SPIRIT OF ASEAN ......ใคร?..คือผู้สร้าง ...ใคร?..คือผู้นำ....ภารงานระยะเร่งด่วน


10 ประเทศ ในพื้นที่อาเซียน spirit ใด?ที่ต้องสร้าง....spirit ใด?ต้องสะสม เพื่อความเป็นหนึ่ง ความอาทรแห่งสันติสุข ความมั่งคั่ง ของสังคมอาเซียน และการสืบทอดวัฒนธรรมที่แข็งแกร่ง แห่งพื้นถิ่นอาเซียน

   

    10 ประเทศ ในพื้นที่อาเซียน spirit ใด?ที่ต้องสร้าง....spirit ใด?ต้องสะสม เพื่อความเป็นหนึ่ง ความอาทรแห่งสันติสุข  ความมั่งคั่ง ของสังคมอาเซียน และการสืบทอดวัฒนธรรมที่แข็งแกร่ง แห่งพื้นถิ่นอาเซียน โรงเรียนเป็น พื้นที่หนึ่ง ที่สำคัญยิ่งกับ spirit of ASEAN

    มีโอกาสเข้าร่วมคิดเรื่อง การสอน spirit  of  ASEAN  กับ สพฐ.เมื่อเดือนที่ผ่านมาเพื่อเตรียมหลักสูตร  เตรียมแหล่งเรียนรู้อาเซียนศึกษา นำร่อง เพื่อเตรียมเดินสู่ ส่วนของวิสัยทัศน์การศึกษาขั้นพื้นฐานที่ว่า " ให้ผู้เรียนมีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป้นพลเมืองโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข...." และมีโอกาสได้อ่าน ASEAN Vision 2020 น่าคิด น่าหาช่องทางกระแทกใจห้องเรียน ให้นำสู่ห้องเรียนคุณภาพของพลโลกด้วยในเร้ววัน

  ASEAN Vision 2020 & Recent Summit Mandates

The ASEAN Vision 2020 envision "ASEAN as a concert of Southeast Asian nations, outward looking, living in peace, stability and prosperity, bonded together in partnership in dynamic development and in a community of caring societies". Furthermore, the ASEAN Vision 2020 "envision the entire Southeast Asia to be, by 2020, an ASEAN community conscious of ties of its history, aware of its cultural heritage and bound by a common regional identity".

      

          หากตรองและกระแทกใจบ้าง...เรามีข้อคิดมากมายกับวิสัยทัศน์และภารงานที่สำคัญระยะสั้น.....คิดอย่างไร..? มุมมองและช่องทางเดิน คงมีหลากหลายรูปแบบ ที่บ้านเราเพื่อ...สันติสุขของอาเซียน ในอนาคต 

วิสัยทัศน์อาเซียนปี  2020 และภาระงานที่สำคัญในระยะสั้น  

            วิสัยทัศน์ของอาเซียนปี 2020 คาดหวังว่ากลุ่มอาเซียนคือการรวมตัวของกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในการที่มองออกไปสู่โลกภายนอกมีชีวิตอยู่อย่างสงบสุข  มั่นคง และมั่งคั่งมีภาระร่วมกันในการพัฒนาที่ไม่หยุดนิ่งและในสังคมที่เอื้ออาทรต่อกัน  นอกจากนี้วิสัยทัศน์อาเซียนปี  2020  คาดหวังให้ทุกประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นกลุ่มประเทศที่มีจิตสำนึก  ในด้านประวัติศาสตร์  มรดกทางวัฒนธรรม  และ  ความเป็นเอกลักษณ์ของภูมิภาค

             วิสัยทัศน์อาเซียนปี  2020 มีมติให้ใช้การก่อตั้งสมาคมอาเซียนเป็นเครื่องมือเพื่อพัฒนาความไม่เสมอภาคทางเศรษฐกิจ  ความยากจน และความแตกต่างทางเศรษฐกิจและสังคม  และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในแผนปฏิบัติการฮานอย(1999-2004)  สนับสนุนให้ใช้การก่อตั้งสมาคมอาเซียนเพื่อสนับสนุนกิจกรรมและโครงการพัฒนาทางสังคมเพื่อพัฒนาความไม่เสมอภาคทางเศรษฐกิจ  ความยากจน  และความตากต่างทางเศรษฐกิจและสังคม  และเพื่อส่งเสริมกิจกรรมของกลุ่มประเทศอาเซียน  แหล่งทรัพยากรและกลไกในการสร้างเสริมจิตสำนึกอาเซียนในหมู่ประชากรของประเทศนั้น ๆ

             ในแผนปฏิบัติการเวียงจันทร์ (2004-2010)  บทบาทของอาเซียนเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งในการพัฒนาทางด้านการเมือง  ของกลุ่มประเทศอาเซียน ในขณะที่แผนปฏิบัติการด้านชุมชนสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน  (2004-2020)  กลุ่มอาเซียนมีภาระที่ต้องมุ่งเน้นการส่งเสริมการใช้ ICT  ในกลุ่มต่าง ๆ  (เยาวชน  สตรี  คนพิการ  การชุมชนในชนบท)  ตลอดจนส่งเสริมการสร้างจิตสำนึกอาเซียนผ่านการฝึกฝนด้านภาษา  ด้านสื่อ  และกิจกรรมแลกเปลี่ยนเยาวชน  โดยมีแนวคิดเพื่อสนับสนุนการสร้างจิตสำนึกในหมู่เยาวชนอาเซียน

ความร่วมมือทางสังคมและวัฒนธรรมในกลุ่มอาเซียน

               ภารกิจที่สำคัญของกลุ่มอาเซียนใด้ปฏิบัติที่สร้างข้อตกลงในคราวประชุมที่กรุงเทพเมื่อวันที่  8  สิงหาคม  1967  ประเทศในกลุ่มอาเซียนต้องปฏิบัติดังนี้

  1. กระตุ้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ  ความก้าวหน้าทางสังคมและการพัฒนาวัฒนธรรมในภูมิภาค
  2. ส่งเสริมความร่วมมือและการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  ในด้านเศรษฐกิจ  สังคม  วัฒนธรรม  ทางด้านเทคนิค  วิทยาศาสตร์  และ  การบริหาร
  3. ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในรูปแบบของการฝึกฝนการวิจัยด้านการศึกษา  ด้านวิชาชีพ  ด้านเทคนิค และด้านการบริหาร
  4. ส่งเสริมการศึกษาเรื่องอาเซียน

            ในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่  5  ที่กรุงเทพมหานคร  ในปี  2005  ผู้นำอาเซียนได้ตกลงทียกระดับความร่วมมือทางสังคมและวัฒนธรรมให้สูงขึ้นเพื่อที่จะนำมาซึ่งความเจริญมั่งคั่งของประเทศสมาชิกทุกประเทศ ซึ่งกระทำได้โดยโครงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  / การแข่งขันทางด้านเทคโนโลยีและ การสร้างความตระหนักทางด้านสังคม

คำสำคัญ (Tags): #spirit of asean
หมายเลขบันทึก: 296078เขียนเมื่อ 10 กันยายน 2009 07:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ค้นมาฝากจากสำนักข่าวต่างประเทศ
  • Asean Education Hub ตอนที่ 2 : ไทยในฐานะศูนย์กลางการศึกษาอาเซียน
    สำนักข่าวแห่งชาติได้พยายามอธิบายถึงการสร้างศูนย์กลางการศึกษาในอาเซียน พอให้ภาพรวมที่ชัดเจน รวมทั้งความจำเป็นในการมีศูนย์กลางการศึกษาอาเซียนไปในตอนที่แล้ว แต่ประเด็นสำคัญก็คือศูนย์กลางดังกล่าวจะตั้งอยู่ที่ใด ประเทศไทย ในฐานะประธานอาเซียนถือว่าค่อนข้างมีความพร้อมในระดับหนึ่งต่อการเป็นศูนย์กลางการศึกษาอาเซียน ทั้งนี้ยังมีปัจจัยอีกหลายประการที่ต้องติดตามได้แก่ ความพร้อมของระบบการศึกษา ทรัพยากร รวมทั้งบุคลากรต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นครูอาจารย์ เนื้อหาการเรียน หรือแม้กระทั่งผู้เรียนก็ตาม การดำเนินการของไทย...สู่ความเป็นศูนย์กลางการศึกษา ในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการฯ เปิดเผยว่า สพฐ.มีแผนดึงดูดนักเรียนจากประเทศเพื่อนบ้านให้เข้ามาศึกษาต่อระดับมัธยมศึกษาในโรงเรียนของ สพฐ.ที่ตั้งอยู่ตามชายแดนระหว่างประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งดึงดูดชาวต่างชาติให้ส่งลูกเข้าเรียนต่อใน ร.ร.มัธยมศึกษาที่ตั้งอยู่ตามจังหวัดใหญ่ๆ ที่มีชาวต่างชาติเข้ามาอาศัยอยู่จำนวนมาก โดยให้จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษที่มีมาตรฐานสากลระดับนานาชาติ โครงการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการศึกษาในภูมิภาคอาเซียน (Education Hub) โดยมีระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ปี 2553-2555 และใช้งบประมาณดำเนินการจากเงินกู้กระตุ้นเศรษฐกิจรอบ 2 โดยโรงเรียน 14 แห่งจะได้รับงบประมาณสนับสนุนให้ไปพัฒนาให้มีมาตรฐานสากลและสอดคล้องเหมาะสมกับบริบทแต่ละพื้นที่เป็นไปตามความต้องการของผู้ปกครองนักเรียนต่างชาติที่จะส่งบุตรหลานเข้ามาศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาในประเทศไทย โดยจะต้องปรับปรุงภูมิทัศน์ให้สวยงาม มีศูนย์อัจฉริยภาพที่มีอุปกรณ์ครบครันเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง ปรับปรุงรูปแบบการบริหารจัดการเรียนการสอน รวมทั้งพัฒนาครู พัฒนาสื่อรองรับด้วย โดยโรงเรียนทั้ง 14 แห่งนั้นได้แก่ ร.ร.โยธินบูรณะ กทม. ร.ร.ยุพราชวิทยาลัย เชียงใหม่ ร.ร.โพธิสัมพันธ์พิทยาคาร ชลบุรี ร.ร.สตรีภูเก็ต ร.ร.ปทุมเทพพิทยาคาร หนองคาย ร.ร.จุฬาภรณราชวิทยาลัย มุกดาหาร ร.ร.จุฬาภรณราชวิทยลัย สตูล ร.ร.พิชัยรัตนาคาร จ.ระนอง ร.ร.แม่สายประสิทธิ์ศาสตร์ เชียงราย ร.ร.ประสาทวิทยาคาร สุรินทร์ ร.ร.กันทรลักษ์วิทยา ศรีสะเกษ ร.ร.นารีนุกูล อุบลราชธานี ร.ร.หาดใหญ่รัฐประชาสรรค์ และ ร.ร.สรรพวิทยา ตาก ในระดับอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการได้พยายามผลักดันให้มหาวิทยาลัย 9 แห่งในประเทศไทยเป็นศูนย์ศึกษาในเอเชีย โดยประกอบด้วยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ เกษตรศาสตร์ขอนแก่น เชียงใหม่ เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เทคโนโลยีสุรนารี มหิดล และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ตามข้อตกลงโครงการพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ ซึ่งน่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่จะสนับสนุนให้ประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลางการศึกษาของอาเซียนได้ไม่ยากนัก การเตรียมความพร้อม ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า ในส่วนของการดำเนินงานภาครัฐ ได้มีการผลักดันทั้งในระดับมัธยม และในระดับอุดมศึกษา ให้ประเทศไทยกลายเป็นศูนย์การศึกษา แต่สิ่งที่จะลืมไม่ได้ก็คือ ในระดับบุคคลจำเป็นที่จะต้องมีการปลูกฝังนักเรียนไทยในด้านต่าง ๆ เช่นกัน ได้แก่ 1. สำนึกความเป็นเอกภาพของอาเซียน ขั้นตอนที่สำคัญขั้นตอนหนึ่งในการสร้างศูนย์กลางการเรียนรู้อาเซียนก็คือ การชำระประวัติศาสตร์อาเซียนที่จะต้องมีความเข้าใจตรงกัน ทั้งนี้เพื่อความเป็นเอกภาพและความสมัครสมานสามัคคีอันพึงมีในประชาคมเดียวกัน การปลูกฝังว่าประเทศเพื่อนบ้านและประเทศไทยต่างมีไมตรีที่ดีต่อกันเสมอมา ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต จะเป็นหนทางที่ดีที่จะสร้างพลังอันแข็งแกร่ง เพื่อให้เอื้อต่อการบูรณาการการศึกษาระหว่างกันของประเทศสมาชิกอาเซียน 2. ความพร้อมด้านภาษาอังกฤษ เนื่องจากอาเซียนมีความหลากหลายด้านภาษาเป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงได้มีการเลือกให้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของอาเซียนเพื่อเป็นตัวกลางในการสื่อสาร และแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจระหว่างกัน อย่างไรก็ตาม อาเซียนยังเป็นภาษาหลักที่มีการใช้อย่างกว้างขวางในโลก การปูพื้นฐานให้เด็กไทยมีความเข้าใจในภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี ย่อมหมายถึงโอกาสของเด็กไทยที่จะมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ต่าง ๆ ในฐานะที่เป็นศูนย์กลางการศึกษาของอาเซียนได้ 3. สำนึกความเป็นเจ้าบ้านที่ดี การที่ประเทศไทยจะกลายเป็นศูนย์กลางการศึกษา ย่อมหมายถึงว่าประชาชนชาวไทยจะต้องเป็นเจ้าบ้านที่คอยดูแลและเอื้ออำนวยให้ผู้เรียนผู้สอนจากนานาประเทศในอาเซียนให้สามารถแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้วยไมตรีจิตในฐานะเจ้าบ้านที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่ผู้เรียนด้วยกันซึ่งจะเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สร้างความเข้มแข็งให้กับประชาคมอาเซียนได้เป็นอย่างดี แม้จะยังไม่เห็นภาพที่ชัดเจนของการเป็นศูนย์กลางการศึกษาอาเซียนของประเทศไทย ทว่าการดำเนินการอย่างรอบคอบและเป็นระบบจะเป็นสิ่งที่ช่วยส่งเสริมให้การพัฒนา โดยเฉพาะในด้านการศึกษาเป็นไปอย่างมั่นคง และมีประสิทธิภาพสูงสุด ในฐานะคนไทย การเตรียมความพร้อมให้เยาวชนไทยมีความสามารถในการแข่งขันกับเยาวชนจากอีก 9 ชาติที่เหลือได้ พร้อมกับความมีมนุษยธรรมที่ดี จะถือเป็นความสำเร็จสูงสุดในฐานะที่เป็นศูนย์กลางการศึกษาอาเซียนของไทย

ghyuiuikkhp[mlhhhjhgfgnbqwrgsdnsnewnkhcatjkponaow

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท