ธรรมฐิต
พระ(มหา) วิชิต ชิต สมถวิล(ฐิตธมฺโม)

สิ่งที่ต้องการกับเป้าหมายอาจไม่ใช่อันเดียวกัน


เมื่อคืนนอนประมาณสามชั่วโมงให้อาหารสมองสลับกับวิจัยลมเข้าออกนานไปหน่อย 

แต่ตื่นเวลาเดิมประจำปกติ  เวลานอนไม่กะเกณฑ์ แต่จะตื่นตรงเวลาทุกวัน 

ทำกิจวัตรเสร็จสรรพแล้ว  จึงมาเขียนบันทึกต่อจากบันทึกก่อน

(http://gotoknow.org/blog/032012/295293)

บางคนตั้งเป้าหมายชีวิตไปเรื่อยอยากเป็นนั่นเป็นนี่

เคยถามหลายคนว่าตั้งจุดหมายหรือเป้าหมายของชีวิตอย่างไร

บ้างก็ว่าต้องการเป็นหมอ

บ้างก็ว่าต้องการเป็นครู

บ้างก็ว่าต้องการเป็นนักการเมือง

ทั้งนี้สิ่งต่างๆที่ต้องการนั้นยังไม่ใช่เป้าหมายที่แท้จริง  เพราะใช่ว่าจะได้เป็นจริงตามต้องการเสมอไปและใช่จะสุขทุกคนที่ได้เป็น

และสิ่งที่กล่าวมานั้นก็มีจำนวนจำกัดที่จะให้ทุกคนได้เป็นตามต้องการ

(บางทีสิ่งที่ต้องการกับเป้าหมายคนละเรื่องกันเลย)

ดังนั้นโดยสรุปไม่ว่าเราจะได้ตามต้องการที่หวังหรือไม่ก็ตามหากไม่มีความสุขเราก็ยังไม่เข้าใกล้จุดหมายชีวิตที่แท้จริง  จะยากดีมีจนมีเกียรติ์ในทางสังคมหรือไม่เราก็มีสุขได้ทุกคน  แต่บางคนต้องคอยให้มีเงินมีทองมีหน้ามีตาทางสังคมก่อนจึงจะมีความสุข  พอมีแล้วกลับกลายเป็นทุกข์กว่าไม่มีเสียอีก  คนบุราณว่าไว้ว่าอยู่เย็น..เป็นสุข..แต่เดี๋ยวนี้พูดว่า..มั่งมี..ศรีสุข 

ต่างกันนะลองพิจารณาดู

 แต่พูดถึงความสุขมันก็มีระดับชั้นของมัน 

หากพูดตามพุทธศาสนา อาจจะเป็นสามระดับคือ

-กามสุข..สุขแบบวัตถุในระดับประสาทสัมผัสเอนไปทางสุขเชิงบริโภค

-สมาธิสุข..สุขแบบสงบนิ่ง  เบิกบานแจ่มใส

-นิพพานสุข..สุขแบบความมีอิสรภาพทางใจอย่างรู้เท่าทันสิ่งที่มากระทบ

ที่นี้ลองมาเทียบดูความต้องการของมนุษย์ที่  เอบราแฮม  มาสโลว์

ปรมาจารย์ทางด้านจิตวิทยา  แบ่งไว้    ระดับคือ

ขั้นที่ 1 ความต้องการทางกาย (Physiological Needs)

คือความต้องการปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต
ขั้นที่ 2 ความต้องการความ มั่นคงปลอดภัย

(Safety and Security Needs)

คือความต้องการที่จะมีชีวิตที่มั่นคง ปลอดภัย
ขั้นที่ 3 ความต้องการความรักและการเป็นที่ยอมรับของกลุ่ม

 (Love and Belonging Needs) มนุษย์เมื่อเข้า
ไปอยู่ในกลุ่มใดก็ต้องการให้ตนเป็นที่รักและยอมรับในกลุ่มที่ตนอยู่
ขั้นที่ 4 ความต้องการได้ รับการยกย่องจากผู้อื่น (Self -Esteem Needs) เป็นความต้องการในลำดับต่อมา ซึ่งความต้องการในชั้นนี้ถ้าได้รับจะก่อให้เกิดความภาคภูมิใจใจตนเอง
ขึ้นที่ 5 ความต้องการในการเข้าใจและรู้จักตนเอง

(Self-Actualization Needs) เป็นความต้องการชั้นสูง
ของมนุษย์ ซึ่งน้อยคนที่จะประสบได้ถึงขั้นนี้

(ที่มา http://www.seal2thai.org/sara/sara134.htm)

ในขั้นที่ ๑-๔  คนในสังคมโดยทั่วไปสามารถที่จะไต่เต้าได้ไม่ยากนัก

แต่คนเราต้องพัฒนาตนให้เข้าสู่ขั้นที่  ๕ ให้จงได้

แล้วเมื่อนั้นเราอาจจะกำลังก้าวเข้าสู้เป้าหมายชีวิตที่แท้จริงก็เป็นได้

                   ธรรมะสวัสดีขอรับ..

คำสำคัญ (Tags): #ธรรมฐิต
หมายเลขบันทึก: 295387เขียนเมื่อ 7 กันยายน 2009 06:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 09:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

 

มารับธรรมะยามเช้าขอรับ

 

(กราบ 3 หน)

กราบสามหน สาธุ สาธุ สาธุ...

มารับธรรมะยามเช้า...ค่ะ...

 

Pขออนุโมทนาขอรับพี่แดง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท