สนามหลวงโมเดล : จากรัฐธรรมนูญฯ2550 มาตรา 55 สู่พระราชบัญญัติการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง


ภายใต้รัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ มาตรา ๕๕ อาจจะเป็นโอกาสแรก ๆ ที่ รัฐ ต้องใช้ให้เป็นโอกาสในการปรับวิธีคิดในการแก้ไขปัญหา เลิกที่จะคิดการสร้างงานที่เป็นฐานเสียงทางการเมืองของพรรคพวกตนเอง หันมากล้าที่จะสร้างพลังทางความคิดให้แก้คนยากจน ยากไร้ ที่ ระบุไว้ใน รัฐธรรมนูญตามมาตรานี้ว่า บุคคลซึ่งไร้ที่อยู่อาศัยและไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ ย่อมมีสิทธิ ได้รับความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ โดยเฉพาะคำว่า ความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ ..?? อะไร คือความเหมาะสม และทำไม ต้องเป็นเพียงผู้รับเพียงอย่างเดียว ทำไม ไม่สามารถร่วมคิดร่วมเรียกร้องจากความต้องการของเขาเองได้บ้าง ??

สนามหลวงโมเดล : จากรัฐธรรมนูญฯ2550 มาตรา 55 สู่พระราชบัญญัติการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง

 

ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๕๕ ที่ระบุไว้ว่า บุคคลซึ่งไร้ที่อยู่อาศัยและไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ ย่อมมีสิทธิ ได้รับความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ .... คำถามที่อยากจะถามต่อทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ไล่เรียงมาตั้งแต่ สภาร่างรัฐธรรมนูญ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๔๙-๒๕๕๐ นั้นมีแนวคิดที่เป็นคำตอบในใจเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างไร ถึงได้ นำเรื่องนี้มาระบุไว้ใน รัฐธรรมนูญ ฉบับที่กล่าวอ้างว่าดีกว่า รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน??? เพราะมาจนถึงวันนี้ ตั้งแต่ที่รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีผลบังคับใช้ ยังไม่มีมาตรการใดใด หรือ กฎหมายใดใด ที่เกี่ยวเนื่องกับมาตรา ๕๕ บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ฉบับนี้เลย หนำซ้ำรัฐบาลทั้งของ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติที่แต่งตั้งอดีตองคมนตรีอย่าง พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ หรือ ไล่เรียงมา ถึง นายสมัคร สุนทรเวช มานายสมชาย วงษ์สวัสดิ์ และล่าสุด นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยังไม่ใครกล่าวถึงการดำเนินการตาม มาตรา ๕๕ ของรัฐธรรมนูญฉบับนี้เลย ??

สมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน(องค์กรสาธารณประโยชน์) ในฐานะที่เข้าคลุกคลีทำงานกับบุคคลที่ใช้ชีวิตในที่สาธารณะมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง พบว่า ปัญหาที่แท้จริงไม่ใช่การขาดที่อยู่อาศัย หากแต่เป็นที่อยู่อาศัยที่มีอยู่ไม่เอื้อต่อการดำรงชีวิต โดยเฉพาะมีสภาพการกดดันจากครอบครัว ชุมชนและสังคม ภายใต้กระแสทุนนิยมที่เข้ากลืนกินสังคมไทยมาตั้งแต่ยุคล่าอาณานิคม ที่ส่งผลให้คนชนบทต้องดิ้นรนเข้ามาบางกอก หรือกรุงเทพมหานคร โดยในระยะแรกใช้เส้นทางของรถไฟที่มีศักยภาพขนคนได้คราวละมาก ๆ ผ่านการโฆษณาชวนเชื่อความเป็นบางกอก หรือกรุงเทพมหานคร ผ่านสื่อสาธารณะ หนังกลางแปลง แม้ว่าจะมีความพยายามดึงรั้งคนชนบทบางส่วนไว้ด้วยสื่ออื่น ๆ แต่ ด้วยความเจริญที่เป็นจังหวะก้าวกระโดอย่างรวดเร็ว ก็ทำให้คนไทยชนบททะลักเข้ามายังใจกลางประเทศพร้อม ๆ กับการหอบหิ้วความหวังของคนที่อยู่ข้างหลังมาด้วยอย่างเต็มทั้งสองบ่า

เมื่อเข้ามาอยู่ในกรุงเทพมหานคร ก็มีบ้างทั้งประสบความสำเร็จกลับไปอย่างสง่าผ่าเผยและภาคภูมิใจ กลับเป็นแรงกระตุ้นให้คนรุ่นอื่น ๆ อยากที่จะเข้ามาสู่เมืองหลวงแห่งนี้มากยิ่งขึ้น แต่ในมุ้มกลับกัน คนที่ล้มเหลว ไม่ประสบความสำเร็จ ก็ไม่กล้ากลับไปสู้หน้าคนในครอบครัว ไม่กล้ากลับไปตอบคำถามของคนในชุมชน กัดฟันที่จะสู้ต่อในเมืองหลวงแห่งนี้ และนั่นเอง คือจุดเริ่มต้นของการก้าวเข้ามาเป็นบุคคลที่ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ ฅนสนามหลวง

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมามีความพยายามแก้ไขปัญหาเหล่านี้ ด้วยการกวาดจับ กวาดล้าง ผลักดัน ให้คนกลุ่มนี้ ออกจากพื้นที่สาธารณะด้วยวิธีการต่าง ๆ นานา การหาที่พักพิง หาบ้านให้อยู่ เป็นโจทย์แรก ๆ ของการแก้ไขปัญหานี้ โดยไม่สืบค้นหารากที่แท้จริงและไม่กระตุ้นให้เขายอมรับความเป็นจริงที่เขาประสบ โดยเฉพาะ การยอมรับในเบื้องต้นก่อนว่า คนทุนคนมีบ้าน แต่จากบ้านมาด้วยเหตุผลที่แตกต่างกันออกไป และหากสืบค้นสาเหตุที่มาที่ไปอย่างลงลึกได้ จะพบว่า แท้จริงแล้วคนกลุ่มนี้ ไม่ได้ต้องการ ฮาร์ทแวร์ที่ชื่อว่าบ้าน หากแต่เขาต้องการ ซอฟต์แวร์ที่ชื่อว่าบ้านต่างหาก กรมีที่อยู่ให้ ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบ สถานสงเคราะห์ บ้านพักคนไร้บ้าน หรือบ้านอื่น ๆ ไม่ใช่การแก้ไขปัญหาที่ตรงเป้าถูกประเด็น เป็นเพียงการบรรเทาความเดือดร้อนในเรื่องของที่อยู่ที่พักพิงเท่านั้น การแก้ไขปัญหาที่แท้ ต้องเร่งฟื้นฟูสภาพจิตใจให้เขากลับมายอมรับตนเอง ยอมรับความล้มเหลว เพื่อที่จะลุกขึ้นมาสู้กับชีวิตต่ออย่างมีแบบแผนและมีพลัง

ภายใต้รัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ มาตรา ๕๕ อาจจะเป็นโอกาสแรก ๆ ที่ รัฐ ต้องใช้ให้เป็นโอกาสในการปรับวิธีคิดในการแก้ไขปัญหา เลิกที่จะคิดการสร้างงานที่เป็นฐานเสียงทางการเมืองของพรรคพวกตนเอง หันมากล้าที่จะสร้างพลังทางความคิดให้แก้คนยากจน ยากไร้ ที่ ระบุไว้ใน รัฐธรรมนูญตามมาตรานี้ว่า บุคคลซึ่งไร้ที่อยู่อาศัยและไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ ย่อมมีสิทธิ ได้รับความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ โดยเฉพาะคำว่า ความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ ..?? อะไร คือความเหมาะสม และทำไม ต้องเป็นเพียงผู้รับเพียงอย่างเดียว ทำไม ไม่สามารถร่วมคิดร่วมเรียกร้องจากความต้องการของเขาเองได้บ้าง ??

และเมื่อปลายปี 2551 มีการหยิบยก พระราชบัญญัติการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง ขึ้นมาพูดคุย โดทนทราบมาว่า เป็นการร้องของจากกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ให้สำนักงานกฤษฎีกา เป็นผู้ร่างพระราชบัญญัตินี้ขึ้นมา โดยมีการนำเสนอณะรัฐมนตรีหลายรอบ จนครั้งล่าสุดเท่าที่ติดตามความคืบหน้า คือ วันที่ 17 มีนาคม 2552 ภายใต้รัฐบาลนายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีความเห็นชอบในหลักการและมอบหมายให้กระทรวงการพัฒนาสังคมฯเป็นผู้ดำเนินการต่อ โดยให้มีการจัดเสวนา ประชุมทางวิชาการเพื่อระดมความคิดเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาที่มีอยู่ในปัจจุบัน นับมาถึงวันนี้ ก็ 6 เดือนผ่านมา ยังไม่มีอะไรคืบหน้า ??

ล่าสุด คณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ประกาศจัดระเบียบเมืองจัดระเบียบสนามหลวง โดยใช้กฎหมายอย่างน้อย สามฉบับที่เกี่ยวข้อง ออกมาดำเนินการ โดยใช้ พระราชบัญญัติการรักษาความสะอาดฯ 2535 พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณีฯ 2539 พระราชบัญัติมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการค้าหญิงและเด็กฯ 2540 พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรมการค้ามนุษย์ฯ2551 และพระราชบัญญัติควบคุมการขอทานฯ โดยเมื่อพิจารณาในรายละเอียดจะพบว่า ยังไม่มี กฎหมายที่ใช้เพื่อการเยียวยาในกรณีที่เป็นคนไร้ที่พึ่ง ที่ใช้พื้นที่สาธารณะดำรงชีวิต ทำมาหากิน เพราะกฎหมายที่มีอยู่จะเป็นกฎหมายที่มีบทลงโทษเป็นสำคัญแต่ไม่มีมาตรการในการเยียวยา เพราะเดิมมองผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะในกลุ่มต่าง ๆ เป็นผู้กระทำผิดกฎหมายจึงมีแต่บทลงโทษทางกฎหมายและใช้อำนาจรัฐในการพิจารณามาตรการให้การสงเคราะห์เป๋นสำคัญ

ในการออกมาตรการดังกล่าว คณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ได้มอบหมายให้ ดร.ธีรชน มโมมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานคณะกรรมการในการดำเนินงานให้เป็นไปตามนโยบายของคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานครที่นำโดย หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร และได้มีการเชิญผู้เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการเสนอข้อคิดเห็นในการจัดระเบียบเมืองจัดระเบียบสนามหลวง หนึ่งในมาตรการดังกล่าว คือการเสนอให้มีการผลักดันเร่งรัดให้คณะรัฐบาลที่อยู่ภายใต้สังกัดพรรคเดียวกันกับคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร เสนอพระราชบัญญัติการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง เข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรโดยเร็วที่สุด เพื่อนำไปสู่การพัฒนากลไกการทำงานเพื่อการพัฒนาคุรภาพชีวิตของคนไร้ที่พึ่ง ที่เป็นพลเมืองกลุ่มหนึ่งของประเทศ

สืบเนื่องมาจากกลไกของรัฐที่มีอยู่ในปัจจุบันที่มีหน้าที่ดูแลให้การสงเคราะห์คนไร้ที่พึ่งได้แก่ สถานแรกรับ 2 แห่ง สถานสงเคราะห์ 6 แห่ง ใน 5 จังหวัด ศูนย์ฝึกอาชีพ 2 แห่งและชุดออกสำรวจคนไร้ที่พึ่งในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งเมื่อพิจารณาและสอบถามขข้อมูลจากผู้ที่เคยรับการให้บริการจากกลไกเดิมที่มีอยู่พบว่า ไม่ตอบสนองวิถีชีวิตที่คนไร้ที่พึ่งเป็นอยู่ที่โดยส่วนใหญ่จะรักอิสระไม่ชอบกฏเกณฑ์ ข้อบังคับที่ไม่ยืดหยุ่นของรัฐทำให้ไม่มีความคชต้องการขอรับบริการ ทำให้สอดล้องกับกลไกที่ปรากฎในพระราชบัญญัติกาคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง ที่เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนในสังคมมีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในการให้ความช่วยเหลือสนับสนุนกลไกต่าง ๆ ให้ดีขึ้น รวมถึงการคิดค้นกลไกใหม่ ๆ ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนไร้ที่พึ่งมากยิ่งขึ้น เช่น การเปิดโอกาสให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น เข้ามามีส่วนรับผิดชอบในระดับต้นทาง เปิดโอกาสให้ ภาคประชาชนเสริมกลไกของรัฐคิดค้นกลไกใหม่ ๆ รวมไปถึงการสนับสนุนให้คนไร้ที่พึ่งยืนหยัดขึ้นมาดูแลกันเองโดยได้รับการสนับสนุนด้านวิชาการและงบประมาณจากภาครัฐ ซึ่งเป็นรูปแบบของการทำงานที่ไม่ใช่การให้การสงเคราะห์แบบเดิม ๆ ที่เป็นอยู่

การดำเนินการการจัดระเบียบเมืองจัดระเบียบสนามหลวง จึงไม่ใช่แค่การทำงานระดับท้องถิ่นหากแต่เป็นการทำงานในระดับนดยบาย เป็นการทำงานในระดับประเทศ ที่ต้องร่วมมือกันขยับให้กลไกที่มีอยู่ขับเคลื่อนไปพร้อม ๆ กับสนับสนุนให้มีกลไกใหม่ ๆ เกิดขึ้นเพื่อร่ววมือกันคลี่คลายปัญหาให้เบาบางลงอันจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาแบบยั่งยืน ข้อเสนอที่ควรจะเร่งให้เกิดขึ้นระหว่างรอการเสนอพระราชบัญญัติฉบับบนี้เข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา คือการทดลองนำกลไกดังกล่าวมาปฏิบัติในกรุงเทพมหานคร เพื่อเป็นโมเดลในการทำงานร่วมกันของภาครัฐและภาคประชาสังคมในรูปแบบของ คณะกรรมการร่วมในนามของ คณะกรรมการการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง กรุงเทพมหานคร เพื่อวางมาตรการการทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไร้ที่พึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร และนำรูปแบบในพระราชบัญญัติการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งมาทดลองใช้ ก็น่าจะเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาของกรุงเทพมหานครได้อย่างยั่งยืน อีกทั้งยังเป็นการแสวงหาความร่วมมือจากภาคประชาสังคมได้อย่างดีอีกด้วย เพราะการทำงานเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้ที่พึ่งให้กลับเข้ามาสู่มาตรฐานกลางของรัฐสวัสดิการสังคม ที่มีอยู่น่าจะเป็นการทำงานที่เกิดจากความร่วมไม้ร่วมมือจากทุกฝ่ายไม่ใช่จากรัฐหรือเอกชน หรือประชาสังคมเพียงเท่านั้น

 

หมายเลขบันทึก: 297592เขียนเมื่อ 14 กันยายน 2009 20:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 14:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท