ความท้าทายของ “การจัดทำแผนที่การเดินทางสู่ผลลัพธ์”.......แผนที่ผลลัพธ์(Outcome Mapping)ตอน2


ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องฟังกันและกันให้มากขึ้น ให้การยอมรับกันให้มากขึ้น ร่วมมือร่วมใจกันให้มากขึ้น ด้วยเหตุนี้กระบวนการ “การสานเสวนาหาทางออกร่วมกัน”จึงเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่ใช้คู่กับเครื่องมือ “แผนที่ผลลัพธ์”ได้เป็นอย่างดี

ความท้าทายในการ “จัดทำแผนที่สำหรับการเดินทางสู่ผลลัพธ์”  

ในกระบวนการจัดทำ “แผนที่ผลลัพธ์”ที่ดีนั้น ผู้ที่จัดทำแผนที่จะเขียนสัญลักษณ์ที่เป็น"จุดหลักหรือประเด็นที่ต้องคำนึงถึง(ตระหนัก)" ที่เป็นจุดใหญ่ๆบอกเป็นสัญญลักษณ์เอาไว้ในแผนที่   โดยแผนที่ผลลัพธ์ ตามแนวของ IDRC กล่าวไว้ว่ามีจุดที่ต้องคำนึงถึง 12 จุด ซึ่งก็คือขั้นตอนในการ“จัดทำแผนที่สำหรับการเดินทางสู่ผลลัพธ์”   12 ขั้นตอนย่อยนั่นเอง   เป็นการบอกเส้นทางที่คนทำแผนที่ได้เคยใช้เส้นทางนั้นในการเดินทางมาก่อนแล้ว  แต่คนทำแผนที่ก็ต้องตระหนักในการจัดทำแผนที่แต่ละครั้งด้วยว่า   ที่แท้จริงแล้วเส้นทางสู่เส้นชัยนั้นไม่ได้มีเพียงหนทางเดียว   อาจจะมีหนทางอื่นๆรวมอยู่ด้วย ที่สามารถนำพาเราไปถึงเป้าหมายหลักนั้นได้เหมือนกัน   ดังนั้นในการจัดทำแผนที่สำหรับการเดินทางสู่ผลลัพธ์นั้น  การเปิดใจยอมรับประสบการณ์ที่หลากหลายของผู้ทำแผนที่ที่มีประสบการณ์ร่วมในการเดินทางมาก่อน  การให้โอกาสเพื่อนร่วมทางได้มีการทดลองสำรวจเส้นทางใหม่ๆเพื่อการเรียนรู้ร่วมกัน แล้วค่อยมาเติมเต็มกันในภายหลัง     หรือแม้กระทั่งบางครั้งเราอาจจะต้องเป็นคนทำทางเส้นทางใหม่ด้วยตนเองหรืออาจร่วมกันถากถางเส้นทางขึ้นมาใหม่ ซึ่งอาจจะขรุขระบ้างในช่วงแรก  ดังนั้น "กระบวนการจัดทำแผนที่สำหรับการเดินทางสู่ผลลัพธ์" จึงเป็นกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน    และการที่จะเกิดเป็น “แผนที่” ที่มีความสมบูรณ์มากขึ้นได้นั้นจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อคนร่วมเดินทางทุกคน ได้ใช้ประสบการณ์ ความรู้ ความรู้สึก สติปัญญาของแต่ละคนเป็นส่วนสำคัญในการเติมเต็มให้กับการทำแผนที่เท่านั้น   จึงจะได้ “แผนที่” ที่สมบูรณ์มากขึ้นทุกขณะ   "กระบวนการทำแผนที่สำหรับการเดินทางสู่ผลลัพธ์"  จึงไม่ใช่กระบวนการทำงานของคนเพียงไม่กี่คน   หากจะต้องร่วมมือกันของผู้ที่เกี่ยวข้อง  ขณะเดียวกันก็ไม่ใช่กระบวนการที่มีแค่การจัดทำเพียงหนเดียวแล้วจบหากจะต้องมีความต่อเนื่องกันไป 

 ดังนั้น“แผนที่ผลลัพธ์”ในความหมาย"กระบวนการทำแผนที่สำหรับการเดินทางสู่ผลลัพธ์" จึงต้องมีความตระหนักด้วยว่าไม่ใช่มีเส้นทางเดินทางเพียงเส้นทางเดียวที่จะเดินทางสู่ผลลัพธ์ที่มุ่งหวังได้ ในโลกความเป็นจริงของการเดินทางแล้วยังมีเส้นทางที่รอการค้นพบอีกมากมาย และยังมีเส้นทางอีกหลายเส้นที่รอการถากถางร่วมกัน รวมทั้งยังต้องมี บริบทและเหตุปัจจัยอื่นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอีกมากมายที่เราที่ควรคำนึงถึงในการ "จัดทำแผนที่สำหรับการเดินทางสู่ผลลัพธ์"  เราจึงจำเป็นต้องฟังกันและกันให้มากขึ้น   ให้การยอมรับกันให้มากขึ้น  ร่วมมือร่วมใจกันให้มากขึ้น ด้วยเหตุนี้กระบวนการ “การสานเสวนาหาทางออกร่วมกัน”จึงเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่ใช้คู่กับเครื่องมือ “แผนที่ผลลัพธ์”ได้เป็นอย่างดี

ความท้าทายในการจัดทำ "แผนที่ผลลัพธ์"ในความหมายนี้ก็คือทำอย่างไรจึงจะทำให้ “แผนที่ผลลัพธ์” ที่จัดทำขึ้น จึงจะเป็นเครื่องมือช่วยนำทางสำหรับนักเดินทาง(ทำงาน) ให้การเดินทางนั้นๆ ประสบผลสำเร็จตามความมุ่งหวัง หรือเป็นไปตามผลลัพธ์สุดท้ายได้ตามตัวชี้วัดที่กำหนดไว้(มีประสิทธิผล)และให้การเดินทางนั้นเป็นไปอย่างที่มีใช้ทรัพยากรน้อย และเวลาน้อย รวมทั้งสูญเสียน้อยที่สุด(มีประสิทธิภาพมากที่สุด) รวมทั้งมุ่งหวังให้เป็นการเดินทางที่มีความหมายมีคุณค่า(ความดี) คนมีความสามารถที่สอดคล้องกับเส้นทางในการเดินทาง (ความสามารถ)ตลอดจน  มีความเพลิดเพลิน  มีความสุข  สนุกสนานในการเดินทาง(ความสุข)  ทั้งนี้รวมทั้ง การบรรลุเป้าหมายสุดท้ายร่วมกันด้วย นั่นคือ "ความอยู่เย็น เป็นสุขร่วมกัน" นั่นเอง

หมายเหตุ  บันทึกจากเข้ารับการอบรมหลักสูตร  “แผนที่ผลลัพธ์(Outcome Mapping)ขั้นพื้นฐาน” จัดโดยบางกอกฟอรั่ม ที่ KU Home มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ระหว่างวันเสาร์-อาทิตย์ ที่12-13 กันยายน 2552 มี อ.หมู- วีรบูรณ์ วิสารทสกุล  เป็นวิทยากร เป็นการบันทึกรายงานการเข้าอบรมเสนอกับองค์กรของผู้บันทึกผู้สนับสนุนค่าใช้จ่ายเพื่อการเรียนรู้ด้วยครับ

หมายเลขบันทึก: 296996เขียนเมื่อ 13 กันยายน 2009 00:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 09:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท