เป็นอะไรที่มากกว่าเข้าครัว แต่คือสุนทรียภาพของการทำอาหาร


การได้รับโอกาสของการได้เรียนรู้และการทำครัวนั้น อาจจะดูเหมือนว่าเป็นเรื่องที่ทำธรรมดา หรือเป็นเรื่องที่คุ้นเคยสำหรับใครบางคน หรืออาจดูว่าเหมือนเป็นหน้าที่อย่างหนึ่ง แต่สำหรับข้าพเจ้าแล้ว...

การตระเตรียม การเข้าครัว และการทำอาหารนั้น...

เป็นศิลปะแห่งความงดงามอย่างหนึ่ง

เป็นที่ศูนย์รวมในทางมิติจิตวิญญาณของผู้ที่อยู่เบื้องหน้าสรรพอาหารทางหลาย

การที่จะทำให้อาหารหนึ่งอย่างออกมาอย่างรสชาติดี อร่อย ไม่ใช่อยู่ที่เครื่องปรุง หรือผงชูรส

หากแต่อยู่ที่การรวบรวมจิตใจให้จดจ่อต่อการปรุงอาหาร ...

ดั่งเช่นในปรัชญาแม๊คโครไบโอติคนั้น ถือว่า การปรุงอาหารเป็นรูปแบบทางศิลปะชั้นสูง เพราะอาหารเป็นที่มาของเลือดเนื้อและเซลล์ของร่างกายโดยตรง

 

เมื่อก่อนข้าพเจ้าเคยละเลยในเรื่องนี้

หรืออาจจะเรียกได้ว่ายังหยาบอยู่มากในเรื่องนี้ ด้วยเหตุผลที่อ้างต่อตนเองว่าเป็นการงานที่ตนเองนั้นไม่ถนัด

แต่จริงๆ แล้วในการทำครัวหรือการปรุงอาหารนั้น คือ การน้อมนำการใช้พลังแห่งจิตที่หลอมรวมออกมาเป็นพลังแห่งความสร้างสรรค์ โดยการงานนี้จะมีจิตใจแห่งความตั้งใจ จิตใจแห่งความศรัทธานั้นเป็นที่ตั้ง เป็นที่กำหนด

ข้าพเจ้าจำได้ว่า...

ได้สังเกตและเรียนรู้จากคุณแม่บัวผันและคุณแม่ชุลีพร ... ขณะที่ท่านทำอาหารนั้น หรือเตรียมอาหาร จิตของท่านจะจดจ่ออย่างมีสติและสมาธิต่อการงานที่อยู่ตรงหน้า... วัตถุดิบท่านหาได้เท่าที่มี ข้าพเจ้าได้รับโอกาสจากท่านให้เป็นลูกมือในการเตรียม ทั้งๆ ที่ข้าพเจ้านั้นไม่เคยที่จะได้ทำการงานในครัวใหญ่เช่นนี้ ...

 แต่...ข้าพเจ้าก็ตั้งสติก่อน

ทำไปภาวนาไปด้วยลมหายใจที่มีอยู่ ...

ทำเช่นนี้...ก็ทำให้ปราศจากความหวาดหวั่น ความหวาดกลัว

ทำไปด้วยใจที่สงบ และวางใจต่อคุณแม่ทั้งสอง ... เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ทำให้ข้าพเจ้าได้เกิดการเรียนรู้มากมาย เพราะไม่ได้ไปกังวลหรือกลัว หรืออวดฉลาดใดใด เพียงแค่ทำตัวให้เล็ก...และเปิดประตูใจให้กว้าง ...

ได้เรียนรู้แม้ แต่การหยิบกล้วยที่เจียนเน่า(แต่ไม่เน่า เพียงแต่รูปลักษณ์ภายนอกคล้ายอย่างนั้น) ...อย่างที่บางท่านอาจจะทิ้งไป แต่คุณแม่ชุลีพรก็สามารถนำมาทำประโยชน์และกลายเป็นอาหารที่มีคุณค่าได้ทันที...

 

ท่านใช้ข้าพเจ้าไปหยิบกล้วยมา ภายนอกนั้นดูรูปลักษณ์ทั้งเละ และมีแมลงวี่ตอม ลักษณะกล้วยนั้นช้ำมาก ไม่น่าที่จะนำมาทำอะไรได้แต่คุณแม่ชุลีพรได้เมตตาสอนข้าพเจ้าว่า หากเราดัดแปลงนิดหน่อยนี้ กล้วยที่ว่านี้ก็ทำประโยชน์ได้ และถวายหลวงพ่อท่านฉันได้...

 เป็นงานครัวที่ข้าพเจ้าได้เรียนรู้ว่า ... เสียงที่ปรากฏขึ้น

ไม่ว่าเสียงไฟ หม้อน้ำเดือด เสียงผัด โขลกพริก อะไรทั้งหลายเหล่านี้ช่างเปรียบเสมือนเสียงดนตรีที่ประสานจังหวะอย่างไพเราะและรับต่อกันเป็นหนึ่งเดียว ... เหมือนวงดนตรีวงหนึ่งที่ต่างประสานและบรรเลงเพลงอันไพเราะ...เมื่อจบสิ้นแห่งเสียงเพลง ก็ได้อาหารออกมาหนึ่งอย่าง...ที่มอบต่อผู้คนด้วยใจที่ศรัทธาอยากทำ...

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 296300เขียนเมื่อ 10 กันยายน 2009 19:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 ตุลาคม 2013 22:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีคะ

แวะมาทักทาย ไม่ได้เข้าครัวหลายวันแล้วคะ

มีตุ๊กแกอยู่ที่ครัว หลายตัวมาก ๆ ช่วยกินแมลงให้

อาจารย์คะ..เข้าครัวทำอาหารนั้นแสนลำบาก หาคนมาทานก็ยิ่งยากลำบากแสน พอได้อ่านแล้ว เฮ้อ ขอคิดเชิงบวกอีกซักที "ศิลปะๆๆๆ" ขอบคุณอาจารย์นะคะ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท