เด็กทำหนังกับทัศนะเรื่องภาพบุหรี่ในหนังไทย


น้องๆเล่าให้ฟังถึงหนังที่กำลังพัฒนาอยู่กับเพื่อนๆว่า เป็นภาพยนตร์ความยาว ชั่วโมงครึ่ง เรื่องราวของความรักหนุ่มสาว ที่หญิงสาวเลิกลาไปเพราะไม่ชอบหลายอย่างในตัวฝ่ายชายโดยเฉพาะ เรื่องการสูบบุหรี่ โดยในเรื่องนี้ นักแสดงชายเป็นคนสูบบุหรี่ไม่เป็น และทีมงานก็ไม่จำเป็นต้องบังคับให้นักแสดงหัดสูบ แต่นำเสนอโดยการเล่าเรื่องด้วยภาพให้ดูว่าเป็นคนสูบจัดมากจน แฟนต้องบอกเลิก อาทิ มีการทิ้งบุหรี่แล้วเหยียบทิ้ง หรือเก็บซองใส่กระเป๋า หรือใช้ Dialogue ช่วย เช่น “สูบจัดนะช่วงนี้” แต่ไม่การปรากฎณ์ภาพของ การสูบ ที่ชัดเจน โดยเล่าว่าในเดือนตุลาคมจะเสร็จสมบูรณ์ซึ่งก็จะนำมาฝากทีมงานวิจัยให้ชมกัน

บันทึกการสัมภาษณ์กลุ่มย่อย : กลุ่มนักศึกษา ผู้สร้างหนังสั้น

โครงการวิจัยและพัฒนาเกณฑ์การปรากฏตัวภาพบุหรี่ในสื่อภาพยนตร์

ตามระดับความเหมาะสมของภาพยนตร์

ครั้งที่ ๓/๒๕๕๒  วันอังคารที่ ๘ กันยายน ๒๕๕๒ ห้องเลขาธิการคณะนิเทศศาสตร์ ชั้น ๑  เวลา ๑๐.๐๐- ๑๒.๐๐น.

คณะผู้เข้าร่วมกิจกรรม     :           คุณ สุรวดี รักดี ผู้ดำเนินการสัมภาษณ์

:           คุณอารยา ชินวรโกมล

:           คุณปริญญา จันทร์ทองรักษ์

 


รายชื่อเข้าร่วมกิจกรรม   กลุ่มนักศึกษาภาควิชาภาพยนตร์ ม.รังสิต ชั้นปีที่ ๓

๑.     ศุภกร ครรสอน  โม อายุ  ๒๐ ปี

๒.     วรภทธ์ มกตวุธ   ใหม่ ๒๐ ปี

๓.     ขจรศักดิ์ ลีอารีย์กุล  โน้ต ๒๐ ปี

๔.     พิชย จรัสบุญประชา  เสือ ๒๐ ปี

 

 

ระบวนการทำกิจกรรมสัมภาษณ์กลุ่มย่อย

ขั้นตอนการชมภาพยนตร์คัดเลือกภาพยนตร์ตามระดับความเหมาะสมโดยเป็นภาพยนตร์ไทย ๓ เรื่อง ภาพยนตร์ระดับความเหมาะสม น.๑๓ คือเรื่อง หมอเจ็บ ภาพยนตร์ระดับความเหมาะสม น.๑๕ คือเรื่อง รักแห่งสยาม ภาพยนตร์ระดับความเหมาะสม น.๑๘ คือเรื่อง เจ็ดประจัญบาน ภาค ๒ และนำภาพยนตร์ต่างประเทศหนึ่งเรื่องมาให้ชม คือ เรื่อง คอนเสตนติน โดยส่งภาพยนตร์ให้แต่ละท่านชมทั้ง ๔ เรื่องข้างต้น ภายใน ๒ สัปดาห์ และนัดหมายวันเพื่อสัมภาษณ์ต่อไป

 

 

 

ขั้นตอนการสัมภาษณ์

·       เริ่มต้นจากการแนะนำโครงการและวัตถุประสงค์ของการทำงาน

·       ภูมิหลังของเรื่องการสูบบุหรี่

จากน้องๆทั้งสี่คนนั้น  มีสามคนที่เป็นคนสูบบุหรี่ ในที่นี้คือสูบมาเป็นระยะเวลามากกว่า ๑ ปีและสูบเป็นประจำ  มีเพียงแค่น้องขจรศักดิ์  ที่ไม่ได้เป็นสูบบุหรี่ แต่เล่าว่าเคยทดลองแล้วเมื่อตอนอายุ ๑๓  ปีแล้วทำให้ไม่ชอบมาจนถึงปัจจุบัน โดยน้อง ๆที่สูบบุหรี่ นั้นมีญาติใกล้ชิดเป็นคนสูบ โดยเฉพาะคุณพ่อ และเพื่อนๆก็สูบมาตั้งแต่ระดับมัธยมต้นบ้างแต่ในขณะนั้นแต่ละคนยังไม่สูบกันจะมาเริ่มสูบตอนอยู่มหาวิทยาลัย

น้องเสือ  เล่าเหตุผลที่เริ่มสูบบุหรี่ว่า สำหรับตนเองรู้สึกว่าเป็นเรื่องที่อยากข้ามขีดของตัวเอง อยากโต โดยบุหรี่มันก็แสดงการข้ามขีดบางอย่างโดยไม่ผิดกม. พออายุถึงเกณฑ์ซื้อบุหรี่เองได้ก็ทดลองสูบเป็นครั้ง และจากนั้นมาก็สูบมาโดยตลอดซึ่งคุณพ่อจะเป็นสูบแต่ได้เลิกไปตั้งแต่ตัวเองเด็กๆแต่จำไม่ได้ว่าพ่อเลิกสูบเมื่อไรแน่..แต่จำภาพได้ว่าพ่อเคยเป็นคนสูบบุหรี่

น้องใหม่ บอกถึงเหตุผลที่ตัวเองสูบว่า เพราะว่าเมื่อเครียดจากการเรียน และทำงานในวิชาเรียนแล้วเพื่อนๆรอบตัวสูบ ในขณะนั้นอยู่มหาวิทยาลัยแล้ว ก็ขอลองแล้วต่อมาก็ติดไปเลย

น้องโม สูบเพราะเพื่อนๆ และตัวเองเป็นคนสูบบุหรี่จัดมาก

 

·       ทัศนคติต่อการสูบของคนในครอบครัว หรือ เพื่อนที่สูบ

น้องๆมองว่าคิดบุหรี่ไม่มีประโยชน์โดยตรง ทั้งต่อร่างกาย ต่อการแสดงบุคคลิกความเป็นตัวตน แต่ก็ไม่ได้รู้สึกกว่าเป็นเรื่องที่ผิดหากสูบในเวลาและสถานที่ๆหมาะสม อาทิ เห็นเด็กเล็กๆก็จะเอาบุหรี่หลบ หรือ เลี่ยงไปทางอื่น  แต่ส่วนการปฏิบัติตัวต่อเพื่อนที่ไม่ได้สูบบุหรี่ ก็จะไม่ได้เชื้อเชิญเพื่อน  และก็จะเลี่ยงไปสูบในที่กำหนดไว้  แต่เพื่อนในกลุ่มเดียวกันคนที่ไม่สูบก็จะเข้าใจและเลี่ยงไปเอง 

ในจุดนี้น้องโน้ต เล่าด้วยน้ำเสียงประชดประชันว่า “เราเป็นส่วนน้อยพี่ ต้องหนีเอง” เนื่องจากในสาขาที่เรียนนั้นน้องๆเล่าว่า 80 เปอร์เซนต์น่าจะสูบกันหมดโดยสูบแบบเป็นนิสัยด้วย ไม่ใช่สูบเพียงแค่แสดงความเท่ห์เฉยๆ

ความคิดเห็นเรื่อง “ หมอเจ็บ” ระดับความเหมาะสม อายุ น ๑๓

รู้สึกอย่างไรกับการสูบบุหรี่ในฉากนั้นๆ

การที่มีภาพบุหรี่ปรากฎณ์ในเรื่องนี้มีที่มาที่ไปชัดเจน ถึงเนื้อหาที่ผู้กำกับอยากนำเสนอ และก็ไม่ได้รู้สึกจดจำเป็นพิเศษ

เมื่อชมภาพยนตร์จบแล้ว คิดว่าการปรากฏตัวในภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวสามารถยอมรับได้หรือไม่? อย่างไร?

ทุกท่านมองว่า เห็นได้เลยไม่น่าจะมีปัญหาอะไร  เพราะมีการสอนให้เห็นโทษของบุหรี่ด้วย...

เมื่อชมภาพยนตร์จบแล้วคาดว่า เยาวชนจะสูบบุหรี่ตามหรือไม่?

ในภาพยนตร์เป็นการให้ข้อมูลการสูบบุหรี่เป็นเรื่องปกติ แสดงให้เห็นความจริงของสังคมซึ่งน่าจะให้เด็กรับรู้และคิดว่าเด็ก ๑๓ น่าจะเข้าใจแล้ว

ดังนั้นเมื่อพูดถึงเรื่อง รักแห่งสยาม  และ เจ็ดประจันบาน น้องๆจึงมองว่าไม่มีปัญหาและยอมรับให้มีการปรากฎตัวได้  โดยรักแห่งสยามนั้นน้องๆมีความเห็นแย้งว่าอยู่ระดับเรตติ้ง ๑๓ เช่นเดียวกับหมอเจ็บ  เนื่องจากมีเนื้อหาหลัก ในเรื่องของความรักของคนในครอบครัว ซึ่ง Golden scene ที่ตัวละครเอกจูบกันนั้นเป็นเพียงปรากฎการณ์เปิดเผยเรื่องเพศมากขึ้นก็ไม่ได้ทำให้ theme เรื่องเปลี่ยนไป และเรื่องบุหรี่ในหนังทั้งสองเรื่องมาอย่างสมเหตุสมผล ในขณะที่เจ็ดประจัญบานนั้น เป็นหนังที่แสดงความรุนแรงผ่ายภาพตลกซึ่งบางช่วงบางตอนมากเกินไป อาทิ ฉากตัวเอกทั้ง ๗ รุมกระทืบคนแก่ผู้หญิง น้องๆมองว่ามากเกินไป..สำหรับตัวละครที่สูบบุหรี่เป็นคาแรคเตอร์ ก็ไม่ได้ดูดีน่าทำตามแต่อย่างใด

เมื่อถามน้องๆเรื่อง คอนแสตนติน น้องๆพูดติดตลกว่า หากเรื่องนี้ไม่มีบุหรี่หนังคนเหลือแค่ ๓๐ นาที เพราะมีแต่ฉากสูบบุหรี่ทั้งเรื่อง  ถึงแม้ว่าท้ายที่สุดแล้ว...จะเป็นการสอนคนดูถึงเรื่องโทษของบุหรี่กับพิษร้ายของชีวิตก็ตาม น้องใหม่ให้ทัศนะว่า ในเรื่องนี้เมื่อดูครั้งแนกก็แอบมีความรู้สึกว่าดูเท่ห์เหมือนกันด้วยองค์ประกอบทั้งนักแสดง เสื้อผ้า ฉาก สีสันของเรื่องที่ทำให้ดูน่าสนใจ  พร้อมบรรยากาศต่างประเทศมันดูน่าสูบกว่า 

แต่มาบ้านเราพออกมาจากโรงหนังแอร์เย็นๆ จะออกมาข้างนอกร้อนๆก็ไม่มีอารมณ์จะสูบแล้ว

อ่านต่อได้ที่นี่

หมายเลขบันทึก: 295745เขียนเมื่อ 8 กันยายน 2009 14:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2012 05:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท