สินรินทร์สเตชั่น
อำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์

วิถีชุมชนสอนคนให้มีความสุข


วิถีชุมชนสอนคนให้มีความสุข

 

        ในช่วงหลังจากที่มีการดำนาเสร็จเรียบร้อย  ต้นข้าวใบเขียวชอุ่มทั่วท้องทุ่งนา หลังจากที่ฝนตกมาทำให้น้ำเจิงนองเต็มคันนาไหลล้นมาสู่คลองส่งน้ำ  ที่เรียกง่ายเป็นได้ 2 แบบ ตามชนบทก็จะเป็นทางเกวียนสมัยก่อน  แต่ทุกวันอบต.มักจะชอบยกระดับถนนดิน ไปที่ไร่ที่นาก็ถือว่าสะดวกดี เสียอย่างเดียวถนนผู้คนสัญจรในหมู่บ้านมักจะไม่ค่อยทำ เปอร์เซนต์น้อยหรืออย่างไร (บางที่นะครับ)   เล่ากันต่อเรื่องถนนตามท้องไร่ท้องนาที่เป็นทางเกวียนในช่วงหน้าแล้ง  แต่กลับมาเป็นคลองส่งน้ำในช่วงที่มีน้ำหลากในฤดูทำนา  เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านหรือว่าเกิดขึ้นจากธรรมชาติ แต่ก็เป็นประโยชน์ทั้งสองทาง ปัจจุบันคงไม่มีเกวียนได้ใช้อีก มีรถไถพ่วงกระบะแทนเกวียนซึ่งเป็นการก้าวตามวิถีเทคโนโลยีของชาวบ้านได้อย่างกลมกลืนที่ไม่อาจปฏิเสธได้  ในบรรยากาศท้องทุ่งช่วงที่ต้นข้าวกำลังแตกกอนี้บางแห่งชาวบ้านเราก็จะปล่อยน้ำออกจากคันนาให้พอมีน้ำขังเหลือไว้บางส่วน ช่วงนี้ถ้าฝนตกก็จะมีที่น้ำไหล  เหมาะสำหรับการจับปลาหลด  โดยชาวบ้านจะใช้แห่หว่านปลา  ปลาที่ได้ในช่วงน้ำไหล หรือที่เรียกว่าตามประสาชนบทว่าปลาลง ส่วนมากเป็นปลาหลด  อาจจะเป็นธรรมชาติที่ปลาจะลงไปวางไข่ ชาวชนบทเรานี่ฉลาดหรือเป็นการได้อยู่กับธรรมชาติที่สอนมาตั้งแต่บรรพบุรุษ หรือเป็นวิถีชนบทที่ต้องทำมาหากิน  สมัยก่อนผมเคยไปส่องกบ  พ่อก็สอนวิธีดูตากบตอนเอาไฟฉายส่อง ตากบจะไม่ออกประกายเหมือนตาคางคก  กบจะออกแบบนัวๆ  แต่ ไปจับทีไรเจอแต่ตาคางคกทุกที  แปลกอีกนั่นแหละสิ่งที่เราหากลับไม่กระโดด  แต่ตัวกบเห็นแวบๆ กระโดดไปไกลทีเดียว   เหมือนธรรมชาติสอนอะไรบางอย่างว่า สิ่งที่เรากำลังตามหามักจะไม่ค่อยเจอหรือห่างเราไปทุกที  แต่สิ่งที่เราไม่ต้องการนั้นกลับมาอยู่ใกล้เรา แต่บางทีถ้าเราไม่ตามก็คงไม่หนีอย่างนั้น

ในช่วงกลางคืน ยิ่งช่วงฝนตกนี่ เจ้าตัวปลาก็จะชอบขึ้นจากบ่อโดยเฉพาะปลาช่อน  ปลาหมดขึ้นดี  เราก็จะไปรอดักได้ยิ่งฝนตกปลายิ่งขึ้น  นี่เป็นวิถีชนบทที่สอนให้หากินมีความสุขกับบรรยากาศท้องทุ่งนาที่กว้างไกล เขียวชอุ่มไปด้วยต้นข้าวอันงดงามที่รอรับเทศกาลแซนโฎนตาซึ่งเป็นประเพณี  เซ่นไหว้บรรพบุรุษของชาวเขมร วัฒนธรรมประเพณีนี่ก็สอนทริปหลายๆอย่างให้คนรุ่นหลังได้คิด  อีกทริปหนึ่งเมื่อถึงเทศกาลนี้ 


 ลูกหลานที่ไปทำงานต่างจังหวัด หรือกรุงเทพมหานครส่วนมากก็จะกลับคืนสู่บ้านเกิด  เพื่อร่วมประเพณีนี้ ถือเป็นวันรวมญาติมากในรอบปี  วันที่ได้พบญาติพี่น้องซึ่งเป็นโอกาสน้อยมากที่จะได้มาพร้อมหน้าพร้อมตากัน  ผู้เฒ่าผู้แก่ ลูกหลานก็รอให้ถึงวันนี้ วันที่ได้ร่วมกิจกรรมในวิถีของชุมชนของตน วันที่รอคอยช่วงนี้ก็ใกล้วันแล้วสำหรับประเพณีแซนโฎนตา คุณค่าวัฒนธรรมที่ควรอนุรักษ์แก่คนชนรุ่นหลังได้สืบทอดต่อไป

ติดตามเรื่องราวของคนชุมชนเขวาสินรินทร์ได้ที่นี่

 

 

คำสำคัญ (Tags): #วิถีชุมชน
หมายเลขบันทึก: 295817เขียนเมื่อ 8 กันยายน 2009 18:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

วันแซนโฏนตาคงมีเรื่องเล่าอีก จะรออ่านค่ะ

ออนซอนคนอีสาน ในน้ำมีปลาในนามีข้าวจริงนะคะ แต่ทำไม ทำไม คนถึงต้องย้ายถิ่นฐานหนีไกลไปทำงานที่อื่น  ไปดูวิถีชีวิต คนทางบ้านสุบ้าง กดตาม

http://gotoknow.org/blog/lelaxy/308269  ไปพาลูกบ้านรู้จักประเพณีลอยกระทงก่อนมันจะหายไป

http://gotoknow.org/blog/lelaxy/279191  เก็บเห็ดที่ค่ายเปรมตอนหนึ่ง

http://gotoknow.org/blog/lelaxy/279194   เก็บเห็ดตอนสอง

 

  • สวัสดีค่ะคุณครู  ไม่มีครูวันนั้นคงไม่มีศิษย์วันนี้ค่ะ
  • คงไม่สายเกินไปหากจะมาเยี่ยมเยียนบันทึกนี้นะคะ เป็นคนชอบบรรยากาศแบบท้องทุ่งค่ะ เมื่อก่อนสมัยเด็กๆเที่ยวเล่นประจำ แต่ปัจจุบันนี้แถวบ้านกลายเป็นหมู่บ้านจัดสรรไปเกือบหมดแล้วค่ะ สูญเสียบรรยากาศเหล่านั้นไปแล้วยังได้รับความเศร้าใจกลับมาแทนอีกนะคะ -_-"
  • สุรินทร์ - บุรีรัมย์(ประโคนชัย)ไม่ห่างกันเท่าไรค่ะ ช่วงวันหยุดเทศกาลสามีก็พากลับไปที่นั่นประจำค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

ชอบจังบรรยากาศแบบนี้

เห็นแล้วยิ่งทำให้คิดถึงบ้านตอนเป็นเด็กๆ

ขอบคุณสิ่งดีๆ

มันเป็นความสุขที่แท้จริง บรรยากาศแบบนี้เศรษฐีในเมืองใหญ่ไม่มีโอกาสได้สัมผัส นี่คือสิ่งที่ผู้คนโหยหา ธรรมชาติและวิถีชีวิตที่แท้จริง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท