ประชาคมฅนสนามหลวง : จัดระเบียบสนามหลวง


ในสมัยหนึ่งสถานที่แห่งนี้มีชื่ออย่างไม่เป็นทางการว่า สนามราษฎร์-สนามหลวง เหตุเพราะเรียกจากวิธีการใช้ประโยชน์ที่ครบถ้วนในทุกระดับชั้น เป็นสนามราษฎร์ที่เปิดให้คนทุกชนชั้นได้เข้ามาใช้ประโยชน์ ใช้ชีวิตตามอิสระตามวัฒนธรรมการใช้ชีวิตแบบไทย ๆ เป็นสนามหลวงที่ใช้ประกอบกิจการงานพระราชพิธีสำคัญ ๆ หลายต่อหลายครั้งหลายต่อหลายงาน .... ทำให้เห็นว่าในอดีตที่ผ่านมาสนามหลวงไม่ได้ใช้ประโยชน์เพียงงานหลวงเพียงเท่านั้น

ประชาคมฅนสนามหลวง : จัดระเบียบสนามหลวง

หลังจากที่คณะผู้บริหารกรุงเทพมหานครมีมาตรการจัดระเบียบเมือง จัดระเบียบสนามหลวง อกมาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2552 ที่ผู้รับผิดชอบหลักทางฝ่ายภาครัฐคือ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ดร.ธีรชน มโมมัยพิบูลย์ เป็นผุ้รับผิดชอบโดยตรง โดยมอบนโยบายให้สำนักเทศกิจเป็นผู้ดูแลด้านการจัดระเบียบเมือง ความสะอาด และเมื่อวันที่ 10 กันยายน  2552 ที่ผ่านมา คณะผู้บริหารกรุงเทพมหานครได้เชิญหน่วยงานหลายหน่วยงานเข้ามาประชุมเพื่อปรึกษาหารือร่วมกันในประเด็นของการจัดระเบียบคนที่ใช้ประโยชน์ร่วมกันจากสนามหลวง

หลายฝ่ายยอมรับในมิติที่เปล่ยนไปจากเดิมที่เคยมีมาตั้งแต่ปี 2535 ที่เริ่มมีพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดฯ ที่ไล่เรียงการใช้มาตรการต่าง ๆ เริ่มตั้งแต่เด็ดขาดรุนแรง จนมาถึงปัจจุบันที่ลอมชอมกันมากขึ้น แต่ที่ยังต้องจับตากันเป็นพิเศษคือ เมื่อดำเนินการนำคนออกจากสนามหลวงเพื่อไปเยียวยาได้เป็นผลสำเร็จจนเป็นที่พอใจของฝ่ายต่าง ๆ แล้ว ใครจะเข้ามาทำอะไรกับสนามหลวง สนามหลวงยังจะเป็นพื้นที่สาธารณะสำหรับคนทุกระดับชั้นจิงหรือเปล่า ??

ในสมัยหนึ่งสถานที่แห่งนี้มีชื่ออย่างไม่เป็นทางการว่า สนามราษฎร์-สนามหลวง เหตุเพราะเรียกจากวิธีการใช้ประโยชน์ที่ครบถ้วนในทุกระดับชั้น เป็นสนามราษฎร์ที่เปิดให้คนทุกชนชั้นได้เข้ามาใช้ประโยชน์ ใช้ชีวิตตามอิสระตามวัฒนธรรมการใช้ชีวิตแบบไทย ๆ เป็นสนามหลวงที่ใช้ประกอบกิจการงานพระราชพิธีสำคัญ ๆ หลายต่อหลายครั้งหลายต่อหลายงาน .... ทำให้เห็นว่าในอดีตที่ผ่านมาสนามหลวงไม่ได้ใช้ประโยชน์เพียงงานหลวงเพียงเท่านั้น

ในการประชุมเมื่อวันที่ 10 กันยายน นั้น อิสรชน ได้เสนอตัวอาสาที่จะจัดการเชิญคนสนามหลวงมาพูดคุยทำประชาคมร่วมกัน เพื่อแสวงหาทางออกที่เหมาะสมที่สุดของการใช้พื้นที่สนามหลวง โดยที่ไม่กระทบต่อวิถีชีวิตทุกฝ่าย รวมไปถึงการเข้ามาบริหารจัดการ การให้ความดูแลคนที่ประสบปัญหาชีวิตและต้องมาอยู่สนามหลวง ว่ามีแนวคิดมีอะไรเป็นข้อเสนอในการช่วยกันบริหารจัดการพื้นที่ที่ผ่านร้อนผ่านหนาวผ่านฝนมานานนับร้อยปี สนามหลวงอาจจะมีภาพติดตา ที่หลายฝ่ายมีแตกต่างกันออกไป ใครเกิดก่อน 2513 ที่เติบโตมาพร้อมกับสนามหลวงอาจจะจดจำภาพของตลาดนัดเสาร์-อาทิตย์ที่สนามหลวงได้ รวมถึงจดจำได้ว่า หลายคนก็มาหัดขับขี่จักรยานเป็นก็ที่กลางสนามหลวงแห่งนี้ ภาพหนึ่งคือ สนามขนาดใหญ่กลางเมืองที่มีฝุ่นจากที่มีคนขับจักรยานเต็มสนามหลวงไปหมด หรือภาพของการแสดงปาหี่ เล่นกลแบบไทย ๆ ถอดหัว ปล่อยงู ก็มีที่สนามหลวงแห่งนี้ ภาพต่าง ๆ เหล่านี้อาจจะได้มีโอกาสฉายสะท้อนกลับมาให้ได้รับรู้รับฟังร่วมกันใน พลบค่ำของวันอังคารที่ 15 กันยายน 2552 ที่ริมคลองหลอด หลังแม่พระธรณีบีบมวยผม ตั้งแต่เวลา 17.30-19.30 น.โดยประมาณ

การจัดประชาคมแบบนี้อาจจะเป็นครั้งแรกที่เริ่มมีการจัดให้คนที่อยู่ในที่สาธารณะมาพบปะพูดคุยกัน เพื่อสะท้อนเรื่องราวที่ตนเองประสบและมีข้อเสนอแนะต่อรัฐที่รับผิดชอบดูแลปัญหาเมืองอยู่ เพื่อนำไปสู่การร่วมไม้ร่วมไม้ร่วมมือแก้ไขปัญหาที่หมักหมมมาช้านาน การแก้ปัญหาแบบคิดเองจากผู้ให้บริการ อาจจะถึงจุดเปลี่ยนที่ต้องฟังผู้ต้องการรับบริการโดยตรงว่าปัญหาที่มีต้องการการให้บริการแบบไหน และอาจจะเป็นเพียงก้าวแรก ที่จุดประกายให้เกิดก้าวต่อ ๆ ไปในการหันหน้าเข้ามาหากันของ พลเมือง ที่มีสิทธิเท่าเทียมกัน ในการรับประโยชน์จาก รัฐสวัสดิการ ที่พึงมี

การจัดระเบียบเมือง ที่จะมุ่งเน้นเพียงการจัดภูมิทัศน์ให้งดงามเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอเพราะความสวยงามที่ปราศจากจิตวิญญาณ ก็ไม่ต่างอะไรกับ ดอกไม้พลาสติค ที่สวยแต่รูปเท่านั้นเอง

หมายเลขบันทึก: 297149เขียนเมื่อ 13 กันยายน 2009 16:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 09:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท