มาบริหารโครงการกันเถอะ


คุ้มค่าที่ได้เข้าร่วม

มาบริหารโครงการกันเถอะ

           

        วันที่  2-4  ก.ย.52  ผู้เขียนได้อบรมการบริหารโครงการ  โดยสำนักเสริมศึกษาและบริการสังคม  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  เป็นผู้จัดโครงการดีๆแบบนี้ขึ้นมา วิทยากรโดย  อ.สมสุนีย์  ดวงแข (สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมธ.)  และ  ผศ.ดร.ธีรเดช  ฉายอรุณ (คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์  ม.มหิดล)  ซึ่งผู้เขียนเองได้รับความรู้จากครั้งนี้เพิ่มมากขึ้น 

        หลักที่ได้ในครั้งนี้  ก็คือ  การบริหารโครงการ   เมื่อเราเริ่มต้นที่จะทำโครงการใดขึ้นมา  ให้เราเขียนปัญหาก่อน  อย่าเพิ่งนึกถึงกิจกรรม  อีกอย่าง  การอบรมในครั้งนี้เป็นเชิงปฏิบัติการ  ทำให้เราไม่รู้สึกง่วง  เพราะได้ช่วยกันปฏิบัติ  แต่จะมีบางช่วงก็จะรู้สึกง่วง  ก็แก้โดยการ จด  และก็จดอย่างเดียว  ทำให้เราไม่ง่วงได้  เพราะจิตจดจ่อ  แถมยังดีต่อตัวเราอีก  ได้ทั้งความรู้จากที่จด  และทำให้เราไม่ง่วง 

 

        ความคาดหวังก่อนที่จะมาอบรมในครั้งนี้  ผู้เข้าร่วมอบรม

-         อยากได้ความรู้จากการอบรม

-         ไม่เคยทำโครงการมาก่อนจึงอยากจะทราบ

-         นำความรู้ที่ได้รับนำไปประยุกต์ใช้ในหน่วยงาน 

-         อยากรู้ว่าการทำโครงการเป็นอย่างไร

-         อยากรู้เรื่องการทำโครงการ  และประเมินโครงการมากขึ้น

-         อยากให้งานที่ทำมีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

หลักที่ท่านวิทยากรได้ให้ไว้ 

-         การบริหารโครงการจะเป็นการเน้นทางด้านบริหารมากว่าการลงมือทำ

-         เราจะทำโดยไม่มุ่งเน้นแบบฟอร์ม  เพราะส่วนใหญ่เราจะติดเรื่องแบบฟอร์ม

-         วิธีคิดแบบบริหาร

-         เน้นความสำเร็จ  ความสำเร็จของโครงการ  สาเหตุ  จะมากจาก  การขาดระบบการติดตามงาน  กระบวนการของโครงการไม่ชัดเจน  การประชาสัมพันธ์  ซึ่งจากปัญหาดังกล่าวนั้น  ล้วนแล้วมาจาก  คน  ทั้งสิ้น

 

การทำงานเรื่องหนึ่งเรื่องให้ให้ประสบความสำเร็จ  มีปัจจัย  5  ด้าน

1.      คน

2.      งบ

3.      วัตถุดิบ

4.      เครื่องจักร

5.      วิธีการทำงาน

 

การบริหารโครงการจะเป็นการทำงานชั่วคราว  ที่พัฒนาและแก้ประเด็นปัญหาที่ได้ทำขึ้น แต่โครงการมีความสำคัญที่จะพัฒนาองค์กร  โดยไม่มีรูปแบบตายตัว  ต้องออกแบบโครงการให้เกิดความสำเร็จ

ส่วนใหญ่องค์กรต่างๆ  จะขับเคลื่อนด้วยแผนกลยุทธ์  ซึ่งให้มีแนวทางที่ชัดเจน  หลักการดังนี้

วิสัยทัศน์  >>  กลยุทธ์ >> แผน  >>  นำไปใช้ >> ความสำเร็จ

 

เมื่อทำโครงกาต้องตอบโจทย์  >>  แก้ปัญหา  ต้องรู้หลักการบริหาร

 

กระบวนการแผน

1.      การเตรียมการ

2.      การสร้างแผน

3.      ปฏิบัติตามแผน

4.      ประเมินผลงาน

 

แผนคือตัวกำหนดทิศทาง  ที่จะทำสำเร็จ  ต้องมีตัวสะท้อนให้รู้  คือการวิเคราะห์  SWOT 

แผนกลยุทธ์  ต้องมีการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมมากระทบองค์กร  คือ  กระทบจากภายใน  กระทบจากภายนอก  และโอกาสที่กระทบ

 

การนำ SWOT มากำหนดวิสัยทัศน์ขององค์กร  วิธีการไปตอบคำถามวิสัยทัศน์ที่ดีโดยมาให้คะแนน  ถ้ามีคะแนนสูง  ต้องเอาคะแนนรวมกันแล้วเป็นวิสัยทัศน์ลงสู่ยุทธศาสตร์  >>  แผนงาน  >>  โครงการ

 

การบริหารโครงการ  เวลาเราจะทำเราต้องศึกษาวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการ  หลักการวิเคราะห์ความเป็นไปได้  เช่น  ทำเพื่อเราไม่มั่นใจว่าถ้าทำจะทำได้ไหม  จะตอบให้รู้ว่าสมควรทำหรือไม่  สรุปภาพรวมก็คือ  ขัดต่อรัฐไหม  อยู่ในที่กรณีสงฆ์หรือไม่  เป็นพื้นที่สีเขียวไหม  มีเงินทุนไหม  มีเทคโนโลยีหรือไม่  ต้องออบแบบในบริบทของเนื้อหาให้ชัดเจน

 

 

การบริหารโครงการ   มี  3  ระยะ 

1.      ช่วงก่อนการบริหารโครงการ 

2.      ช่วงบริหาร

3.      ช่วงบำรุงรักษา  (แต่ส่วนใหญ่เราจะละเลยไป)  จริงๆ  เราต้องทำทุกโครงการ  ที่ไม่ทำเพราะไม่ได้ทำมากกว่า  จะทำให้ไม่พัฒนาหรือประสบความสำเร็จได้

       

วิทยากรบอกเราว่า  วัตถุประสงค์  (ชัดเจนเน้นผลลัพธ์)  เหมือนกันกับผลลัพธ์  แต่วัตถุประสงค์  เป็นตัวตั้งให้เกิด  แต่ผลลัพธ์คือตัวที่เกิดขึ้นมา

เวลาเราจะเขียนโครงการ  จะมีหลักการและเหตุผล  ซึ่งเราต้องเขียนที่มาของโครงการ (ข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงในเชิงประจักษ์ให้เห็นสาระสำคัญในการจัดโครงการนั้น) โดยมาจากปัญหา,  แผน  หรือขยายผลิตภัณฑ์

 

 

งาน/โครงการ

 

วัตถุประสงค์  >> ปัจจัยนำเข้า   >>  กิจกรรม >> ผลผลิต >>   >>  ผลลัพธ์  (ซึ่ง  วัตถุประสงค์  ผลผลิต  และผลลัพธ์  ต้องมีประสิทธิผลในการเกิดขึ้นของโครงการ)

 

ผลกระทบของการจัดโครงการ คือ  ผลที่เกิดจากการทำงานของผลผลิต  และบรรลุวัตถุประสงค์ 

 

ความแตกต่างระหว่างแผนงานและโครงการ  คือ 

-         แผนงานหนึ่งแผนจะมากกว่า  1  โครงการ

-         แผนงานเป็นการดำเนินงานระยะยาว  (5-10  ปี)  ในขณะที่โครงการจะเน้นการดำเนินงานในระยะสั้น  (ไม่เกิน  5 ปี)

 

การทำโครงการ ต้องนำหลัก  PDCA  เข้ามาช่วย  ซึ่ง PDCA  คือ  วงจรการบริหารงาน  P  (Plan)  คือ  วานแผน  D  (Do)  คือ  ปฏิบัติ  C  (Check)  คือ  ตรวจสอบ  A  (Act)  คือ  ดำเนินการต่อไป

 

        สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้คือ  การประเมินโครงการ  ซึ่งทำให้เป็นระบบระเบียบหลากหลาย  เพื่อตัดสิน เปลี่ยนจากความคิดที่จะตรวจสอบหากความสำเร็จล้มเหลว  มาค้นหาความดีงามหรือคุณค่าของโครงการ  ผูกมัดการประเมินกับการเรียนรู้หรือพัฒนางาน  ทำให้มีความยั่งยืน  ซึ่งจะมี  3 ระยะ

1.      การวางแผน 

2.      ดำเนินงาน

3.      สิ้นสุดโครงการ

 

จริงๆ  แล้วรายละเอียดที่ท่านวิทยากรได้ถ่ายทอด  มีเยอะมากๆ  แต่อย่างน้อย  วันนี้  อาจจะทำให้เราพอจะเข้าใจหลักของคำว่า  “การบริหารโครงการ” ไม่มากก็น้อย 

 

หมายเลขบันทึก: 295180เขียนเมื่อ 6 กันยายน 2009 12:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 สิงหาคม 2019 20:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ดีจริง ได้ความรู้มากด้วย จะมาอ่านอีก ขอขอบคุณมาก

ขบวนการแนวทางครบถ้วนจังเลยค่ะ

ขยันพัฒนาตัวเองจังเลย สู้ ๆ นะจ๊ะ

เข้ามาอ่าน และรับความรู้กลับไปเต็มๆ ค่ะ

ขอบคุณนะคะ

ได้มาเยอะเลยซิท่า

ต้องไปขอความรู้บ้างแล้วอิอิ

  • สวัสดี  คุณ  h.w  ถ้าได้ทำโครงการแล้วจะเข้าใจเลยค่ะ  ขอบคุณมากนะค่ะ
  • ขอบคุณพี่นิดค่ะ 
  • ขอบคุณวิรองมากๆ
  • ขอบคุณyenekaa  
  • ขอบคุณ "สายลมที่หวังดี"   ยินดีเป็นอย่างยิ่ง
  • สวัสดี  คุณ  h.w  ถ้าได้ทำโครงการแล้วจะเข้าใจเลยค่ะ  ขอบคุณมากนะค่ะ
  • ขอบคุณพี่นิดค่ะ 
  • ขอบคุณวิรองมากๆ
  • ขอบคุณyenekaa  
  • ขอบคุณ "สายลมที่หวังดี"   ยินดีเป็นอย่างยิ่ง
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท