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนเท่าใดนัก ??คนรากหญ้าก็เสียงเบากว่า การร้องเพลงชาติไทยอยู่ดี

ในวันนั้นมีการแบ่งกลุ่มเพื่อร่วมกันขบคิดถึงเรื่องราวที่กำลังส่งผลกระทบกับพวกเขาโดยตรง ระดมความคิดเรื่องข้อเสนอและข้อเรียกร้องที่คิดจากภาคประชาสังคมโดยตรง แม้ว่าหลายประเด็นจะซ้ำกับสิ่งที่รัฐพยายามจัดสรรให้ก่อนหน้านี้ แต่ครั้งนี้เท่ากับเป็นการสอบทานความต้องการและข้อเสนอจากตัวจริงเสียงจริง.... สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจคือ ในกลุ่มคนไร้บ้าน คนเร่ร่อน เองมีมุมมองที่อยากจะดูแลกันเอง ดดยให้ภาครัฐเข้ามาสนับสนุน ซึ่งก็สอดคล้องกับเนื้อหาในร่างพระราชบัญญัติการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง ที่กำลังอยู่ในขั้นตอนของการยกร่างเพื่อเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรในระยะเวลาอันใกล้(มั้ง)

แม้ว่ากิจกรรมในวันนั้นอาจจะดูแปลกแปร่งในสายตาของภาครัฐไปบ้างแต่ก็สะท้อนให้เห็นว่า เมื่อภาคพลเมืองมีความตั้งใจจะรวมตัวกันเพื่อสนับสนุนมาตรการที่รัฐออกมาด้วยความเกื้อกูลกัน เขาก็ทำได้และพร้อมที่จะสนับสนุนเพียงแต่รัฐเองต้องมอบความเกื้อกูลและอาทรกลับกันมาเช่นกัน มาตรการหนึ่งที่ ทำได้คือ ส่งสารบอกต่อในเรื่องของการผลักดัน ร่าง พระราชบัญญัติการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง ให้มีผลบังคับใช้โดยเร็วที่สุดเพื่อมาเสริมกลไกเดิมที่มีอยูให้เข้มแข็งและมีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น และเพื่อบรรเทาปัยหาที่สะสมมาช้านานให้คลี่หลายลงไปมากกว่าเดิม

 

 

หมายเลขบันทึก: 298619เขียนเมื่อ 18 กันยายน 2009 09:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 09:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท