ทักษะการฟังคือของทักษะชีวิต


ทักษะในการฟังที่ดี

 

 

ทักษะในการฟัง 

 

ในการสื่อสารใด ๆ หรือการพูดคุยสนทนาระหว่างกันในเรื่องหนึ่งเรื่องใดนั้น “ทักษะการฟัง” เป็นสิ่งสำคัญมาก
การเป็นนักฟังที่เข้าทำนอง “ฟังไม่ได้ศัพท์แล้วจับมากระเดียด”ตามที่สุภาษิตไทยโบราณว่าไว้นั้น
นอกจากจะนำมาซึ่งความผิดพลาดในการสื่อสารแล้ว ยังอาจนำมาซึ่งความเข้าใจผิด
การทะเลาะเบาะแว้งไม่ลงรอยระหว่างกันไม่ว่าจะเป็นชีวิตครอบครัวหรือชีวิตการทำงาน

 

 

ทักษะการฟังที่ดีนำมาซึ่งความสำเร็จในชีวิต

นอกจากนี้การพัฒนาทักษะการฟังส่งผลต่อการพัฒนาในด้านสติปัญญา ในแง่ของการฝึกใช้ความคิด
การจับประเด็น ฝึกความจำ และฝึกฝนการจดจ่อแน่วแน่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ต้องการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

 
การฝึกฝนทักษะการเป็นผู้ฟังที่ดีและการฟังอย่างมีประสิทธิภาพนั้นเป็นสิ่งที่สามารถสอนและฝึกฝนกันได้

คุณได้พัฒนาฝึกฝนตนเองในเรื่องการฟังได้ดีพอแล้วหรือยัง

 

 

หมายเลขบันทึก: 298060เขียนเมื่อ 16 กันยายน 2009 10:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 15:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

คนที่เรียนเก่งจะมีการพัฒนาทักษะในการฟังมาตั้งแต่เป็นเด็กเล็ก
พัฒนากลายเป็นคนที่มีสมาธิ สามารถจับประเด็นการฟัง ใจความสำคัญ
เมื่อมีการฟังจะตั้งใจฟังทุกครั้ง ไม่วอกแวก
เมื่อมีคนมาชวนคุยระหว่างการฟังก็จะรำคาญ
นี่คือคุณลักษณะนิสัยของนักฟังที่ดีคะ

 

 

สิ่งที่คุณมัณฑนากล่าวนั้นคือลักษณะของการฟังที่ดี คือการ "ฟังเป็น" นั่นเอง ซึ่งเป็นหนึ่งในหัวใจนักปราชญ์
ประกอบด้วย สุ จิ ปุ ลิ ซึ่งสุคือการฟัง  
ในหน่วยงาน  ในองค์กร ในสังคม หรือแม้กระทั่งคนในครอบครัวเดียวกันมักจะมีเรื่องที่ไม่เข้าใจกันในการสื่อสาร
สาเหตุสำคัญจะมาจากขาดการฟัง หรือว่าฟังแล้วฟังไม่เป็นนั่นเอง
คนที่ฟังเป็นมาตั้งแต่เด็กมักจะได้รับการอบรมสั่งสอนวิธีการฟังที่ถูกต้อง
มักเป็นคนที่มีประสิทธิภาพ มีความเข้าใจในสิ่งที่ฟัง
เพราะสามารถจับประเด็นใจความสำคัญของการฟังได้

สวัสดีค่ะ เข้ามาอ่านแล้วนะค่ะ เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะ

ทั้งหมดนั้นก็คือ "การฟังอย่างมีสติ กระมังค่ะ"

เห็นด้วยครับว่าการฟังเป็นสิ่งที่ฝึกสอนกันได้
การฟังที่ดีต้องมีวัตถุประสงค์ของการฟังซึ่งเป็นหลักสำคัญของการฟัง
และต้องมีคุณสมบัติของการเป็นผู้ฟังที่ดีด้วยครับ

ใช่ครับคุณ คนชอบอ่าน ฟังอย่างมีสติ ต้องมีเท็คนิค
อย่างน้อยต้องสงบนิ่งมองหน้า ดวงตาและริมฝีปากผู้พูดด้วย แล้วคิดตาม
ที่สำคัญอย่ามีอคติในการฟัง

การฝึกฝนทักษะการเป็นผู้ฟังที่ดีและการฟังอย่างมีประสิทธิภาพนั้นเป็นสิ่งที่สามารถสอนและฝึกฝนกันได้
โดยเริ่มจาก

ฝึกฝนความอดทนในการเป็นผู้ฟังที่ดี อย่า“ด่วนสรุป”จากความคิดของตนแทนการฟังอย่างตั้งใจจนจบ
เราสามารถฝึกฝนความอดทนในการเป็นผู้ฟังที่ดีได้ โดยการฝึกฝนจากการฟังเทป บทเรียน
หนังสือเสียงต่าง ๆ โดยตั้งเวลาในการฟังอย่างเจาะจง ไม่ลุกไปทำอย่างอื่นก่อนฟังเสร็จ รวมทั้งในสถานการณ์จริง


ฝึกฝนการมีมารยาทเป็นผู้ฟังที่ดี
เป็นหลักการสำคัญในการเรียนรู้ที่จะให้เกียรติผู้พูด ไม่เป็นคนที่เย่อหยิ่งหรือเอาตนเองเป็นศูนย์กลางคิด

      
วัตถุประสงค์ของการฟัง   โดยทั่วไปมักมีจุดประสงค์ใหญ่ๆ 3 ประการคือ
(1) ฟังเพื่อให้เกิดความรู้และความรอบรู้
(2) ฟังเพื่อหาเหตุผลมาโต้แย้งหรือคล้อยตาม  คือฟังอะไรแล้ว  ต้องเป็นผู้รู้จักคิด ไตร่ตรองว่า สิ่งที่ตนได้ฟังมานั้นมีเหตุผลสมควรเชื่อถือหรือไม่ อันเป็นการฝึกให้เป็นคนสุขุมรอบคอบ ไม่เชื่อในสิ่งใดอย่างงมงาย 
(3) ฟังเพื่อความเพลิดเพลิน และซาบซึ้ง เป็นการฟังด้วยความนิยมชมชอบ 

และที่สำคัญต้องมีคุณสมบัติในการฟังด้วยครับ

สวัสดีค่ะ

ขอบคุณสำหรับสิ่งดีๆที่บันทึกค่ะ

(ทั้งในบันทึก และในความเห็นเลยค่ะ)

ขอบคุณคุณ ณัฐรดา ที่แวะเข้ามาสร้างมิตรภาพในบันทึกนี้
คุณเป็นคนที่มีความสามารถทั้งในด้านศิลปและด้านการศาสนา
ขอบคุณอีกครั้งครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท