ฝึกตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง


นักศึกษามาฝึกงาน เพื่อเพิ่มพูนทักษะและประสบการณ์ ก่อนที่จะออกไปเป็นรังสีเทคนิคมืออาชีพ ต้องผ่านการฝึกฝน เรียนรู้ ซ้ำแล้ว ซ้ำอีก ทำมาก ได้มาก ที่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

สวัสดีครับ

วันนี้ขอนำเสนอภาพจากกิจกรรมที่ผมสาธิตการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองในแบบจำลองให้นักศึกษารังสีเทคนิค คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยการแนะนำ ก่อนให้ทำด้วยตนเอง เรียนรู้ ก่อนฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง เห็นจริง เข้าใจ ก่อนที่จะออกไปเป็นนักรังสีเทคนิคมืออาชีพ

 

สาธิตไปและตั้งคำถามไป ฝึกให้นักศึกษากล้าคิด กล้าตอบ พัฒนาตนเองให้เข้าใจ รู้จักการใช้หลักการและเหตุผลกระตุ้นการคิดได้ ได้คิด 

บางส่วนของคำถาม

ถ้าผู้ป่วยเข้ารับการตรวจสมอง ที่อยู่ในท่านอนแบบในภาพ ดี หรือไม่ดี อย่างไร? 

ไม่ดี : เนื่องจากไม่มีอุปกรณ์รัดศีรษะ หากผู้ป่วยขยับศีรษะ จะทำให้ภาพที่ปรากฏไม่ชัดเจน

ดังตัวอย่างในภาพ ด้านล่างของภาพมีเส้นสีขาวสลับเป็นช่วง เนื่องจากผู้ป่วยขยับศีรษะ

ดี : เคลื่อนย้ายผู้ป่วยสะดวก ผู้ป่วยบางราย อาจมีผ้าพันหรือรัดห้ามเลือดศีรษะ มีอุปกรณ์ยึดป้องกันกระดูกคอเคลื่อน (ภาพซ้าย) การวางศีรษะเข้าไปอยู่ในบริเวณที่รองรับศีรษะอาจจะไม่สะดวกเหมือนกับภาพขวา

 

ดังนั้น การประยุกต์ใช้เครื่องมือในห้องตรวจต่างๆมีความสำคัญ

นอกจากนี้นักศึกษาได้เรียนรู้ ได้ฝึก ได้เข้าใจขั้นตอนการตรวจ การตั้งค่าพารามิเตอร์ต่างๆของเครื่อง โดยคำนึงถึงการป้องกันอันตรายและพยายามลดปริมาณรังสีที่ใช้ในการตรวจ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยมีความปลอดภัยมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ สร้างภาพที่นำไปใช้ในการวินิจฉัยที่มีคุณภาพดี เช่น

การถ่ายภาพ Scout โดยใช้ mA ต่ำ

การลดพื้นที่การฉายรังสี (Field of view : FOV) เลือกขนาดที่ใช้ ให้เหมาะสมกับขนาดของอวัยวะที่ต้องการตรวจ

 

 

    

เพิ่มเติมเกี่ยวกับเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่ผมได้เคยเขียนไว้ที่

รู้เครื่อง รู้ขั้นตอนการตรวจกับเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์

http://gotoknow.org/blog/tomtom/247693

 

สมรรถนะรังสีเทคนิคกับเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์

http://gotoknow.org/blog/tomtom/247265

 

การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง

http://gotoknow.org/blog/tomtom/223665

 

ขงจื้อกล่าวว่า

หากข้าได้ฟัง ไม่นานข้าก็อาจจะลืม สิ่งที่เคยฟัง

แต่ถ้าหากข้าได้เห็น ข้าจะเกิดความเข้าใจได้มากขึ้น

และถ้ายิ่งข้าได้ทำด้วยตัวเองแล้ว ข้าจะเกิดความเข้าใจ จดจำและมีทักษะในสิ่งที่ได้ทำนั้นๆ

 

กิจกรรมครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของความคาดหวังของนักศึกษาที่มาฝึกงาน

 

ดังนั้น การสร้างโอกาสให้กับตนเอง นักศึกษาเมื่อมีโอกาสแล้ว ควรหมั่นที่จะเรียนรู้ ที่จะฝึกฝนให้มาก เป็นการเตรียมตัวให้พร้อมกับการเป็น นักรังสี (มี)เทคนิค ต่อไป

หมายเลขบันทึก: 297890เขียนเมื่อ 15 กันยายน 2009 16:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เรียน ท่าน อาจารย์

ไม่ใช่แต่ขงจื้อครับ

กระผมก็ อาจจะบอกได้เหมือนกันว่า

ถ้าอ่านแล้วท่องไปสอบ พอสอบแล้วก็ลืม

แต่ถ้าหากได้ทำความเข้าใจในหลักใหญ่ ๆ แล้ว

สามารถแตกแยกย่อยรายละเอียดได้(อาจลืมบ้าง) และได้นำไปฝึกและใช้จริงแล้ว

หากได้พบอีก หรือ มีการถามอีกก็จะนึกได้ และ ลืมได้ยากขึ้น (จำฝังหรือประทับใจ)

ขอบพระคุณท่านอาจารย์อย่างสูง เห็นยุ่ง ๆ ๆ ใกล้ Final นึกว่าจะไม่ได้อ่าน

เรื่องราวที่ถ่ายทอดประสบการณ์อาจารย์ช่วงนี้ ก็ได้อ่านอีกก่อนสอบ ครับ

เป็นกิจกรรมที่ดีมากๆสำหรับวิชาชีพรังสีเทคนิคที่ต้องเรียนรู้และต้องรู้

และก่อนที่จะไปประกอบวิชาชึพต้องทำได้ตามมาตรฐานวิชาชีพค่ะ

อาจารย์ โกนหนวดหน่อยนะครับ หน้าโหดไปน้องๆเขาจะกลัวนา...

เรียน คุณประดิษฐ์

ดีครับ เรียนรู้แบบเข้าเนื้อ ติดตัว สามารถหยิบออกมาใช้ได้เมื่อจำเป็น ดีกว่าท่องจำ ครับ

เรียน พี่อรปภา

ถึงเหนื่อย ต้องพูดบ่อยๆ แต่ก็มีความสุข ที่มีส่วนในการเรียนรู้และเข้าใจของนักศึกษา สัปดาห์นี้จะมีการสรุปผลการฝึกงานครั้งที่ 2 ขอเชิญเข้าร่วมด้วย ครับ

เรียน คุณตุ้ย

นักศึกษาเค้าคุ้นเคยแล้วครับ เดี๋ยวอาจารย์มีหนวด เดี๋ยวโกนหนวด ทำให้เห็นว่าชีวิต สามารถเปลี่ยนแปลงได้ อยู่ที่ตัวเราทั้งนั้น

รวมถึงทำให้นักศึกษามีอะไรตื่นเต้น กระตุ้นต่อมชีวิต ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท